TH | EN
TH | EN
หน้าแรกTechnologyกล้องโทรทรรศน์ ‘ฟาสต์’ พบหลักฐานการมีอยู่ ‘คลื่นความโน้มถ่วง’ ระดับนาโนเฮิรตซ์

กล้องโทรทรรศน์ ‘ฟาสต์’ พบหลักฐานการมีอยู่ ‘คลื่นความโน้มถ่วง’ ระดับนาโนเฮิรตซ์

ฟาสต์ (FAST) กล้องโทรทรรศน์วิทยุจานรับสัญญาณเดี่ยวขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 500 เมตร เจ้าของฉายา “ดวงตาจักรวาลจีน” พบหลักฐานชิ้นสำคัญเกี่ยวกับการมีอยู่ของคลื่นความโน้มถ่วงระดับนาโนเฮิรตซ์

งานวิจัยที่จัดทำโดยคณะนักวิทยาศาสตร์จากหอสังเกตการณ์ดาราศาสตร์แห่งชาติ สังกัดสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน และสถาบันอื่นๆ ได้รับการเผยแพร่ในวารสารการวิจัยทางดาราศาสตร์และฟิสิกส์ดาราศาสตร์ (Research in Astronomy and Astrophysics) เมื่อวันพฤหัสบดี (29 มิ.ย.)

คลื่นความโน้มถ่วงคือ “ระลอกคลื่น” ที่เกิดจากวัตถุขนาดมหึมา เช่น หลุมดำ ขณะที่วัตถุเหล่านี้เคลื่อนที่ผ่านโครงสร้างของกาลอวกาศ (spacetime) อย่างรวดเร็ว

นักวิทยาศาสตร์ตรวจสอบพัลซาร์ 57 มิลลิวินาทีในจังหวะปกติเป็นเวลา 41 เดือน โดยใช้ประโยชน์จากการตอบสนองที่รวดเร็วของกล้องฟาสต์ และพบหลักฐานสำคัญสำหรับลักษณะบ่งชี้ความสัมพันธ์สูตรควอดรูโพล (Quadrupole) ที่สอดคล้องกับการทำนายคลื่นความโน้มถ่วงระดับนาโนเฮิรตซ์ ที่ระดับความเชื่อมั่นทางสถิติ 4.6-ซิกมา (sigma) โดยมีความน่าจะเป็นของการผิดพลาดอยู่ที่สองในล้าน

คลื่นความโน้มถ่วงระดับนาโนเฮิรตซ์มีส่วนช่วยทำความเข้าใจการก่อตัวของโครงสร้างของเอกภพ และสำรวจการเจริญเติบโต วิวัฒนาการ และการรวมตัวของวัตถุท้องฟ้ามวลมหาศาลที่สุดในเอกภพ ได้แก่ หลุมดำมวลยวดยิ่ง (supermassive black hole)

หลี่เคอเจีย นักวิจัยของหอสังเกตการณ์ฯ และศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยปักกิ่ง กล่าวว่าการตรวจจับคลื่นความโน้มถ่วงข้างต้นเป็นสิ่งที่ท้าทายมาก เนื่องจากมีความถี่ต่ำมาก ระยะเวลาที่ยาวนาน และมีความยาวคลื่นระดับปีแสง

อนึ่ง กล้องโทรทรรศน์ฟาสต์เริ่มเปิดดำเนินงานอย่างเป็นทางการเมื่อเดือนมกราคม 2020 โดยได้ชื่อว่าเป็นกล้องโทรทรรศน์วิทยุที่ตอบสนองเร็วที่สุดในโลก

ที่มา: Xinhuathai

นักดาราศาสตร์พบ ‘หลุมดำ’ ใกล้โลกสุดอันดับสอง

ดร.จิรวัฒน์ ตั้งปณิธานนท์ ผู้หลงรัก Fundamental Truth กับ Quantum เปลี่ยนโลก

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ