TH | EN
TH | EN
หน้าแรกBusinessSEAC ชี้ หนทางอยู่รอดในโลกยุคใหม่ วัดความสำเร็จจากการ ‘นำไปใช้ได้จริง’

SEAC ชี้ หนทางอยู่รอดในโลกยุคใหม่ วัดความสำเร็จจากการ ‘นำไปใช้ได้จริง’

โลกยุคหลังโควิด-19 เราจะสังเกตได้ว่า AI ได้รับการพูดถึงในการทำงานมากขึ้น และการเข้ามาของเทคโนโลยี ChatGPT ก็ทำให้คนตั้งคำถามถึงการที่ปัญญาประดิษฐ์จะมาแทนที่มนุษย์ในหลาย ๆ ด้าน การจะแสวงหาความก้าวหน้าในที่ทำงานในยุคนี้ จึงต้องเรียนรู้เพื่อเพิ่มทักษะทั้ง Hard Skills และ Soft Skills ให้กับตัวเองอยู่เสมอ เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน โดยเฉพาะการเพิ่มพูนทักษะที่ปัญญาประดิษฐ์ในปัจจุบันไม่อาจมีได้ อย่างความสามารถในการนำข้อมูลที่มีไปต่อยอดเพิ่มเติม เพื่อประยุกต์ใช้ได้จริงอย่างเป็นรูปธรรม ด้วยความคิดสร้างสรรค์และประสบการณ์ 

“เรียนเยอะ แต่ใช้ได้น้อย” ปัญหาการเรียนรู้ในยุคความรู้ท่วมหัว 

นิภัทรา ตั้งพจน์ทวีผล Product Director ของ SEAC (ซีแอค) เริ่มตั้งคำถามบนเวทีในงาน CTC2023 Festival ในหัวข้อ “How to Build Workforce SMARTer: Innovations in People Development for a Greater Impact” ว่า “โจทย์การเรียนรู้ในยุคนี้คืออะไร ถ้าย้อนไปในยุคเก่า เราอาจจะไปอ่านหนังสือในห้องสมุด แต่ยุคนี้เราอาจจะใช้ Google และล่าสุดคือ ChatGPT เข้าถึงข้อมูล และความรู้ใหม่ ๆ ได้ง่ายขึ้น เร็วขึ้น

ประเด็นสำคัญในยุคเทคโนโลยีก้าวหน้า คือ การเปลี่ยนแปลงเกิดเร็วมาก ทำให้คนวัยทำงานเข้าอบรมเรียนออนไลน์มากขึ้นถึง 3 เท่าในช่วงโควิด-19 การเติมทักษะใหม่ให้พนักงาน คือวาระแห่งชาติในการแข่งขันในยุคนี้ 

จุดที่น่าสนใจจากรายงานของ Harvard Business School พบว่าคนในองค์กรที่เข้าเรียนอบรม มีเพียง 12% ที่บอกว่าสามารถนำความรู้มาใช้ในการทำงานจริง หมายความว่า 88% ได้ผลกลับมาน้อย คือเรียนเยอะแต่ใช้ได้นิดเดียว  

SEAC ทำวิจัยระยะยาวนานกว่า 18 ปี และพบปัญหาสำคัญ 5 เรื่อง คือ 1) ไม่ชัดเจนว่าเรียนแล้วเอาไปใช้กับใคร ใช้ตรงไหน 2) เรียนอยู่รูปแบบเดียวให้จบไปเป็นครั้ง ๆ 3) การออกแบบหลักสูตรที่เน้นเรียนให้ครบ แต่ไม่เน้นให้ลงมือทำ 4) เนื้อหาการเรียนเน้นทฤษฎี เชื่อมโยงกับชีวิตจริงไม่ได้ และ 5) ขาดกลไกและตัวช่วยให้เกิดการผลักดันการเรียนรู้ด้วยตัวเอง  

“เราต้องการพัฒนาทักษะใหม่ ๆ ให้เร็วกว่าที่เคย ปัญหาไม่ใช่เรียนที่ไหน และเรียนอะไร แต่คือการที่เราจะเรียนอย่างไร ให้เรียนน้อยได้มากต่างหาก” นิภัทรา กล่าว 

เรียนแล้วนำไปใช้ได้จริง คือกุญแจสำคัญสู่การเป็น Smart People 

ด้าน อริญญา เถลิงศรี กรรมการผู้จัดการ และผู้ก่อตั้ง SEAC กล่าวว่า “ในช่วง 2-3 ปี คำว่า Smart Learning หรือการเรียนอย่างชาญฉลาด ได้รับการพูดถึงอย่างมากในแวดวงสถาบันพัฒนาทักษะทั่วโลก สิ่งที่เราต้องเข้าใจเกี่ยวกับคำนี้แบ่งออกเป็นสองหัวใจหลัก 1) การที่จะทำอะไรให้เกิดผลลัพธ์ที่ดี อยู่ที่การเรียนแล้วนำเอาไปใช้ได้จริง เพราะการรู้เยอะไม่ใช่ตัวชี้วัดว่าจะได้เลื่อนตำแหน่งได้เร็วขึ้น หรือมีชีวิตที่มั่นคง หากอยู่ที่การทราบว่าสิ่งที่เรารู้นั้นจะสามารถนำไปต่อยอดได้อย่างไร และ 2) อย่ายึดติดว่าจะเรียนแค่รูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง เช่น เรียนออนไลน์เท่านั้น เรียนให้ครบ 4 ปีตามหลักสูตรมหาวิทยาลัยเท่านั้น หรือเรียนครบหนึ่งคอร์สแล้วจบเลย ยุคนี้เราต้องถามตัวเองว่า เราจะเรียนรู้ได้เพิ่มอีกอย่างไร และอย่าเรียนทีละมาก ๆ แต่เราต้องพยายามเรียนแล้วนำไปใช้ทีละเรื่อง ๆ ให้ถูกต้องตามบริบท”

จากการที่ SEAC ทำการวิจัยศึกษาออกมา พบ 5 หัวใจสำคัญของการเรียนรู้ที่ปรับใช้ได้จริง คือ 1) ผู้เรียนต้องเริ่มต้นโดยรู้ว่าเรียนไปทำไม ตั้งแต่ก่อนเริ่มเรียน 2) ผู้เรียนรู้สิ่งที่คาดหวังจากตัวเองคืออะไร 3) ผู้เรียนรู้สึกตื่นเต้น และรู้ว่ามีคนที่มี Passion คล้ายคลึงกันหลายคนที่จะเรียนไปด้วยกัน เพื่อกระตุ้นให้รู้สึกอยากเรียน 4) ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาและพร้อมออกไปลงมือทำจริง และ 5) การนำไปปรับใช้จริงตามบริบทของแต่ละคน 

“ในโลกยุคปัจจุบัน การมีความรู้มากมาย ไม่ได้จะทำให้ประสบความสำเร็จ แต่คนที่มีทักษะที่เรียนอย่างฉลาด เรียนแล้วทดลอง คือคนที่ชนะในวันนี้ Smart People ต้องเริ่มที่ Smart Learning เพราะคนไม่ทึ่งกับการอ่านหนังสือมาก ๆ แล้วนำมาพูดได้ หรือเป็นคนที่มีความรู้เฉพาะที่หาอ่านได้จาก Google หรือ ChatGPT อีกต่อไป แต่จะนับถือคนที่นำสิ่งที่รู้ไปประยุกต์ใช้อย่างเป็นรูปธรรม” อริญญา กล่าว  

ไม่ใช่แค่ได้เรียน แต่ต้องมีพื้นที่ให้ฝึกปฏิบัติจริง 

อริญญา ยังได้ระบุถึงเครื่องมือที่จะช่วยให้การเรียนรู้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ว่า “SEAC ค้นพบสิ่งที่เรียกว่า 6 Learning Labs หรือตัวเร่งที่ช่วยให้ผู้เรียนนำความรู้ไปปรับใช้ได้จริง คือ 1) การตั้งเป้าหมายให้ชัดว่าใช้ที่ไหน และใช้เมื่อไหร่ 2) การตกผลึกความรู้ ย่อยเรื่องยาก ซับซ้อนให้ง่ายขึ้น 3) การสร้างความมั่นใจที่จะลองทำ 4) การได้ฝึกซ้อมใช้ทักษะความรู้จากสิ่งที่เรียน 5) การลงมือทำจริง ในสนามจริง และ 6) มีผู้เชี่ยวชาญที่ปรึกษาได้ คอยสนับสนุนตลอดเส้นทางการเรียนรู้ 

เราต้องเข้าใจว่าในการศึกษาทั่วโลก คนที่ประสบความสำเร็จมากขึ้นได้ ไม่ได้เรียนจบในห้องเรียน แต่ต้องเริ่มการมีวินัยที่ตัวเอง และรู้ตลอดเวลาว่า เรานำความรู้อะไรไปใช้ ถ้าต้องการประสบความสำเร็จต่อเนื่อง เราจะต้องเรียนเพื่อนำไปฉลาดใช้” 

ข่าวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

‘วทันยา อมตานนท์’ พลิกเทคโนโลยีสู่บริการ “เต่าบิน” เพื่อความยั่งยืนทางธุรกิจ

วัฒนธรรมองค์กรยุคใหม่ เปิดกว้าง “ความหลากหลาย” เปิด “โอกาส” ทางธุรกิจ

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ