TH | EN
TH | EN
หน้าแรกBusinessเสนาดีเวลลอปเม้นท์ นำงานวิจัยสู่การใช้งานจริง สร้างสภาวะน่าสบายภายในบ้านสำหรับคนไทย

เสนาดีเวลลอปเม้นท์ นำงานวิจัยสู่การใช้งานจริง สร้างสภาวะน่าสบายภายในบ้านสำหรับคนไทย

บริษัท เสนาดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) และบริษัท ฮันคิว ฮันชิน พร็อพเพอร์ตี้ส์ คอร์ป ลงนามความร่วมมือในการสนับสนุนโครงการเสนา แกรนด์ โฮม บางนา กม.29 สำหรับงานวิจัยนวัตกรรม “สภาวะน่าสบาย” ที่เป็นความร่วมมือในการวิจัยและพัฒนาโดยพานาโซนิค และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อสนับสนุนแนวคิดการสร้างบ้านประหยัดพลังงาน และส่งเสริมชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีของผู้พักอาศัย รวมถึงต่อยอด เพิ่มประสิทธิภาพของแนวคิดบ้านพลังงานเป็นศูนย์ ภายใต้สภาวะน่าสบาย (Comfort Zone) ปราศจากความเครียด (Stress-free) ไม่ก่อให้เกิดมลภาวะ (Carbon-free) และลดการใช้พลังงาน (Energy Efficiency)

ความน่าสบายไม่ใช่แค่เรื่องของคน

สภาวะน่าสบาย มีเรื่องความพอดีของอุณหภูมิที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเมื่อความชื้นเปลี่ยนแปลงไป จากเดิมที่มองว่าสภาวะน่าสบายโดยอุณหภูมิของคนไทยอยู่ที่ 24.5 องศาเซลเซียส แต่หลังการสำรวจด้วยวิธีการของทางประเทศญี่ปุ่นค้นพบว่า 26 องศาเซลเซียสที่ความเร็วลม 0.22 เมตรต่อวินาที ที่แทบไม่รู้สึกอะไรแต่กลับมีการไหลเวียนของลม ทำให้มีความสบายเท่ากับ 24 องศา รวมถึงช่วยลดค่าไฟได้ถึง 20 เปอร์เซ็นต์ 

ความน่าสบายต้องถูกนิยามใหม่ จากเดิมหลายคนมองว่าความน่าสบายคือความสบายของบ้านหนึ่งหลัง ความสบายของผู้อยู่อาศัย แต่ในความจริงต้องมองถึงความน่าสบายของโลกด้วย ซึ่งทางจุฬาลงกรณ์เล็งเห็นถึงจุดนี้ ความน่าสบายของบ้านหนึ่งหลังไม่ได้ส่งผลให้สิ่งแวดล้อมรอบข้างสบายด้วย โครงการนี้จึงถูกพัฒนาโดยมีเป้าหมายใหญ่เพื่อให้โลกเกิดความสบายมากขึ้น ภาวะน่าสบายของคนเกิดขึ้นได้ง่าย แต่จะทำให้เกิดความสบายของโลกอย่างไร เช่น น้ำที่ใช้จะต้องสามารถถูกดึงกลับไปสู่ระบบได้ ไม่ใช่ถูกทิ้งไปเฉย ๆ แล้วกลายเป็นน้ำเสีย รวมถึงคุณภาพอากาศ คุณภาพชีวิต ดังนั้นบ้านหนึ่งหลังไม่สามารถสบายได้ จึงต้องใช้โครงการเสนา แกรนด์ โฮม เพื่อไปสู่เป้าหมายใหญ่ในการทำให้สังคมยั่งยืน 

การทำให้เกิดภาวะน่าสบายมีหลายปัจจัยเข้ามาเกี่ยวข้อง ทั้งเรื่องของความเป็นอยู่ Digital Twin/AI ที่จะเข้ามาช่วยในการเก็บข้อมูลจากการทดลองให้สามารถมองเห็นได้จริง พฤติกรรมของคนที่แตกต่างกัน การควบคุมระบบ หากระบบฉลาดพอที่จะสามารถปรับตัวเองให้เข้ากับพฤติกรรมของผู้อยู่อาศัยแต่ละคนได้ ก็จะมีส่วนช่วยในการประหยัดพลังงานลดการใช้พลังงานที่ไม่จำเป็น จากการจดจำพฤติกรรมของเจ้าของบ้าน กลายเป็นหนึ่งความคาดหวังในการสร้างเทคโนโลยีที่อยู่อาศัยให้เหมาะกับบริบทของประเทศไทย 

ร่วมมือวิจัยเพื่อส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดี

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สรายุทธ ทรัพย์สุข คณบดี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า คณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมมือกับทางบริษัท พานาโซนิค โซลูชั่นส์ (ประเทศไทย) จำกัด โดยเริ่มจากงานทดลองขนาดเล็กเพื่อทำการทดสอบระบบติดตามและควบคุมคุณภาพอากาศภายในห้องทดลอง ณ โรงงานบริษัท พานาโซนิค หลังจากทางทีมวิจัยของคณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ปรึกษาร่วมกันเพื่อขยายผลพัฒนากระบวนการการทดลองระบบปิดและระบบDigital twin ในการติดตามและควบคุมคุณภาพอากาศภายในอาคาร รวมถึงการประหยัดพลังงานโดยสภาวะน่าสบายให้กับผู้ใช้งาน 

เมื่อปี 2566 มีการตกลงร่วมกันในการสร้างห้องทดลองที่ตั้งอยู่หน้าคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งคณาจารย์จากทั้งคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และคณะวิศวกรรมศาสตร์ได้เสนอผลงานการทดลองที่เกี่ยวเนื่องในการประชุมวิชาการ ผลจากการทดลองเป็นที่น่าพึงพอใจ นำไปสู่การขยายการทำ MOU ร่วมกันในระดับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและภาคเอกชน 3 ฝ่ายได้แก่ บริษัท พานาโซนิค โซลูชั่นส์ (ประเทศไทย) จำกัด , บริษัท ฮันคิว ฮันชิน พร็อพเพอร์ตี้ส์ คอร์ป และบริษัท เสนาดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) ทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตั้งเป้าหมายด้านผลงานวิจัยจากกิจกรรมความร่วมมือ MOU เพื่อยกระดับการประยุกต์องค์ความรู้ทางวิชาการนำไปสู่การใช้งานได้จริงในการสร้างสังคมและสิ่งแวดล้อม เพื่อการอยู่อาศัยที่ยั่งยืนในอนาคต 

ฮิเดคาสึ อิโตะ กรรมการผู้จัดการ บริษัท พานาโซนิค โซลูชั่นส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ตลอดระยะเวลากว่า 60 ปี ที่พานาโซนิคเข้ามามีส่วนร่วมในประเทศไทย ในฐานะผู้ผลิตและจำหน่ายอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า มีความมุ่งมั่นที่จะนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่ดี มีคุณภาพ และสร้างความเป็นอยู่ที่ดีต่อผู้บริโภคเสมอมา เพื่อรักษาสมดุลระหว่างชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนและสิ่งแวดล้อม 

อีกทั้งยังมีการค้นคว้าวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ โดยมุ่งเน้นเพื่อสร้างสังคมที่ยั่งยืน เป็นที่มาในการวิจัยร่วมกับสถาบันการศึกษาอย่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อศึกษาการวิจัยเกี่ยวกับเทคโนโลยีที่อยู่อาศัยที่ยั่งยืนและประหยัดพลังงานในประเทศไทย (Sustainable and Energy-Efficient Housing Technologies in Thailand) ผ่านการทดลองภายในแบบบ้านจำลอง ZEN Model ที่ตั้งอยู่บริเวณหน้าคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อค้นคว้าระบบปรับอากาศที่ประหยัดพลังงาน และสร้างสภาวะน่าสบายภายในบ้าน รวมไปถึงการขยายผลการทดลองที่นำมาสู่การทำการค้นคว้าและวิจัยร่วมกันระหว่างสี่องค์กรในครั้งนี้

ทางพานาโซนิค โซลูชั่นส์ใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ สร้างโลกที่มีความสอดคล้องและกลมกลืน ให้ผู้คนได้ใช้ชีวิตโดยปราศจากความเครียดและปราศจากคาร์บอนอย่างแท้จริง เช่น ระบบการควบคุมเครื่องปรับอากาศและพัดลมระบายอากาศให้ทำงานประสานกันเพื่อสร้างกระแสลมเย็น เพิ่มระดับความสบายมากขึ้นพร้อมกับประหยัดพลังงานไปในตัว ถ่ายเทอากาศภายนอกเข้ามาใช้ช่วงเวลากลางคืน เมื่ออุณหภูมิภายนอกลดลง ควบคุมกระแสลมทั้ง 3 อย่าง Introducing Cooler Outside Air, Venting Away Hot Inside Air และ Air Circulation for Pre-cooling รวมกันสร้างความรู้สึกเย็นสบายให้กับตัวบ้านด้วยกระบวนการไหลเวียนของอากาศที่มีความสมดุลการทำงานของระบบจะช่วยให้บ้านทั้งหลังมีสภาพแวดล้อมที่น่าสบายและมีประสิทธิภาพในการประหยัดพลังงานได้เป็นอย่างดี 

มิสึฮิโระ นากาซาว่า ผู้จัดการทั่วไป บ.ฮันคิว ฮันชิน พร็อพเพอร์ตี้ส์ คอร์ป กล่าวว่า ทุกวันนี้โลกอยู่ภายใต้สถานการณ์ที่ต้องมีมาตรการป้องกันภาวะโลกร้อนอย่างจริงจัง ในฐานะหนึ่งในนักพัฒนา ฮันคิว ฮันชิน ตระหนักถึงความจำเป็นในการเผชิญกับความท้าทายด้านสิ่งแวดล้อม โดยฮันคิว ฮันชิน ในประเทศญี่ปุ่นได้เร่งดำเนินการติดตั้งบ้านพลังงานเป็นศูนย์ สำหรับที่พักอาศัยและยังคงเร่งดำเนินมาตรการเชิงรุกเพื่อรับมือกับการลดภาวะโลกร้อนอย่างเต็มที่

การศึกษาสภาวะน่าสบาย ผ่านบ้านแบบจำลองโดยพานาโซนิค และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในครั้งนี้ แสดงให้เห็นถึงความตั้งใจที่จะศึกษาเพื่อค้นหาโซลูชั่นและนวัตกรรมใหม่ๆที่ให้ความสะดวกสบายในการดำเนินชีวิตของผู้พักอาศัย รวมถึงเพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพของวิศวกรรมระบบ โดยหวังว่าความร่วมมือในการสนับสนุนงานวิจัยในครั้งนี้ จะสามารถตอบโจทย์ได้ทั้งในด้านประหยัดพลังงาน และความสะดวกสบายเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้อยู่อาศัย 

ผศ.ดร.เกษรา ธัญลักษณ์ภาคย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เสนาดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) กล่าวถึงความร่วมมือในครั้งนี้ว่า บ้านพลังงานเป็นศูนย์เมื่อมองในมิติของการประหยัดพลังงาน คาร์บอนถูกผลิตมากที่สุดจากการใช้พลังงาน ดังนั้นหากสามารถลดการใช้ไฟฟ้าลงได้จะสามารถลดคาร์บอนได้เยอะที่สุด ด้วยความร่วมมือจากทางประเทศญี่ปุ่นจากการศึกษาดูงาน และการศึกษาร่วมกับอาจารย์คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จึงเริ่มต้นการทำบ้านพลังงานเป็นศูนย์ด้วยการติดตั้งโซลาร์ให้กับบ้านในโครงการทุกหลัง เพื่อสร้างบ้านที่ตอบโจทย์การใช้ชีวิตที่สะดวกสบาย แต่ต้องอยู่อาศัยได้อย่างยั่งยืนควบคู่กันไปด้วย 

เสนาดีเวลลอปเม้นท์ ร่วมทุนกับบริษัท ฮันคิว ฮันชิน พร็อพเพอร์ตี้ส์ คอร์ป เพื่อร่วมกันพัฒนาบ้านเพื่อการพักอาศัยที่ยั่งยืนจากการนำคอนเซปท์บ้าน Zero Energy House ของ ฮันคิว ฮันชิน มาต่อยอดและพัฒนาเป็นต้นแบบแนวคิดบ้านพลังงานเป็นศูนย์ ในแบบที่เหมาะสำหรับคนไทย 

หลังทราบถึงการทดลองนวัตกรรมเพื่อการอยู่อาศัยสภาวะน่าสบาย โดยพานาโซนิคร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเกิดความสนใจเนื่องจากมีแนวคิดที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน เกิดเป็นความร่วมมือในการสนับสนุนการทดลอง เพื่อให้ได้ผลการวิจัยที่ตรงกับการใช้ชีวิตจริงมากที่สุด และสามารถนำไปต่อยอดนวัตกรรม หรือพัฒนาเป็นเทคโนโลยีเพื่อการอยู่อาศัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ