TH | EN
TH | EN
หน้าแรกBusinessครีเอเตอร์ยุคใหม่ต้องรู้! 3 เทรนด์ YouTube Content ปี 2024

ครีเอเตอร์ยุคใหม่ต้องรู้! 3 เทรนด์ YouTube Content ปี 2024

โลกของคอนเทนต์บน YouTube กำลังเปลี่ยนแปลงไปซึ่งเกิดจากพฤติกรรมและแนวโน้มการบริโภคสื่อ ส่งผลให้เกิดเทรนด์วิดีโอคอนเทนต์ใหม่ ๆ ขึ้นอยู่เสมอ เหล่าครีเอเตอร์ควรปรับตัว และพร้อมรับมืออยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการสร้าง YouTube Content ใหม่ ๆ เน้นสร้างเอกลักษณ์เฉพาะตัว สานสัมพันธ์กับผู้ชม รวมถึงการเรียนรู้จากการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อสร้างคอนเทนต์ที่โดดเด่น ตอบสนองความต้องการของชุมชน “ครีเอเตอร์ที่ประสบความสำเร็จนั้น คือผู้ที่สามารถปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ได้”

มาย ฐรินทร์ญา ศุภทรัพย์ Strategic Partner Manager จาก YouTube Thailand กล่าวถึงว่า แพลตฟอร์ม YouTube ยังเป็นพื้นที่ที่คนยังเข้ามาใช้เวลาอย่างคุ้มค่าอันดับหนึ่ง ไม่ว่าจะเข้ามาเพื่อผ่อนคลาย การเรียนรู้ หรือการเติม passion ให้กับตัวเอง สิ่งเหล่านี้ส่งผลให้ YouTube Content ยังคงเป็นตัวแปรสำคัญที่ทำให้มีอิทธิพลต่อชีวิตทุกคนมากยิ่งขึ้น ปัจจุบัน YouTube ยังคงเป็น Streaming Services แพลตฟอร์มอันดับหนึ่งในประเทศไทยอีกด้วย

อัปเดตเทรนด์คอนเทนต์บนยูทูป

ด้านของการรับชม YouTube Content สิ่งที่เห็นเปลี่ยนแปลงไปมาก ๆ คือ การผลิตคอนเทนต์ขึ้นมาเพื่อให้ทุกคนรับชมได้มากขึ้น ในปีที่ผ่านมามีจำนวนคอนเทนต์วิดีโอมากมายหลากหลายรูปแบบ เรียกว่าจำนวนมันระเบิดออกมาก ทั้งประเภทเนื้อหาการรับชม ทุกวันนี้ทุกหนึ่งนาทีมีคน Upload คอนเทนต์ขึ้นไปไว้บน YouTube มากกว่า 500 ชั่วโมง เยอะขนาดที่ว่ามีคอนเทนต์บนยูทูปให้ทุกคนพร้อมรับชมมากกว่า 15,000 ชั่วโมง สาเหตุเกิดจาก YouTube มีรูปแบบสื่อที่หลากหลาย เช่น คอนเทนต์วิดีโอยาว – คอนเทนต์วิดีโอสั้น และยังมีขนาดที่สามารถให้ครีเอเตอร์ทุกคนผลิตคอนเทนต์ออกมาตามความต้องการเป็นจำนวนมากได้ อีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้การทำคอนเทนต์ยิ่งง่ายและเข้าถึงได้มากขึ้นคือ AI เพราะปีนี้จะเห็นได้ว่า AI เข้ามามีบทบาทในการทำให้ตลาดวิดีโอเติบโต ทั้งหมดนี้จึงส่งผลให้ตลาดวิดีโอเติบโตก้าวกระโดดมากขึ้น 

“แน่นอนว่าเมื่อทุกอย่างเปลี่ยนแปลงไปรวดเร็วความซับซ้อนก็จะเพิ่มขึ้น เหล่าครีเอเตอร์จะทำคอนเทนต์วิดีโอให้ประสบความสำเร็จนั้นก็เป็นเรื่องที่ท้าทายในยุคปัจจุบัน”

3 เทรนด์การเปลี่ยนแปลงส่งผลให้วิดีโอมีบทบาทสูงขึ้นเท่าตัว

วิดีโอมีผลอย่างมากในการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรม แต่วันนี้วิดีโอเป็นตัวกำหนดวัฒนธรรมของคนไปเรียบร้อยแล้ว

1) AI กับการสร้าง YouTube Content

เทคโนโลยีเข้ามาทำให้ทุกอย่างง่ายขึ้น คนที่ทำคอนเทนต์ไม่เป็น กลายเป็นคนที่ทำคอนเทนต์คลิปวิดีโอออกมาได้กลายเป็น common สำหรับทุกคน จากการสำรวจทั่วโลกพบว่า 82% คนเคยทำคอนเทนต์ออนไลน์ และ Upload ออกไปเรียบร้อย จะเห็นได้ว่ามีจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ เรียกว่าแทบจะเป็นส่วนมากของคนเคยทำวิดีโอคอนเทนต์แล้ว และใน 65% ของ Gen Z พบว่าก็เขาใช้ฟิลเตอร์หรือเอฟเฟกต์ ที่มาจากเทคโลโนยีต่าง ๆ ในการทำคอนเทนต์วิดีโอ ทำให้คอนเทนต์ง่ายขึ้น ทุกคนสามารถเข้าถึง และทำคอนเทนต์ออกมาได้เป็นจำนวนมาก ส่งผลให้มีครีเอเตอร์เพิ่มมากขึ้นทั้งเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ

ยกตัวอย่างครีเอเตอร์ต่างประเทศมีการเริ่มใช้เทคโนโลยีเข้ามาทำ YouTube Content ให้มันน่าสนใจยิ่งขึ้น เวลาพูดถึงเทคโนโลยีไม่ได้หมายความว่ามันต้องเป็นอะไรที่ยิ่งใหญ่แบบ AI อย่างเดียวเท่านั้น แต่บางครั้งฟิลเตอร์หรือเอฟเฟกต์ก็มีผลที่ทำให้คอนเทนต์ดีขึ้นแล้ว เช่น การทำคลิปสั้น เขาทำออกมาตอนแรกถ่ายตามปกติ ยอดวิวอยู่หลักแสน หลังจากที่มีการใช้ฟิลเตอร์ต่าง ๆ วิดีโอของเขาแตะขึ้นไปถึง 8.5 ล้านวิว

ยกตัวอย่างครีเอเตอร์ในประเทศไทย ช่องของ My Mate Nate ก็ได้ใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยทำให้คอนเทนต์ เขาเข้าถึงคนได้มากขึ้น ปกติก็จะทำเป็นคอนเทนต์ภาษาไทย แต่เริ่มมีการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยแปลเสียง หรือดัดเสียงเป็นภาษาต่าง ๆ ออกมา มันก็สอดคล้องกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปในยูทูปที่เริ่มมีฟีเจอร์เหล่านี้เพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้เหล่าครีเอเตอร์ก็สามารถอัปโหลดดัดเสียงนั้นเข้าไปบนวิดีโอตัวเดิมที่ตัวเองทำออกมา ส่งผลให้คนต่างประเทศก็สามารถเข้าถึงเราได้มากขึ้น

หรืออย่างโรงเรียนสอนภาษา ที่เป็นโรงเรียนสอนภาษาอังกฤษในประเทศอังกฤษก็เริ่มมีการใช้ AI ดัดเสียงออกมาแปลไทย ทำให้คนสอนภาษาอังกฤษในประเทศอังกฤษเข้าถึงคนในไทยได้โดยที่เขาไม่จำเป็นต้องพูดภาษาอังกฤษด้วยตนเอง เทคโนโลยีนี้ทำให้เขาเข้าไปสร้างฐานแฟนในประเทศไทยได้

“ทุกวันนี้ AI ธรรมชาติมากขึ้น ทุกอย่างเนียนยิ่งกว่าเราพูดเอง จากผลสำรวจพบว่า 60% คนเปิดใจดูเหล่าครีเอเตอร์ที่สร้างคอนเทนต์ด้วย AI เพราะฉะนั้นหากอยากทำคอนเทนต์ที่แปลกใหม่ไม่ต้องกังวลว่าคนดูจะไม่ยอมรับ ทุกคนพร้อมเปิดใจรับกับสิ่งใหม่ ดังนั้น AI หรือเทคโนโลยีต่าง ๆ จะเป็นตัวทำให้ครีเอเตอร์ ก้าวข้ามผ่านขีดจำกัดเดิม ๆ ของตัวเองได้”

และไม่ว่าจะใช้ AI เข้ามามีบทบาทยังไงก็ไม่สามารถมาแทนที่ครีเอเตอร์ได้ เพราะเป็นแค่เครื่องมือที่คอยช่วยทำให้เรามีประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้นเท่านั้น

2) YouTube Content กับการเปลี่ยนแปลงของ Culture

ปีที่แล้วในเรื่องของ Culture หรือ Pop Culture มีกลุ่มชุมชนที่เข้ามาสร้าง Community เช่นเวลาชอบอะไรเหมือนกัน ก็จะมารวมตัวดูคอนเทนต์เดียวกัน ไม่ว่ามันจะ Need หรือ Mass ปีนี้มีการพัฒนาไปมากกว่านั้น มีการสร้างคอนเทนต์หรือการจ่ายเงินเพื่อ Supports เหล่าครีเอเตอร์ ซึ่งเป็นเทรนด์ที่กำลังมาแรงมาก ๆ หนึ่งเหตุผลที่ทำให้เกิดสาเหตุนี้ นั่นเป็นเพราะว่าแพลตฟอร์มนี้ยังเป็นอันดับหนึ่งที่คนไทยเลือกใช้เพื่อเจาะลึกในเนื้อหาที่เขาชอบ และขึ้นอยู่กับตัวเขาเองว่ากำลังอินกับเรื่องไหนเป็นพิเศษ

คนที่ชื่นชอบคอนเทนต์แบบเดียวกันเข้ามาปรากฏในพื้นที่เดียวกัน นอกจากนี้ ยังมีโอกาสที่จะทำให้เขาสนใจสร้างคอนเทนต์แบบที่เขาชื่นชอบลงแพลตฟอร์มอีกด้วย ตัวอย่างเช่น หลายคนอาจจะเห็นตัวออริจินอลเป็นการรีวิวรถ จากนั้นแฟนแฟนก็ทำคอนเทนต์ออกมาเป็นมีมในเวอร์ชันของตัวเอง รีวิวรถอื่น ๆ ต่าง ๆ มากมาย ทำให้โด่งดังยิ่งกว่าตัวออริจินัลเวอร์ชันอีก ตรงนี้เป็นอันหนึ่งที่ทำให้เห็นภาพเหมือนกันว่า “พลังของแฟนมีต” บางครั้งแล้วมันไม่ได้เปลี่ยนแค่ทำให้คอนเทนต์ออริจินอลลดลง แต่มันคือการข้ามชุมชน

และเมื่อพูดถึงมีม (Meme) ทำไมมีมถึงเป็นจุดเริ่มต้นของแฟนมีตที่หลายคนกำลังทำ เพราะว่าคนส่วนมากรู้สึกว่ามีมเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของเขาไปแล้ว 44% (สำรวจในช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมา) ระหว่างการผสมผสานของการเปลี่ยนแปลง Culture กับและการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีมันทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างครีเอเตอร์กับคนดูยิ่งแน่น และลึกซึ้งมากขึ้น

นอกจากนี้ แฟนมีตคอนเทนต์ ไม่ได้เป็นเพียงสิ่งเดียวที่ Super Fans สร้างออกมา แต่ Super Fans ยังพร้อมจ่ายเงินอีกด้วย ปีก่อน YouTube ก็จะพูดถึงไว้ว่าแพลตฟอร์ม YouTube มี super product เกิดขึ้น แล้วก็มี channel membership ต่าง ๆ มากมาย ที่แฟน Funding Mode เริ่มเติบโตอย่างชัดเจน ครีเอเตอร์ไม่จำเป็นต้องเอาใจทุกคน แต่สามารถทำคอนเทนต์ให้คนในชุมชนดูและประทับใจส่งผลให้เกิดการสนับสนุนได้

3) ความคิดสร้างสรรค์ บน YouTube Content

เมื่อ YouTube เป็นแพลตฟอร์มเดียวที่มีทุก Format อยู่รวมกันได้ จึงเริ่มเห็นการเติบโตของ Hybrid Creator การถ่ายทอดสด คลิปวิดีโอสั้น คลิปวิดีโอยาว ทุกอย่างสามารถอยู่รวมกันในแพลตฟอร์มเดียวกันได้ทั้งหมด อยู่ที่หน้าที่ของครีเอเตอร์ในการเลือกใช้ ว่าเราใช้ Format อะไร เพื่อตอบโจทย์หน้าที่แบบไหน ซึ่งแต่ละช่องจะมีหน้าที่ที่ตอบโจทย์ได้ไม่เหมือนกัน และนั่นคือเสน่ห์ของ YouTube เช่น ไลฟ์สตรีมปกติเราก็รู้อยู่แล้วว่า เป็นการถ่ายทอดสดเกาะติดกระแสต่าง ๆ 

  • ตัวอย่างเช่น ช่อง THE STANDARD คืนวันเลือกตั้ง ก็มีการถ่ายทอดผลการนับคะแนน Engagement ยอดวิวสูงมากมาก และสิ่งที่น่าสนใจคือ อัตราแชตหรือการแสดงความคิดเห็นมันสูงกว่าการทำอาชีพปกติทั่วไปถึง 20 เท่าตัว นี่ก็คือสิ่งหนึ่ง ในการเลือก Format ที่ชัดเจน และเป็นเสน่ห์ของช่อง 
  • ขณะเดียวกันช่อง SUTHICHAI live ถ่ายทอดสด คอนเทนต์ที่เป็นการสัมภาษณ์ เขาเลือกที่จะสัมภาษณ์นักการเมืองชื่อดัง คอนเทนต์ของเขาสามารถดึงความสนใจจากแฟนแฟนที่เป็นคนที่เด็ก หรือคนรุ่นใหม่มากขึ้นได้อย่างไม่น่าเชื่อ
  • ในส่วนของ Shot เอง ปีที่แล้วยูทูปก็ได้มีการแนะนำ Content แบบสั้นไป ปีนี้มันกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของคนแทบจะทุกคนไปแล้ว ซึ่ง Short ใน YouTube เองเติบโตขึ้นสูงขึ้นมากเท่าตัว ทุกวันนี้อยู่ที่เฉลี่ย 70,000 ล้านครั้งต่อวัน และในเอเชียเองวิวของ Short ต่อวันก็โตขึ้นมากถึง 130% เลยทีเดียว ส่งผลให้เห็นภาพชัดว่า Shot ไม่ได้มาเพื่อผลแทน แต่มันเข้ามามีส่วนช่วยที่จะเสริมซึ่งกันและกัน เพื่อให้ครีเอเตอร์มีส่วนเลือกในการตอบโจทย์คนดูที่หลากหลายมากขึ้น
  • ตัวอย่างช่องข่าวใน The standard สามารถทำการเมืองออกมาในรูปแบบเกมโชว์วาไรตี้ได้ ในขณะที่ช่องก้อย นัตตี้ ดรีม หรือว่า วูดดี้ก็สามารถทำคอนเทนต์เอนเตอร์เทนเมนต์ ทอล์ค โชว์ ให้ออกมีกลิ่นอายการเมืองได้อย่างลงตัว ทั้งหมดอยู่เพียงแค่ว่า เราจะจับเทรนด์อะไรที่ถูกต้อง ถูกเวลา ถูกประเภทคอนเทนต์

จากนี้เป็นหน้าที่ของ ครีเอเตอร์ ในการแครกให้ออกว่าเราจะใช้บทบาทอะไรสำหรับ Format แบบไหน เพราะทุกวันนี้คนไทยมีไม่ถึง 20% ที่เขาเลือกดูแค่ Format เดียว “ปัจจุบันคนแทบจะทุก ๆ คน ดูมากกว่าหนึ่ง format ในหนึ่งช่องแล้ว” เมื่อทุกคนเข้ามาในยูปทูปไม่ว่าจะหาความรู้ เติม Passion หรือมาหาความบันเทิง แต่หากนั่นคือ Passion Point คนดูพร้อมจะใช้เวลาของเขากับเราอย่างเต็มที่ โดยเฉพาะ Gen Z ที่มองว่า YouTube เป็นแพลตฟอร์มที่ดีที่สุดในการใช้เวลาอย่างคุ้มค่า ทำให้ YouTube เป็นแพลตฟอร์มอันดับหนึ่งที่พวกเขาเลือกในการรับชมทั้งหมด 

“เมื่อความต้องการของคนดูเปลี่ยนแปลงไป YouTube ไม่หยุดที่จะพัฒนาทุกอย่างโดยใช้ครีเอเตอร์และยูสเซอร์เป็นศูนย์กลาง เพราะเป็นวิธีที่จะทำให้ทุกคนกลับมาบนยูทูป ไม่ว่าจะกลับมาเพื่อใช้เวลาอย่างคุ้มค่า ตอบโจทย์ความต้องการที่หลากหลาย หรือหาข้อมูลที่เป็นประโยชน์พึ่งพาได้” 

อย่างไรก็ตาม ครีเอเตอร์สามารถหยิบเทรนด์ต่าง ๆ รวมถึง Format เทคโนโลยีที่มากมายไปปรับใช้ให้เข้ากับเอกลักษณ์ของช่องตนเองได้ และนี่คือความท้าทายใหม่ ๆ สำหรับครีเอเตอร์ประจำปี 2024 ที่จะต้องปรับตัว และเอาชนะใจคนดูให้ได้ตั้งแต่วันนี้สู่อนาคตอีกต่อไป

ข่าวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

 เอ้ก ดิจิทัล ปี 2023 รายได้ 2,200 ล้าน จากการเติบโต GenAI, Media Convergence และ MarTech

บลูบิค มองมาตรฐาน ISO/IEC 42001 ช่วยสร้างจริยธรรมและลดความเสี่ยงการประยุกต์ใช้ AI ของภาคธุรกิจ

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ