TH | EN
TH | EN
หน้าแรกColumnistยุทธศาสตร์การค้าใหม่จีน เบียดสหรัฐฯ สู่ มหาอำนาจทางเศรษฐกิจ

ยุทธศาสตร์การค้าใหม่จีน เบียดสหรัฐฯ สู่ มหาอำนาจทางเศรษฐกิจ

ความเป็นไปได้ที่จีนจะเบียดสหรัฐฯ ขึ้นเป็นเบอร์ 1 ด้านเศรษฐกิจ มีการพูดถึงกันมาระยะหนึ่งแล้ว นั่นเพราะความเติบโตของจีนที่พุ่งอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับเศรษฐกิจของสหรัฐฯ เจอปัญหาหลายเรื่อง ตั้งแต่ subprime วิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ จากล่มสลายของเลย์แมน บราเธอร์

การป่วยทางเศรษฐกิจครั้งนั้นของสหรัฐฯ ทำให้เศรษฐกิจในประเทศเหมือนคนเป็นไข้หวัดที่ยังไม่หายไข้ดีนัก มาเจอโควิด-19 เข้าไปอีก แต่นอกเหนือจากนี้ จะมีเหตุมีผลสำคัญอะไรที่ทำให้

นักเศรษฐศาสตร์ของจีนประเมินว่าในอีก 12 ปี หรือปี 2575 จีนจะแซงหน้าสหรัฐฯขึ้นเป็นเศรษฐกิจอันดับต้น ๆ ของโลก แม้ว่าจีนต้องเผชิญกับสงครามการค้ากับสหรัฐฯ

เชื่อว่าสหรัฐฯ เองก็ตระหนักถึงเรื่องนี้ จึงพยายามเตะตัดขาจีนทุกทาง และคาดว่าจะเป็นอย่างนี้ต่อไป ไม่ว่า ปธน. ทรัมป์ จะยังอยู่ในตำแหน่งหรือไม่

เพราะการเสียตำแหน่งมหาอำนาจทางเศรษฐกิจของสหรัฐ จะผูกโยงไปหลายเรื่อง ทั้งนโยบายการเงิน ความแข็งแกร่งของดอลลาร์ที่อาจจะกลายเป็นหยวนแทน การค้าการลงทุน การกำหนดทิศทางเศรษฐกิจโลก

และเรื่องสูญเสียอีกเรื่อง คือ …

เสียหน้า เพราะหากจีนก้าวเป็นเบอร์ 1 ก็เท่ากับการบริหารเศรษฐกิจของประเทศคอมมิวนิสต์ ได้นำหน้าประเทศผู้นำเสรี ทั้งเศรษฐกิจและประชาธิปไตยไปแล้ว

ศูนย์วิจัยเพื่อการพัฒนาของสภาแห่งรัฐของจีน (DRC) ระบุเหตุผลที่จะทำให้จีนก้าวเป็นเบอร์ 1 นั่นก็คือ ยุทธศาสตร์การค้าใหม่ “Dual Circulation

ยุทธศาสตร์การพัฒนาใหม่ “Dual Circulation” หรือ ยุทธศาสตร์วงจรคู่ ทีประธานาธิบดีสีจิ้นผิง เพิ่งประกาศไป จะเป็นยุทธศาสตร์ที่รัฐบาลจีนที่มุ่งเน้นไปที่ตลาดในประเทศมากขึ้น เนื่องสงครามการค้าระหว่างประเทศ การแข่งขันทางเศรษฐกิจ และการชิงดำด้านเทคโนโลยี กับสหรัฐฯ จะยังคงรุนแรงขึ้น

ยุทธศาสตร์ใหม่ “Dual Circulation” นอกจากให้ความสำคัญตลาดในประเทศ ขณะเดียวกันก็ให้ตลาดในประเทศและต่างประเทศสามารถส่งเสริมกันได้ด้วย

นักเศรษฐศาสตร์ของ DRC ยังระบุว่า แม้สหรัฐฯ จะพยายามใช้หลายแนวทางสกัดจีน แต่ก็คงจะไม่สามารถหยุดยั้งการเติบโตทางเศรษฐกิจของจีน

โดยรายงานของ DRC ประเมินว่าส่วนแบ่งของจีนในเศรษฐกิจโลกจะเพิ่มขึ้นเป็น 18.1% ในปี 2568 จาก 16.2 เปอร์เซ็นต์ในปี 2019 ในขณะที่ส่วนแบ่งของสหรัฐจะลดลงเหลือ 21.9 เปอร์เซ็นต์จาก 24.1 เปอร์เซ็นต์ในช่วงเวลาเดียวกัน

นอกจากนี้รายงานยังระบุว่าแม้อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือ GDP โดยเฉลี่ยต่อปีของจีนอาจจะชะลอตัวลงสู่ระดับ 5%- 5.5% ในอีก 5 ปีข้างหน้าจาก 6.1% ในปี 2562 แต่ GDP ต่อหัวของจีนสามารถเพิ่มขึ้นเป็น 14,000 เหรียญสหรัฐภายในปี 2567 ซึ่งจะทำให้จีนหลุดพ้นจาก “กับดักรายได้ปานกลาง” ไปสู่การที่ประชากร “รายได้สูง” ดังนั้นจึงคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจของจีนจะสูงกว่าสหภาพยุโรปในปี 2570 และสูงกว่าสหรัฐอเมริกาในปี 2575

นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยสำคัญที่คาดว่าจะขับเคลื่อนการเติบโตในอนาคตของจีน คือ “เศรษฐกิจดิจิทัล” และภาคบริการของประเทศ ซึ่งทั้งสองอย่างนี้คาดว่าจะขยายตัวอย่างต่อเนื่องในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า

โดยเศรษฐกิจดิจิทัลของจีน จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศเพิ่มขึ้นจากประมาณ 6% ในปี 2019 เป็น 11% ในปี 2568

ขณะเดียวกันยังคาดว่าชนชั้นกลางของจีนที่ยังคงขยายตัวอย่างรวดเร็ว จะช่วยกระตุ้นการบริโภคในประเทศ โดยในปี 2568 คาดว่าจีนจะมีพลเมืองชนชั้นกลางเพิ่มขึ้นเป็น 560 ล้านคนภายในปี 2568 จาก 400 ล้านคนในปี 2018

ขณะที่ส่วนแบ่งของภาคอุตสาหกรรมต่อ GDP ของจีนอาจลดลงเหลือ 35% ภายในปี 2568 จาก 39% ในปี 2562 ในขณะที่ส่วนแบ่งของภาคบริการคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 60% ในปี 2568 จาก 53.9% ในปี 2562

แต่ก็ยังมีเสียงแย้งว่าก็มีเหตุผลที่จีนยังไม่น่าเบียดสหรัฐฯ ขึ้นเป็นเบอร์หนึ่งง่ายๆ โดย Yi Fuxian นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน เมดิสัน ระบุว่า ประเด็นในเรื่องของประชากรผู้สูงอายุที่เพิ่มมากขึ้นของจีน ซึ่งอาจจะทำให้จีนจะยังไม่สามารถแซงสหรัฐไปได้ง่าย ๆ

คาดว่าประชากรที่สูงวัยในจีน จะเพิ่มอย่างรวดเร็ว ในอีก 5 ปีข้างหน้าโดย 1 ใน 5 ของชาวจีนจะมีอายุเกิน 60 ปีภายในปี 2568 ในขณะที่ประชากรวัยแรงงานของประเทศคาดว่าจะลดลง 20 ล้านคน

ผลที่ตามมา คือ เงินออมจะลดลงและต้นทุนแรงงานจะสูงขึ้น พร้อมกับภาระที่เพิ่มขึ้นของจีน ในแง่ของงบประมาณการดูแลสุขภาพและสวัสดิการสังคมอื่น ๆ ด้วย

นอกจากยุทธศาสตร์ “วงจรคู่” ใหม่ ของจีน แล้วปีหน้าก็ต้องจับตามองการประกาศแผนพัฒนาเศรษฐกิจจีน ว่าจะมีหมัดเด็ด ที่จะทำให้จีนก้าวเบอร์ 1 มหาอำนาจทางเศรษฐกิจของโลกได้หรือไม่ แต่สหรัฐฯ คงไม่ยอมตกจากแท่นเบอร์หนึ่ง และต้องพยายามสกัดไม่ให้โดยเบียดไปได้ง่าย ๆ ด้วยมาตรการต่าง ๆ ที่จะงัดมาสกัดดาวรุ่งแน่นอน

ขอบคุณภาพจาก wikipedia tcbc.or.th

ข่าวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ