TH | EN
TH | EN
หน้าแรกBusinessทำไมประเทศไทย ยังไม่มี "สตาร์ตอัพยูนิคอร์น" เสียที

ทำไมประเทศไทย ยังไม่มี “สตาร์ตอัพยูนิคอร์น” เสียที

ยูนิคอร์น คือ เป้าหมายของสตาร์ตอัพจำนวนมาก แต่ทว่าทำไมประเทศไทยยังไม่มีสตาร์ตอัพยูนิคอร์นเสียที 

อะเมซอน เว็บ เซอร์วิสเซส (ประเทศไทย) จัดเสวนาหัวข้อ “Building Thailand’s first Unicorn: the technology powering the nation’s startup innovation” ชวนสตาร์ตอัพไทยและนักลงทุนมาแลกเปลี่ยนมุมมองปัจจัยอะไรบ้างที่จะทำให้สตาร์ตอัพไทยไปถึงยูนิคอร์น

ต้องปักธงตลาดโลก 

กรวัฒน์ เจียรวนนท์ Founder และ CEO ที่ Amity (เพิ่งเปลี่ยนชื่อมาจาก Eko) มองว่า Startup Ecosystem ของไทยยังไม่ Mature เมื่อเทียบกับ GDP และเทียบกับเพื่อนบ้าน ต้องมี National Champion ที่ใหญ่พอ หรือเป็น Regional Player หรือ Global Player เป็น Passion ที่เห็นในสตาร์ตอัพในอาเซียน 

“สตาร์ตอัพในมาเลเซียและสิงคโปร์รู้ดีว่าขนาดตลาดภายในประเทศของเขาเล็กเกินไป ดังนั้น เขาจึงคิดตั้งแต่แรกเลยว่าจะเป็นสตาร์ตอัพระดับภูมิภาค (Regional Business) ส่วนสตาร์ตอัพในอินโดนีเซีย ซึ่งมีหลายยูนิคอร์นในประเทศ เป็นประเทศที่มีประชากร 270 ล้านคนมี GDP ที่ใหญ่กว่าประเทศไทยเท่าตัวกว่า” กรวัฒน์ กล่าว

สำหรับประเทศไทย ไม่ได้เล็กเหมือนมาเลเซียกับสิงคโปร์ แต่ไม่ได้ใหญ่เหมือนกับอินโดนีเซีย ประเทศไทยไม่ได้เล็กมากจนสตาร์ตอัพจะต้องคิดว่าจะต้องเป็น Regional Player แต่ก็ไม่ได้ใหญ่มากจนว่าหากสามารถครองตลาดได้แล้วจะกลายเป็นยูนิคอร์น 

“เราอยู่ใน Middle Trap ประเทศไทยใหญ่พอที่จะทำธุรกิจได้พอสมควร แต่ไม่ใหญ่พอที่จะให้บริษัทอยู่ได้ในประเทศอย่างเดียวเหมือนอย่างอินโดนีเซีย” 

ในตลาดโลกอาจจะมีสตาร์ตอัพที่ทำธุรกิจสำหรับตลาด B2B กลายเป็นยูนิคอร์นได้ แต่ในภูมิภาค SEA ยังไม่มีสตาร์ตอัพที่ทำธุรกิจสำหรับตลาด B2B กลายเป็นยูนิคอร์น เพราะตลาดสำหรับ B2B เล็กมาก ในภูมิภาค SEA สตาร์ตอัพที่ทำ B2C มีโอกาสเป็นยูนิคอร์นได้มากกว่า 

“เราตระหนักรู้ตรงนี้ เราจึงย้าย Headquarter เราไปอยู่ที่ลอนดอน เพื่อที่จะไปจับตลาดที่ใหญ่พอที่จะทำให้เราเติบโตได้อย่างยั่งยืน เราโฟกัสตลาดโลก เนื่องจากตลาดประเทศไทยและในอาเซียนยังมีขนาดเล็ก” กรวัฒน์ กล่าว

Amity เป็น Cloud Company ซึ่งใช้บริการของ Amazon Web Services (AWS) ซึ่งในปี 2020 สตาร์ตอัพที่เป็น Cloud Company เป็น Big Winner ของปี 2020 อาทิ Zoom เป็นต้น ซึ่ง 200 Cloud Company ที่ใหญ่ที่สุดใน Nasdaq หุ้นเพิ่ม 100% โตเร็วกว่าทุกอุตสาหกรรมในโลก โดย Zoom เป็น Flagship Company นอกจากนี้ DocuSign ที่ให้บริการ e-Signature อย่างเดียว มีมูลค่าเกือบ 70,000 ล้านดอลลาร์ ถ้าอยู่ในประเทศไทยก็เป็นบริษัทจำกัดมหาชนที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยแล้ว 

“Cloud for B2B นี่เป็นโอกาสมากสำหรับสตาร์ตอัพไทย ซึ่งหากจะทำตลาด Cloud for B2B สตาร์ตอัพจะต้องไปตลาดโลก เพราะตลาดภายในประเทศและภายในภูมิภาค SEA ไม่ใหญ่พอ” 

สำหรับสตาร์ตอัพที่ทำ B2B จะต้องโฟกัสและยึดตลาด VerticAL ตลาดใดตลาดหนึ่งสุด ๆ ที่ Zoom กับ DocuSign เขาทำสิ่งเดียวให้ได้ดีที่สุด

เริ่มทำ Eko ปี 2012 เริ่มจากการทำ Workplace Collaboration เพิ่มทุนประมาณ 30 ล้านเหรียญ ตอนนี้บริษัทเปลี่ยนแปลงช่วงโควิด-19 ค่อนข้างมาก ปี 2019 ได้เข้าซื้อกิจการ ConvoLab ซึ่งทำ AI Chatbot ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย 

“เราโฟกัสที่ให้บริการ ​SDK ด้าน Communication และ Social Experience ให้บริษัทหลากหลายกรุงเทพฯ คือ Development Hub และมี Business Development ที่ลอนดอนและเท็กซัส” กรวัฒน์ กล่าว

Amity ให้บริการ Communication Technology อาทิ Messaging, Social Feed, Video ให้กับลูกค้าองค์กรซึ่งมีประมาณ 100 ราย ซึ่งรวมกันมี 2,000 ล้านข้อความต่อเดือน บริษัทมี Engineer 150 คน 

การเข้าถึงแหล่งเงินทุน

ปารดา ทรัพย์ประเสริฐ (มะเหมี่ยว) ผู้อำนวยการ 500 TukTuks กล่าวว่า Startup Ecosystem ประเทศไทยเดินช้ากว่าประเทศอื่นจริง แต่มีพื้นฐานที่แข็งแรงอยู่ มีบริษัทไม่ถึง 15% ที่ไม่รอดหรือ Hibernate แต่มี 60% ที่ยังสามารถระดมทุนรอบต่อไปได้ 

“อาจจะแบ่งสตาร์ตอัพออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ไปต่อไม่ได้ กลุ่มที่เติบโตแบบ New High และกลุ่มที่ทรง ๆ ซึ่ง เราต้องหาทางช่วยให้กลุ่มที่ทรง ๆ สามารถออกจากกับดักตรงนั้น” ปารดา กล่าว

แม้ว่าจำนวนดีลในปี 2019 จะน้อยกว่าปีก่อนหน้า แต่จะเห็นการระดมทุนในรอบใหญ่ ๆ มากขึ้น ทั้ง Series B และ Series C และมีการควบรวมกิจการ (M&A) มากขึ้น รวมถึงมีสตาร์ตอัพที่กำลังจะ IPO ภายใน 3-5 ปีนี้ 

“ปีนี้ต้องช่วยเหลือกันมากขึ้น ไม่เพียงแค่สตาร์ตอัพช่วยเหลือกันเอง แต่อยากเห็นภาครับและเอกชนร่วมมือกันช่วยสตาร์ตอัพให้รอดมากขึ้น” ปารดา กล่าว

ในฐานะ VC ณ ปัจจุบัน มีการคิดมากขึ้น กลั่นกรองมากขึ้น อาจจะทำให้จำนวนดีลที่ลงทุนน้อยลง ปกติ 500 TukTuks จะลงทุนเดือนละ 1 ดีล แต่ช่วงโควิด 6 เดือนยังใม่ได้ลงทุนสักดีล ฉะนั้น สตาร์ตอัพที่อาจจะยังระดมทุนไม่ได้ ต้องลดต้นทุน หรือเปลี่ยนกลยุทธ์ให้ใช้เงินน้อยลง ให้ได้กำไรมากขึ้น เก็บเงินสดให้ยาวนานขึ้น 

อีกหนึ่งปัจจัยที่จะพาสตาร์ตอัพไปสู่ยูนิคอร์นได้ คือ การเข้าถึงแหล่งเงินทุน (Access to Funding)  ซึ่งในประเทศไทยและในภูมิภาค SEA จะขาดแคลนโดยเฉพาะรอบการระดมทุนใหญ่ ๆ อย่าง Series C และ Series D ซึ่งระดมทุนกันระดับ 500 ล้านดอลลาร์ 

“ทั้งนี้การเป็นยูนิคอร์น ไม่ได้แปลว่าธุรกิจนั้นประสบความสำเร็จตลอดไป อยากให้โฟกัสว่าให้สร้างธุรกิจที่ยั่งยืนอยู่ได้นาน ๆ”

“ซึ่งเทคโนโลยี Cloud ช่วยให้สตาร์ตอัพลดต้นทุน เพิ่มความสามารถในการขยายขนาดธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ” ปารดา กล่าว

500 TukTuks เป็น Venture Capital Fund (เป็นส่วนหนึ่งของ 500 Startups) เริ่มมาตั้งแต่ปี 2015 เน้นลงทุน Seed Stage ถึง Pre-series A ใน Tech Startup ขนาดการลงทุนอยู่ที่ประมาณ 100,000 -200,000 ดอลลาร์สหรัฐ ปัจจุบันมี 2 กอง ลงทุนไปแล้ว 80 บริษัททั้งในประเทศไทยและใน SEA รวมถึง CLMA อาทิ เมียนมาและเวียดนามค่อนข้างมาก 

National Champion 

ยอด ชินสุภัคกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และผู้ก่อตั้ง บริษัท ไลน์แมน วงใน จำกัด กล่าวว่า การจะมีสตาร์ตอัพยูนิคอร์นได้ ประเทศหรือตลาดนั้นต้องใหญ่มากพอ หรือไม่ก็ต้องออกไปเป็นบริษัทระดับ Regional Player หรือ Global Player เพื่อให้มีขนาดตลาดให้สามารถเป็นยูนิคอร์นได้

สำหรับ LINE MAN Wongnai เอง เลือกเส้นทางการเป็น National Champion เพราะเชื่อว่าตลาดประเทศไทยใหญ่พอ จำนวนประชากรอาจจะไม่ใหญ่เท่าอินโดนีเซีย แต่การใช้จ่ายต่อหัวสูงกว่า อาจจะต้องใช้เวลาในการสร้างฐานลูกค้าให้ใหญ่มากพอ 

นอกจากขนาดตลาดแล้ว สตาร์ตอัพที่เป็นยูนิคอร์นใน SEA ส่วนมากจะเป็นสตาร์ตอัพที่ทำธุรกิจแบบ B2C ซึ่งใน SEA มีผู้บริโภคมากกว่า 600 ล้านคน ไม่ได้หมายความว่าสตาร์ตอัพ B2B ทำไม่ได้ แต่ B2C เกิดและโตก่อน 

ปัจจัยของการเป็นสตาร์ตอัพยูคอร์น คือ สินค้าและบริการต้องสร้างมูลค่าให้ผู้บริโภคต้องมากพอ (เป็นหลักร้อยล้านคน) ที่เขาจะเปลี่ยนพฤติกรรมได้

ก็จะสามารถหาเงินจากกลุ่มผู้บริโภคเหล่านี้ได้ ก็จะสามารถเป็นยูนิคอร์นได้

“คลาวด์มีประโยชน์ต่อการทำสตาร์ตอัพ เพราะสะดวก ทรัยพยากร และความสามารถในการขยาย ทำให้เรื่องนี้หมดห่วงไป ทำให้สตาร์ตอัพเอาเวลาไปโกัสสินค้าและบริการที่ตอบโจทย์ของลูกค้าได้เต็มที่ ซึ่งวงในใช้บริการคลาวด์ของ AWS” ยอด ชินสุภัคกุล

ท้งนี้ Wongnai เริ่มปี 2010 ปีที่และรวมกิจการกับ LINE MAN เป็น LINE MAN Wongnai ให้บริการรีวิวร้านอาหาร ความงาม และการเดินทาง รวมถึง Food Delivery และบริการ O2O อื่น ๆ เช่น Taxi และ Messenger ปัจจุบันให้บริการอยู่ 35 จังหวัด 

ธุรกิจหลักในช่วงวิกฤติโควิด-19 คือ Food Delivery ซึ่งเติบโตขึ้นมาก ส่วนธุรกิจอื่น ๆ ได้รับผลกระทบจากวิกฤติโควิด-19 แต่ยังดำเนินการอยู่ อาทิ ธุรกิจมีเดีย และธุรกิจ POS (ซึ่งปัจจุบันมีคนใช้งานประมาณเกือบ 200,000 ราย) เป้าหมายต้องการเป็น End-to-End Food Ecosystem สำหรับประเทศไทย 

สตาร์ตอัพในปี 2019 เป็นปีที่เหนื่อยมาก สตาร์ตอัพกลุ่มหนึ่งจำศีลอยู่ (Hibernate) โดยเฉพาะสตาร์ตอัพสายท่องเที่ยวและเดินทางรวมถึงที่เกี่ยวข้องการต้องออกนอกบ้าน สตาร์ตอัพเหล่านี้ต้องลดคนหรือเปลี่ยนไปทำอย่างอื่นชั่วคราว ขณะเดียวกันมีสตาร์ตอัพอีกกลุ่มที่เติบโต อาทิ Food Delivery, e-Commerce หรืออะไรที่เกี่ยวกับบริการที่บ้าน 

“วิธีคิดของสตาร์ตอัพทั่วโลกและในไทยเปลี่ยนไป อาทิ เรื่องการบริหารการเงินและการทำเงินให้ได้ในระยะที่สั้นลง เป็นปัจจัยที่สำคัญมากขึ้น”

AWS เป็น Enabling Platform

ดร.ชวพล จริยาวิโรจน์ ผู้จัดการประจำประเทศไทย บริษัท อะเมซอน เว็บ เซอร์วิสเซส (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ในช่วง 14 ปีที่ผ่านมา AWS มีโอกาสให้การสนับสนุนสตาร์ตอัพหลายล้านราย 2019-2020 AWS มีโปรแกรมที่เรียกว่า Activate ที่จะสนับสนุนสตาร์ตอัพในมิติต่าง ๆ กัน ตั้งแต่เครดิต เทรนนิ่ง และเทคนิคอล เป็นต้น หรือโยงไปพบ VC และลูกค้าองค์กรขนาดใหญ่ในประเทศต่าง ๆ 

AWS มีบริการ 175 บริการ แต่ละปีมี Functionality ออกสู่ตลาดประมาณ​ 2,000 กว่าหน้าที่ แต่ละวันมี 4-5 Functionality ใหม่ ๆ ออกสู่ตลาด ดร.ชวพล มองว่า AWS เป็น Enabling Platform สิ่งที่สตาร์ตอัพเคยต้องใช้เวลา 6 เดือนอาจจะเหลือแค่ไม่กี่ชั่วโมง เพื่อให้สตาร์ตพอัพไปโฟกัสที่ User Experience

ภาพประกอบจาก aws.amazon.com/th/

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ