TH | EN
TH | EN
หน้าแรกBusiness"คำค้นสินค้ายอดนิยม"​ ในอาเซียน ช่วงโควิด-19

“คำค้นสินค้ายอดนิยม”​ ในอาเซียน ช่วงโควิด-19

อย่างที่ทราบกันอยู่แล้วว่า ในช่วงโควิด-19 การ ปริมาณการซื้อสินค้าผ่านออนไลน์ หรือ e-Commerce สูงที่เดียว ใครที่ไม่เคยใช้บริการซื้อสินค้าออนไลน์ ในช่วงนี้ก็คงมีประสบการณ์กันบ้าง และหลายคนก็อาจจะเริ่มติดใจ … มาดูพฤติกรรมการซื้อขายของออนไลน์ในแถบอาเซียนบ้านเรากัน

พฤติกรรมการซื้อขายและค้นหาสินค้าออนไลน์

ในช่วงของการจำกัดการเดินทางออกนอกบ้านนั้น การซื้อขายของออนไลน์ของไทยเพิ่มขึ้น 63% เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ขณะที่มาเลเซียเพิ่มขึ้น +32% ส่วนเวียดนามเพิ่มขึ้น +13%

ตัวเลขนี้ไม่ได้หมายความว่าไทยมีการซื้อขายออนไลน์มากที่สุดในอาเซียน แต่ว่าเป็นอัตราที่สูงขึ้นจากที่เคยเป็น อย่างสิงคโปร์ หรืออินโดนีเซีย ก็มีการคุ้นชินกับการซื้อของออนไลน์อยู่แล้ว อัตราเพิ่มขึ้นอาจจะไม่ได้สูงมาก เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่แล้ว

ทั้งนี้ สิงคโปร์ มีลูกค้าหน้าใหม่บนโลกออนไลน์เพิ่มขึ้น 24% ส่วนอินโดนีเซีย มีลูกค้าหน้าใหม่เพิ่มขึ้น 32%

แม้ว่าในช่วงโควิด-19 ระบาด และรัฐบาลหลายประเทศต้องประกาศล็อกดาวน์ จำกัดการเดินทางไปยังสถานที่ต่าง ๆ แต่ว่ามี 2 ประเทศ ที่ต้องแวะไปซื้อพวกของจำเป็น ผักผลไม้ เนื้อสัตว์ และไปร้านขายยา นั่นคือ คนเวียดนาม และคนไทย เพราะทั้งคนไทยและคนเวียดนาม ยังชอบที่จะจับจ่ายซื้อของทำกินเอง และการแวะไปร้านขายยา มากกว่าซื้อออนไลน์ นั่นเพราะการได้ปรึกษากับเภสัชกร สร้างความมั่นใจมากกว่า 

ประชาชนทั้งในอาเซียนและทั่วโลก ในช่วงเวลานี้ต่างให้ความสำคัญกับอาหารเสริมเพิ่มภูมิคุ้มกัน และวิตามินต่าง โดยมีข้อมูลว่าการค้นคำกว่า “Vitamin” (วิตามิน) ทั่วโลกนั้น เพิ่มขึ้น  40% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว

ซึ่งสำหรับในอาเซียนแล้วประเทศที่มีการค้นหาผลิตภัณฑ์ประเภทวิตามิน หรือ ผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ มากที่สุดคือ ฟิลิปปินส์ ตามด้วย อินโดนีเซีย 

ขณะที่ประเทศสิงคโปร์มีการค้นคำว่า “Lutein” ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อบำรุงสายตา หลาย ๆ คนคงอาจจะสงสัย ทำไมคำว่า “Lutein” ถึงเป็นคำค้นมาแรงในสิงคโปร์ แทนที่จะเป็นหน้ากาก หรือ ผลิตภัณฑ์เพิ่มภูมิคุ้มกัน นั่นเพราะล็อกดาวน์ประเทศ และคำสั่งให้ประชาชน Work from Home ทำงานอยู่กับบ้าน ซึ่งทำให้ต้องอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์กันตลอดทั้งวัน เป็นที่มาว่าทำไม “Lutein” ถึงเป็นคำค้นอันดับต้นๆ 

Work from Home และ Social Distancing ทำให้เกิดโอกาสในสินค้าหลาย ๆ ประเภท ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่สามารถฉวยโอกาสในช่วงเวลานี้ก็มีหลายประเภท โดยเฉพาะเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือนอย่างในไทย สินค้าที่เป็นกระแสอยู่ช่วงหนึ่งก็ คือ หม้อทอดไร้น้ำมัน ซึ่งไม่เพียงแต่ที่ไทย แต่ทั่วอาเซียน หม้อทอดไร้น้ำมัน กลายเป็นสินค้ายุคโควิด-19 

สิงคโปร์มีการค้นหาคำว่า หม้อทอดไร้น้ำมัน พุ่งสูงถึง 190% ส่วนที่เวียดนามเครื่องใช้ไฟฟ้ายอดนิยม คือ เครื่องปั่น มีการค้นหาสูงถึง 68% ขณะที่ฟิลิปปินส์ เครื่องทำไอศครีมมาเป็นอันดับหหนึ่ง ด้วยการค้นหาสูงถึง 33% 

สำหรับไทยคำค้นสูงสุดคือ สินค้า “Home automation” หรือ เครื่องอำนวยความสะดวกในบ้าน ที่มีการค้นหาสูงถึง 95% ส่วนที่มาเลเซียคำค้นสูงสุดคือ “Smart TV” สมาร์ท ทีวี โดยมีคำค้นเพิ่มขึ้น 39%

แม้ว่า traffic ในอี-คอมเมิร์ซ จะเพิ่มสูงขึ้น และมีการค้นหาใน Google สูงมาก แต่ในความเป็นจริงแล้วยอดซื้อ ไม่ได้สอดคล้องกับการค้นหาซะทีเดียว

จากวิกฤติโควิด-19 ผู้บริโภคยังคงได้รับผลกระทบด้านการเงินอย่างมาก โดยการสำรวจของ Google ชาวฟิลิปปินส์ ถึง 87% บอกว่าได้รับผลกระทบการเงิน ขณะที่ชาวสิงคโปร์ได้รับผลกระทบ 48% และส่วนใหญ่จะบอกว่าจะรอให้สินค้ามีโปรโมชั่น หรือ รอให้สินค้าปรับลดราคาถึงจะตัดสินใจซื้อ

นอกจากที่คนที่เข้าไปหาสินค้าในอี-คอมเมิร์ซจะเพิ่มสูงขึ้นแล้ว ก็ยังมีร้านค้าใหม่ ๆ เกิดขึ้นมากมาย อย่าง Shopify ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มอี-คอมเมิร์ซ เจ้าใหญ่อีกเจ้า เปิดเผยว่า มีตัวเลขของร้านค้ารายใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นถึง 62%

การทำกลยุทธ์ของสินค้าและแบรนด์

พฤติกรรมของผู้บริโภคที่เรียกได้ว่าไม่ใช่ช่วงเวลาที่ปกตินัก และคงจะไม่กลับมาเป็นแบบเดิมได้ง่าย ๆ ทำให้นักการตลาด ต้องคิดวางแผนมากขึ้น โดยต้องเข้าใจว่าผู้บริโภคในช่วงนี้สิ่งที่ไม่จำเป็นลูกค้าจะยังไม่ตัดสินค้าซื้อ ซึ่งอาจจะต้องทำโปรโมชั่น หรือการสื่อสารแบรนด์กับลูกค้าตลอด

อย่างเคสที่น่าสนใจและน่ารักในอินโดนีเซีย คือ เคสของ “ดาน่อน” ที่ใช้สถานการณ์การระบาดโควิด-19 ด้วยการทำเคมเปญโฆษณาบนป้ายบิลบอร์ด ใช้ข้อความว่า “นี่เป็นครั้งแรก ที่เราไม่อยากให้คุณเห็นป้ายบิลบอร์ด อยู่กับบ้าน แล้วดื่มน้ำทุกวัน” โฆษณานี้น่าจะเรียกรอยยิ้มให้กับคนที่เห็นป้ายได้ดีทีเดียว แถมยังช่วยสร้างการจดจำ และยังสร้างหรือกระตุ้นให้เห็นถึงความจำเป็นของการดื่มน้ำ

ขณะที่ธุรกิจค้าปลีกเองก็ต้องเข้าใจพฤติกรรมเหล่านี้ของผู้บริโภค ที่ชะลอการจับจ่ายสินค้าที่ไม่จำเป็น ดังนั้น ก็จะต้องวางกลยุทธ์ในเรื่องการตั้งราคาสินค้า และต้องบริหารสต็อกสินค้าให้สมดุลกับความต้องการของลูกค้าด้วย
มีพฤติกรรมหลาย ๆ อย่างของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป ในยุคโควิด-19 ทำให้ทั้งนักการตลาด เจ้าของผลิตภัณฑ์ และผู้ประกอบการ ต้องวิเคราะห์ใหม่ และปรับเปลี่ยนกลยุทธ์เพื่อให้สินค้าโดนใจผู้บริโภคมากที่สุด

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ