TH | EN
TH | EN
หน้าแรกBusinessVirtual Production หัวใจสำคัญยกระดับ Production ไทยสู่สากล

Virtual Production หัวใจสำคัญยกระดับ Production ไทยสู่สากล

บริษัท แอลจี อีเลคทรอนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด จับมือ ไทยรัฐ/ไทยรัฐทีวี Mo-Sys นำเสนอโซลูชันจอแสดงผล ภายใน The Palace Studio สตูดิโอสำหรับการผลิตและฝึกอบรมด้านการถ่ายทำเสมือนจริง เพื่อสร้างบุคลากรที่มีศักยภาพ และพร้อมที่จะพาสื่อไทยก้าวไปในนานาชาติ

The Palace Studio จะเปิดให้บริการในเดือนกันยายนนี้ โดยมีนวัตกรรมและโซลูชันสำหรับการถ่ายทำเสมือนจริงอย่างครบวงจรที่สุดในประเทศไทยและเป็นแห่งแรกในเอเชียแปซิฟิก พร้อมทั้งหลักสูตรฝึกอบรมและเวิร์คชอป

จีรภา คงสว่างวงศา รองประธานบริหารฝ่ายธุรกิจกลุ่มลูกค้าองค์กรและสินค้าไอที ภาคพื้นอินโดไชน่า บริษัท แอลจี อีเลคทรอนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า Virtual Production ตอบโจทย์การผลิตคอนเทนต์ โดย Virtual Production คือ การผสมกันระหว่างภาพ Live Footage ที่เห็น กับภาพ Digital ที่เห็นจากคอมพิวเตอร์แล้วนำมาผสมกัน เพื่อจะได้สร้างการตอบสนองแบบเรียลไทม์ จะกลายเป็นหนึ่งในหัวใจสำคัญที่จะเข้ามาทำให้ประเทศไทยสามารถผลักดันและแพร่หลายบุคลากรชาวไทยที่มีความรู้ความสามารถให้ก้าวขึ้นไปสู่ระดับโลก นอกจากนี้ ทางแอลจีได้เริ่มมีการต่อยอด Virtual Production content ที่กำลังจะมีมาให้หลายๆคนได้เห็นจากการผลิตโดยการใช้ Virtual Production

สมัยก่อนการถ่ายทำหนังหรือภาพยนตร์ จำเป็นต้องใช้ระยะเวลานานเป็นปี เนื่องจากต้องเดินทางไปตามสถานที่ต่าง ๆ เพื่อให้ได้ฉากที่ต้องการนำมาใช้เป็นส่วนประกอบของการถ่ายทำ แต่ ณ ตอนนี้ด้วยเทคโนโลยี Virtual Production จะสามารถช่วยลดระยะเวลาในการถ่ายทำได้เป็นอย่างมาก จากระยะเวลา 1 ปีอาจถูกลดเหลือเพียง 3 เดือน เรียกว่าเป็นการถ่ายทำจำลองภาพเสมือนจากทั่วทุกมุมโลกมาอยู่ในฉากหลังภายในสตูดิโอ หรือแม้แต่องค์ประกอบยิบย่อยอย่าง เช่น รถยนต์ในฉากตกหน้าผา จากเดิมที่ในภาพยนตร์บางเรื่องต้องทุ่มเงินในการซื้อรถยนต์ของจริงมาใช้ในการแสดง ทำให้เกิดความสิ้นเปลืองทางการเงิน ก็สามารถหันมาใช้จอ Ceiling เพื่อให้สามารถถ่ายได้ทุกการเคลื่อนไหว ทุกอิริยาบถ ผ่านการแสดงผลบนหน้าจอ

“คอนเทนต์ในปัจจุบันมีความก้าวล้ำและสมจริงมากขึ้น ซึ่งไม่เพียงเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคในการได้รับข่าวสารและความบันเทิงที่มีคุณภาพมากขึ้น แต่สามารถเป็น Soft Power เพื่อให้นานาชาติรู้จักประเทศไทยผ่านสื่อต่าง ๆ เช่น ภาพยนตร์ หรือซีรีส์ ได้อีกด้วย แอลจีจึงได้ร่วมมือกับไทยรัฐ กรุ๊ปและ Mo-Sys ในการลงทุนติดตั้งจอแสดงผลประสิทธิภาพสูงของเราในสตูดิโอแห่งนี้ เพื่อร่วมยกระดับอุตสาหกรรมสื่อของไทยให้ก้าวไปข้างหน้า เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะช่วยเสริมศักยภาพในการผลิตคอนเทนต์ และเป็นประโยชน์ต่อผู้พัฒนาเทคโนโลยี Extended Reality และช่วยสร้างบุคลากรที่มีทักษะด้านนี้ให้มากขึ้นในประเทศไทย”

จอแสดงผลของแอลจีที่ติดตั้งใน The Palace Studio ประกอบด้วยจอ LED Signage รุ่น LBAE026 และจอในตระกูล LFCG039 Digital Floor คิดเป็นพื้นที่รวม 48 ตร.ม. มูลค่ากว่า 40 ล้านบาท มีทั้งจอแสดงผล LED Signage และ Digital Signage ที่สามารถ customize ขนาดหน้าจอได้ และจอแบบโค้งและแบบราบ รวมถึงจอ LED ที่ติดตั้งบนพื้น ซึ่งจอเหล่านี้จำเป็นอย่างยิ่งในงานผลิตสื่อสมัยใหม่ที่ถ่ายทำโดยใช้ฉากแบบดิจิทัล ซึ่งต้องการจอคุณภาพสูง ทั้งจอโค้งขนาดใหญ่หรือจอบนเพดานและบนพื้น ทดแทนการถ่ายทำโดยใช้ Green screen แบบเดิมที่ต้องใช้การตัดต่อหลายขั้นตอน และให้ความสมจริงไม่เท่ากับการใช้ฉากแบบดิจิทัล

แอลจีคิดค้นและพัฒนาเทคโนโลยีจอแสดงผล LED สำหรับกลุ่มลูกค้า B2B อย่างต่อเนื่อง และทำงานร่วมกับพาร์ทเนอร์ เช่น Mo-Sys เพื่อให้จอแสดงผลรองรับการใช้งานผลิตสื่อได้อย่างราบรื่น จนได้รับการยอมรับจากผู้พัฒนาในอุตสาหกรรม อาทิ Epic Games ที่มีเครื่องมือทรงพลังอย่าง Unreal Engine

“แอลจีในประเทศไทยและภาคพื้นอินโด-ไชน่า เติบโตสูงถึงสองแสนกว่าเปอร์เซ็นต์ จากการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการสร้างแรงบันดาลใจเพื่อเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภค เช่น ศูนย์ตีกอล์ฟภาพเสมือน ที่นำ Animation เข้ามาใช้ผสมผสานกับการเล่น เพื่อสร้างประสบการณ์ใหม่ ๆ ให้กับผู้ใช้บริการ”

Mo-Sys คือผู้ให้บริการโซลูชันการผลิตเสมือนจริงชั้นนำของโลก และเป็นบริษัทแรกที่ให้การฝึกอบรม Virtual Production แบบลงมือปฏิบัติจริง โดยที่ผ่านมามีผู้เข้ารับการฝึกอบรมจากบริษัทชั้นนำในอุตสาหกรรมโทรทัศน์และสื่อทั่วโลกให้ความไว้วางใจ ปัจจุบัน Mo-Sys มีศูนย์ฝึกอบรม 2 แห่งในกรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร และลอสแอนเจลิส สหรัฐอเมริกา

ยุพาพักตร์ ตะวันนา รองประธานกลุ่มประเทศเอเชีย-แปซิฟิก Mo-Sys กล่าวว่า ระบบ Virtual Studio ช่วยในการลดภาระค่าใช้จ่ายได้เป็นจำนวนมาก เนื่องจากผู้ผลิตสามารถถ่ายทำภาพยนตร์ได้ภายในสตูดิโอ ไม่ต้องเดินทางไปยังสถานที่จริง เพราะการผลิตแบบ Virtual Production ทำให้สามารถควบคุมและปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมภายในสตูดิโอได้ และนอกจากการปรับเปลี่ยนสถานที่บนฉากการถ่ายทำ ยังสามารถกำหนดสีและแสง เพื่อให้สามารถสร้างบรรยากาศและกำหนดช่วงเวลาในฉากที่กำลังถ่ายทำอยู่ได้ เช่น พระอาทิตย์ตกดิน รวมถึงการเพิ่ม Object เข้าไปในฉากเพื่อให้ภาพของหนังออกมาสมจริงมากยิ่งขึ้น

ในช่วงสถานการณ์ Covid-19 ส่งผลให้โลกเกิดการเปลี่ยนแปลง ผู้คนต้องเก็บตัวอยู่ในบ้านมากขึ้น จึงทำให้มีปริมาณการบริโภคคอนเทนต์ที่เยอะขึ้นและมีช่องทางในการดูคอนเทนต์เพิ่มมากขึ้น การผลิตแบบ Virtual Production จึงส่งผลให้ผู้ผลิตเข้ามาให้ความสนใจในการผลิตมากขึ้น และกลายเป็นว่าภาพยนตร์หนึ่งเรื่องไม่สามารถใช้เวลาเป็นปีในการผลิตได้ ต้องลดระยะเวลาการผลิตให้เหลือเพียงไม่กี่เดือน จึงจำเป็นต้องหาเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการผลิต และในการนำเทคโนโลยีมาใช้ ผู้ผลิตจะต้องมีความรู้และความเข้าใจในเรื่องของเทคโนโลยี การเปิด Academy ก็จะสามารถเข้ามาช่วยให้ความรู้และความเข้าใจในส่วนนี้ได้

Mo-Sys คือผู้ให้บริการโซลูชันการผลิตเสมือนจริงและเป็นบริษัทแรกที่ให้การฝึกอบรม Virtual Production แบบลงมือปฏิบัติจริง โดยที่ผ่านมามีผู้เข้ารับการฝึกอบรมจากบริษัทชั้นนำในอุตสาหกรรมโทรทัศน์และสื่อทั่วโลกให้ความไว้วางใจ ปัจจุบัน Mo-Sys มีศูนย์ฝึกอบรม 2 แห่งในกรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร และลอสแอนเจลิส สหรัฐอเมริกา

ไมเคิล เจสเลอร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Mo-Sys กล่าวว่า Mo-Sys ได้ขยายเข้ามายังภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเป็นครั้งแรกผ่านการร่วมกับกลุ่มบริษัทไทยรัฐ ไทยรัฐทีวี และกลุ่มธุรกิจโซลูชันสำหรับองค์กรของแอลจี พร้อมด้วยการสนับสนุนของ Epic Games เพื่อนำเสนอหลักสูตรฝึกอบรมด้านการผลิตสื่อเสมือนจริงของเราที่เป็นหลักสูตรระดับโลก โดยหวังว่าจะช่วยสร้างบุคลากรที่มีทักษะด้านนี้ซึ่งกำลังเป็นที่ต้องการอย่างมากในตลาด ทั้งในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียแปซิกฟิก

เปิดศูนย์เรียนรู้ สร้างบุคลากรคุณภาพ

วัชร วัชรพล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารธุรกิจ บริษัท ทริปเปิล วี บรอดคาสท์ จำกัด (ไทยรัฐทีวี) และ บริษัท เทรนด์ วี จี 3 จำกัด (ไทยรัฐออนไลน์)  กล่าวว่า เทคโนโลยี Virtual Production เข้ามามีบทบาทและมีความสำคัญมากขึ้นสำหรับบริษัทสื่อทุกแห่งทั่วโลก เนื่องจากสามารถลดระยะเวลาและต้นทุนที่ใช้ในการผลิต โดยไม่ลดทอนคุณภาพของคอนเทนต์ การร่วมมือกับพันธมิตรในการเปิดตัว The Palace Studio เพื่อตอบโจทย์การผลิตคอนเทนต์ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้นและรวดเร็วขึ้น ตามความต้องการของผู้บริโภคในปัจจุบันที่ต้องการเข้าถึงคอนเทนต์จากทุกที่ทุกเวลา

จีรภา กล่าวว่า The Palace Studio นั้นเป็นศูนย์ฝึกอบรมสำหรับบุคคลากรทางด้าน Virtual Production แห่งแรกในเอเชีย-แปซิฟิก เพื่อให้ประเทศไทยกลายเป็นศูนย์กลางการผลิตคอนเทนต์ ซึ่งทางแอลจีเชื่อว่าบุคลากรในประเทศไทยมีความสามารถไม่แพ้ชาติอื่นเช่นกัน เนื่องจากในภาพยนตร์ระดับฮอลลีวูดที่ผ่านมา ก็มีบุคลากรชาวไทยที่ได้เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของการผลิตคอนเทนต์

ตอนนี้ก็จะสามารถเห็นได้ว่ามีหลายที่ที่มีการแสดงสื่อคอนเทนต์บนจอ OLED (Transparent OLED) ของทางแอลจี เรียกได้ว่าสิ่งที่ทำให้ในจอแสดงผลนั้นแตกต่างจากจออื่น ๆ ก็คือคอนเทนต์ที่ถูกแสดงขึ้นบนหน้าจอ ถ้าหากประเทศไทยมีบุคลากรที่สามารถผลิตคอนเทนต์ให้ขึ้นแสดงบนจอแสดงผลต่าง ๆ ได้ ก็จะเป็นส่วนหนึ่งของการแสดงให้เห็นว่าประเทศไทยไม่ได้น้อยหน้าไปกว่านานาชาติ การเปิด Academy จึงมีส่วนในการส่งเสริมคนที่มีความสามารถในการทำ Production แต่ไม่มีอุปกรณ์ เพื่อช่วยเพิ่มโอกาสในการผลิตผลงานให้กับบุคคลเหล่านั้น

วัชร กล่าวว่า หากประเทศไทยมีเทคโนโลยีและศูนย์ฝึกอบรมงานด้าน Virtual Production ที่ทันสมัยเทียบเท่าระดับนานาชาติ จะเป็นกุญแจสำคัญที่ช่วยผลักดันอุตสาหกรรมนี้ และสร้างบุคลากรที่มีความรู้และศักยภาพทัดเทียมกับตลาดโลก และสามารถสร้างรายได้ให้กับประเทศไทยอย่างมหาศาล โดยการดึงดูดผู้ผลิตคอนเทนต์จากต่างประเทศให้เข้ามาถ่ายทำและใช้เทคโนโลยีสื่อที่ทันสมัยในไทย อีกทั้งการผลิตรายการ ภาพยนตร์ หรือซีรีส์ของไทยก็จะมีประสิทธิภาพดีขึ้น และเป็นที่ยอมรับในการส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศ”

ยุพาพักตร์ กล่าวว่า การผลิต Virtual Production มีความท้าทายบางอย่างเข้ามาทำให้ต้องเปิด Academy เนื่องจากเรื่องของเทคนิคและศิลปะในการผลิตไม่ใช่เรื่องง่าย จากที่เห็นการใช้ Green Screen ในการผลิตข่าวหรือผลิตรายการ จะเห็นได้ว่าภาพเหล่านั้นสวยงามแต่ไม่สมจริง แล้วจะต้องทำอย่างไรจึงจะทำให้ Virtual เหมือนจริงขึ้นมาได้

“ปัญหานี้เป็นความท้าทายและเป็นเหตุผลว่าทำไมถึงจำเป็นที่จะต้องมี Academy เราต้องสอนองค์ประกอบทุกอย่างในการผลิต ไม่ใช่เพียงแค่อย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องมีการร่วมมือกันเพื่อทำ Academy ในครั้งนี้ให้เกิดขึ้นมา เพื่อเตรียมความพร้อมในการสร้างบุคลากรที่มีความรู้และมีศักยภาพทัดเทียมกับตลาดโลก เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมสื่อของไทย”

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ