TH | EN
TH | EN
หน้าแรกColumnistอินโดนีเซีย นำโด่ง เม็ดเงินลงทุนในธุรกิจสตาร์ตอัพ อี-คอมเมิร์ซ โตสวนโควิด-19

อินโดนีเซีย นำโด่ง เม็ดเงินลงทุนในธุรกิจสตาร์ตอัพ อี-คอมเมิร์ซ โตสวนโควิด-19

แม้ว่าเศรษฐกิจทั่วโลกจะเผชิญกับพิษเศรษฐกิจกันอย่างถ้วนหน้า ทำเอาหลาย ๆ บริษัทชั้นนำหลายต่อหลายบริษัท รวมถึงบริษัทใหญ่ ๆ ของโลก พากันเซ และมีข่าวว่าหลายบริษัทต้องยื่นล้มละลายเพื่อปรับโครงสร้างหนี้กันระนาว

แต่มีตัวเลขที่พอจะทำให้พอจะเห็นสัญญาณราง ๆ ว่า เศรษฐกิจน่าจะยังขับเคลื่อนต่อไปได้จากกลุ่มธุรกิจสตาร์ตอัพ

ดีลสตรีทเอเชีย ซึ่งเป็นสตาร์ตอัพ ในสิงคโปร์ เปิดเผยตัวเลขเม็ดเงินลงทุนในบริษัทสตาร์ตอัพในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรืออาเซียน ในช่วงไตรมาสที่สอง ระหว่างมีนาคมถึงมิถุนายน ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ไวรัสโควิด-19 กำลังระบาดนั้นสูงถึง 2.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือเพิ่มขึ้นถึง 91%

ประเทศที่มีนักลงทุนทุ่มเม็ดเงินลงไปมากที่สุด ก็คือ อินโดนีเซีย 45.6% ตามมาด้วย สิงคโปร์ เวียดนาม ฟิลิปปินส์ และเมียนมา

เม็ดเงินหลัก ๆ ที่ลงทุนแล้วไป ลงทุนอยู่ในธุรกิจ อี-คอมเมิร์ซ ฟินเทค และโลจิสติกส์ เป็น 3 อันดับต้น ๆ ซึ่งสอดคล้องกับทิศทางการเติบโตของธุรกิจทั้งสามประเภทนี้

เม็ดเงินลงทุนใน TOP 3

  • อี-คอมเมิร์ซ 691 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
  • ฟินเทค 496 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
  • โลจิสติกส์ 360 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

น่าสนใจว่า แม้ไทยจะมีการจัดการกับการระบาดของโควิด-19 ได้ดี แต่ไม่ได้เชื่อมโยงกับเม็ดเงินลงทุนที่เข้ามาจากต่างประเทศ

จริง ๆ หากไปดูเศรษฐกิจก่อนเกิดโควิด-19 แนวโน้มการลงทุนในอาเซียนไม่ได้แตกต่างไปสักเท่าไร เพราะประเทศที่เม็ดเงินลงทุนไหลเข้ามาในอาเซียนแต่ละประเทศวิเคราะห์ได้ไม่ยากนัก

จุดร่วมของการดึงดูดเม็ดเงินลงทุน คือ การเติบโตของประชากรชนชั้นกลางสูง ต้นทุนการผลิตและค่าแรงอยู่ในอัตราที่ยังดึงดูด และแรงงานในวัยหนุ่มสาวมีจำนวนมาก

แค่ 3 ปัจจัยนี้ เห็นได้ว่าไทยไม่ใช่ตัวเลือกต้น ๆ ของฐานการผลิต แต่ไทยอาจจะมีจุดแข็งอื่น ๆ ที่ต้องมองให้ขาด เพื่อมุ่งเน้นไปพัฒนาด้านนั้น ๆ แทน อันนี้ค่อยมาวิเคราะห์ลงลึกในครั้งหน้า ๆ

ส่วนของสิงคโปร์ แม้จะไม่ได้มีจุดแข็งที่ 3 ปัจจัยดังกล่าว แต่จุดแข็งที่สุดคือ “ระบบขนส่ง” ซึ่งสิ่งนี้เป็นหัวใจและนโยบายสำคัญของประเทศ ที่ต้องการผลักดันให้เป็นมากกว่าศูนย์กลางการขนส่ง

สิงคโปร์ไม่เพียงลงทุนเรื่องโครงสร้างการขนส่ง แต่ลงทุนในการนำเทคโนโลยีดิจิทัลต่าง ๆ มาใช้ด้วย เพื่อมุ่งสู่การขนส่งที่ไฮเทคที่สุดในภูมิภาค และสิงคโปร์ยังมีจุดเด่นของการเป็น Trading Hub ศูนย์กลางการค้า เป็นจุดกระจายสินค้าที่สำคัญ โดยมีกฎระเบียบเอื้อต่อการลงทุน

จึงเห็นได้ว่าเม็ดเงินลงทุนของสิงคโปร์ จึงไปอยู่ที่การขนส่ง อย่าง “นินจาแวน” และต้องบอกว่า “เคอร์รี่” เองก็เป็นทุนสิงคโปร์

มาที่พระเอกของเรื่องวันนี้คือ “อินโดนีเซีย” ที่เม็ดเงินลงทุนหลักไปที่ อี-คอมเมิร์ซ อันนี้ก็ไม่น่าแปลกใจ

แม้ว่าที่ชาวอินโดนีเซียจะเข้าถึงระบบธนาคารค่อนข้างยาก เนื่องมาจากรายได้ และกฎระเบียบ แต่ก็กลายเป็นช่องว่างใหญ่ ที่ทำให้ธุรกิจให้บริการการเงิน ที่ไม่ใช่ธนาคารเข้ามาแทรกและเติบโตรวดเร็ว ซึ่งโมเดลความสำเร็จ ก็คือ Go-Jek

แพลตฟอร์มบริการการเงิน ทำให้ชาวอินโดนีเซีย คุ้นชิน การจ่ายเงินผ่านโทรศัพท์มือถือ (e-Wallet) และทำให้ อี-คอมเมิร์ซ ในอินโดนีเซียเติบโต ปัจจุบันมีผู้ให้บริการชำระเงินผ่านโทรศัพท์มือถืออยู่ถึง 37 ค่าย

ขณะที่ชาวอินโดนีเซียกว่า 300 ล้านคน หรือ 60% ใช้สมาร์ทโฟน ซึ่งเป็นอัตราที่มากกว่าเกณฑ์เฉลี่ยในอาเซียน ซึ่งอยู่ที่ 51%

ล่าสุดนี่เอง ทางด้านธนาคารกลางของอินโดนีเซีย ก็ออกกฎที่เอื้อให้การทำธุรกรรมการเงินผ่านทางโทรศัพท์มือถือ หรือ โมบายล์ เพย์เมนท์ สะดวกขึ้นไปอีก โดยจะนำ QRIS หรือมาตรฐานคิวอาร์โค้ดของอินโดนีเซีย มาใช้แทน QR ที่จะผูกโยงการทำธุรกรรมการเงิน e-wallet ของผู้ให้บริการทั้งหมด ๆ

ขณะที่ผู้ให้อี-คอมเมิร์ซ ในอินโดนีเซีย ก็มียักษ์ใหญ่ของโลก อย่าง Amazon, Alibaba และยักษ์ท้องถิ่นอย่าง Tokopedia ที่ทุ่มเงินอีก 500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อยึดหัวหาดประชากรกว่า 600 ล้านคน

ในปี 2020 นี้ คาดว่าปริมาณการซื้อขายใน อี-คอมเมิร์ซ ของเจ้าใหญ่ 4 ค่าย น่าจะแตะ 2.9 หมื่นลาร์ดอลลาร์สหรัฐ สูงกว่าปีที่แล้ว 2 เท่าตัว โดยมูลค่าตลาดอี-คอมเมิร์ซ โดยรวมทั้งหมด อาจจะสูงถึง 3.5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ในส่วนของอัตราเติบโตของอุตสาหกรรมคาดว่าจะเติบโตปีละ 50%

ต้องบอกว่ารัฐบาลอินโดนีเซียให้ความสำคัญกับเศรษฐกิจดิจิทัลมาก เนื่องด้วยประชากรที่มาก การขยายตัวของชนชั้นกลาง ภูมิประเทศเป็นเป็นหลายเกาะ การเดินทางยังมีปัญหา ดังนั้น การทำธุรกิจ หรือ การค้าขาย จำเป็นที่ต้องมีเทคโนโลยี มาสนับสนุน เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจประเทศ

และตอนนี้ ผู้ประกอบการรายขนาดเล็ก หรือ MSME ซึ่งเป็นกระดูกสันหลังของเศรษฐกิจ ก็กระโดดสู่ธุรกิจออนไลน์ กันมากขึ้น เพราะโดนโควิด-19 บีบบังคับ

สภาพแวดล้อม และปัจจัยต่างๆ นี้ จึงไม่น่าแปลกว่าทำไม อี-คอมเมิร์ซ ในอินโดนีเซียถึงมาแรง
และอาจจะกลายเป็นเบอร์ 1 ด้านอี-คอมเมิร์ซ ในภูมิภาค

แม้ว่าในขณะนี้ภาพรวมของเม็ดเงินลงทุนจากต่างชาติที่ไหลเข้ามายังอินโดนีเซีย (FDI) จะไม่ต่างจากประเทศอื่น คือ อยู่ในขาลง แต่ธุรกิจอี-คอมเมิร์ซ เป็นเทรนด์ขาขึ้น ดังนั้น นักลงทุนเงินหนา ก็คงต้องกระโดดร่วมวง ปักธง ในอี-คอมเมิร์ซ ของอินโดนีเซียไว้ก่อน ซึ่งก็กำลังมีสตาร์ตอัพ หน้าใหม่ ๆ เกิดขึ้น

ที่มา asia.nikkei.com thejakartapost.com

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ