TH | EN
TH | EN
หน้าแรกTechnologyส่อง 9 บทเรียนลาออกของ CEO ระดับโลก การจากแบบไม่สวย แถมด้วยคดีฟ้องร้อง

ส่อง 9 บทเรียนลาออกของ CEO ระดับโลก การจากแบบไม่สวย แถมด้วยคดีฟ้องร้อง

การลาออก ถือเป็นเงื่อนไขสามัญสำหรับชีวิตมนุษย์เงินเดือนที่ต้องเผชิญและตัดสินใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวันที่หน้าที่การงานที่ทำอยู่ไม่อาจตอบโจทย์ได้อีกต่อไป ซึ่งรวมถึงเหล่าผู้บริหารระดับสูงที่รับเงินเดือนมาบริหารจัดการองค์การให้เติบโต โกยรายได้ และสร้างกำไรให้งอกเงย

ทั้งนี้ ด้วยตำแหน่งหน้าที่การงาน ผู้บริหารส่วนใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้บริหารของบริษัทข้ามชาติยักษ์ใหญ่ชั้นนำ มักจะเป็นหน้าเป็นตาขององค์กร และบ่อยครั้งที่ภาพลักษณ์หรือความเคลื่อนไหวของผู้บริหารเหล่านี้สามารถสร้างความน่าเชื่อถือให้กับองค์กรนั้นvๆ ได้ 

ดังนั้น จึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจที่การลาออกของผู้บริหารองค์กรใหญ่ ๆ จะได้รับความสนใจและการจับตามอง ซึ่งการลาออกส่วนมากก็เป็นไปตามวาระสัญญา หรือเกิดจากความต้องการที่อิ่มตัวแล้วของซีอีโอเองไม่ต่างจากบรรดาพนักงานกินเงินเดือนทั่วไป 

แต่หลายครั้งก็มีสาเหตุมาจากการเข้าไปพัวพันกรณีอื้อฉาวซึ่งทำให้การจากลาที่ตามมาจบแบบไม่ค่อยสวยสักเท่าไรนัก The Story Thailand จึงขอรวบรวม 9 กรณีลาออกของบรรดาซีอีโอชั้นนำที่จบไม่สวย ซึ่งสามารถใช้เป็นบทเรียนได้

Talent แบบไหน ที่องค์กรให้ความสำคัญ

“Quiet Quitter” เมื่อพนักงานไม่ทำงานถวายหัว ใครควรกังวล

1. ลาออกเพราะความจริง 

กรณีดังกล่าวเกิดขึ้นกับ Juul บริษัทบุหรี่ไฟฟ้ายอดนิยมในสหรัฐฯ ซึ่งได้รับเสียงวิพากษ์วิจารณ์จากหลายฝ่ายเพราะบริษัทดังกล่าวจงใจทำการตลาดโดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นเยาวชนและวัยรุ่น อีกทั้งยังมีข่าวอื้อฉาวกรณีจงใจขายผลิตภัณฑ์ปนเปื้อนในกลิ่นมินต์และปฎิเสธที่จะเรียกคืน งานนี้จากการตรวจสอบข้อเท็จจริงอย่างเข้มงวดทั่วทั้งอุตสาหกรรมบุหรี่ไฟฟ้า ทำให้ในที่สุด Kevin Burns ซีอีโอของ Juul ต้องแสดงความรับผิดชอบก้าวลงจากตำแหน่ง 

2. ลาออกเพราะมือลั่น

เป็นที่รู้กันดีทั่วทั้งวงการว่า Elon Musk ผู้ก่อตั้งและซีอีโอรถยนต์ไฟฟ้าชั้นนำของโลกอย่าง เทสลา ถือเป็นนักทวิตตัวยง หลังใช้ช่องทางทวิเตอร์ในการสื่อสารแบ่งปันข้อมูลอัปเดทต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งการเล่นมุขตลก สร้างกระแสฮือฮา 

อย่างไรก็ตาม Musk มีอันต้องเผชิญกับข้อกล่าวหาจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัยพ์ของสหรัฐฯ เนื่องจากทวิตเตอร์ของเจ้าตัวทำให้นักลงทุนและนักวิเคราะห์เกิดความเข้าใจในทางที่ผิดซึ่งมีผลต่อราคาหุ้นในตลาด 

งานนี้ Musk จำนนต่อหลักฐานต่อความผิดพลาดจากการโพสต์ทวิตเตอร์ดังกล่าว โดย Musk ยอมจ่ายค่าปรับ 20 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ก่อนที่จะลาออกจากตำแหน่งประธานคณะกรรมการของบริษัทหลังจากนั้นเพียงไม่นาน 

3. ลาออกเพราะไม่ยอมปฎิบัติตามนโยบายของบริษัท

Steve Easterbrook อดีตซีอีโอของ McDonald เครือฟาสฟูดส์ระดับโลกโดยฟ้องโดยบริษัท เนื่องจากเจ้าตัวละเมิดนโยบายการปฏิบัติส่วนบุคคล หลังจากการสืบสวนพบว่า Easterbrook มีความสัมพันธ์ส่วนตัวกับพนักงาน 3 คน โดยหนึ่งในนั้นเจ้าตัวให้ความสัมพันธ์ส่วนตัวอนุญาตให้ซื้อหุ้นของ McDonald ได้ 

นอกจากนี้ Easterbrook ยังจงใจโกหกเพื่อปกปิดความสัมพันธ์ที่เกิดขึ้น และพยายามที่จะลบหลักฐานใด ๆ ที่เกิดขึ้น ซึ่งกรณีดังกล่าวทำให้บรรดาผู้นำทั้งหลายถูกตรวจสอบเกี่ยวกับพฤติกรรมที่เหมาะสมอย่างเข้มงวด โดยครอบคลุมถึงความซื่อสัตย์และความโปร่งใส ที่ต้องชี้แจงและตรวจสอบได้ 

4. ลาออกเพราะสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่เป็นพิษ 

Steph Korey อดีตซีอีโอและผู้ร่วมก่อตั้ง Away กระเป๋าเดินทางสมัยใหม่ที่ได้รับความนิยมเพราะสามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้โดยตรง จำต้องก้าวลงจากตำแหน่งหลังระบบแชทภายในองค์กรที่่รั่วไหลออกมาภายนอกแสดงให้เห็นว่า Korey เป็นซีอีโอที่ toxc คือสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่เป็นพิษ และทำให้พนักงานเข็ดขยาดเพียงใด

แม้ต่อมาภายหลังเจ้าตัวจะยอมรับผิดและขอกลับมาทำงานแก้ตัว แต่ท้ายที่สุดด้วยกระแสต่อต้านภายในจากพนักงานภายในกดดันให้ Koreay ยอมลงจากตำแหน่งในปี 2020 และให้ Stuart Haselden ผู้ร่วมก่อตั้งอีกคนรับตำแหน่งซีอีโอ

5. ลาออกเพราะไม่ยึดมั่นในค่านิยมหลักขององค์กร 

The Wing เป็น co-working space สำหรับผู้หญิงโดยเฉพาะ โดยมีสำนักงานอยู่ในเมืองใหญ่ๆ เช่น NYC, San Francisco, L.A., Chicago และอื่น ๆ โดย Audrey Gelman ผู้ร่วมก่อตั้ง และซีอีโอ กล่าวว่า ตั้งใจให้ The Wing เป็น “ยูโทเปีย” สำหรับผู้หญิง

อย่างไรก็ตาม The Wing ภายใต้การนำของ Gelman กลับได้รับเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักเพราะเลือกปฎิบัติต่อผู้หญิงผิวสี กดดันให้ Gelman ต้องแสดงความรับผิดชอบด้วยการลาออกจากตำแหน่ง 

6. ลาออกเพราะขาดการตัดสินใจอย่างโปร่งใส 

Aramark Corporation  ผู้ให้บริการด้านอาหาร สิ่งอำนวยความสะดวก และเครื่องแบบ เผชิญกับการฟ้องร้องของพนักงาน เมื่อบริษัทไม่จ่ายโบนัสตามผลงานให้กับผู้จัดการหลายคน ผู้จัดการแจ้งข้อกังวลว่าพวกเขาไม่ทราบถึงการเปลี่ยนแปลง ซึ่งบางส่วนสูญเสียค่าตอบแทนประจำปีมากถึง 20% ของที่คาดไว้ 

ปัญหาดังกล่าวส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการตัดสินใจของ Eric Foss อดีตซีอีโอของบริษัทที่เป็นไปอย่างไม่โปร่งใส แม้ว่าซีอีโอจะลาออกไปแล้ว แต่งานนี้ ทาง Aramark ก็ต้องเผชิญหน้ากับการฟ้องร้องจากพนักงานก่อนที่จะสามารถบรรลุข้อตกลงร่วมกัน โดยการที่บริษัทยินยอมจ่ายเงินชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้นซึ่งคาดว่าจะเป็นประโยชน์ต่อพนักงานปัจจุบันและอดีตพนักงานกว่า 4,000 คน

7. ลาออกเพราะไม่เคารพสิทธิของพนักงาน 

Melanie Whelan อดีตซีอีโอของ SoulCycle เผชิญกับการร้องเรียนทางกฎหมาย เนื่องจากเจ้าตัวดันแสดงความคิดเห็นที่ไม่เหมาะสมกับการลาเพื่อเลี้ยงดูบุตรของพนักงาน ซึ่งเป็นการละเมิดสิทธิอันชอบธรรม กีดกันการตั้งครรภ์ และขวางโอกาสการจ้างงาน แถมยังมีข่าวว่า พนักงานรายหนึ่งถูกลดตำแหน่หลังแจ้งเรื่องการตั้งครรภ์และถูกไล่ออกหลังจากคลอดลูกได้ 32 วัน

งานนี้ เกิดกระแสกดดันทางสังคม ทำให้ SoulCycle ต้องเจรจาให้ Whelan ยื่นจดหมายลาออก เนื่องจากกรณีอื้อฉาวดังกล่าวกระทบต่อภาพลักษณ์ ทำให้ยอดสมาชิกของบริษัทลดจำนวนลง 

8. ลาออกเพราะทำงานไม่รอบคอบ 

Care.com เป็นแหล่งข้อมูลออนไลน์ที่ช่วยให้ครอบครัวค้นหาและเข้าถึงการจัดการบริการการดูแล ซึ่งผู้สื่อข่าวของวอลล์สตรีท เจอร์นัลพบว่า ดันมีผู้ดูแลของ Care.com มีรายชื่ออยู่ในประวัติอาชญกรรมของตำรวจ 

งานนี้ แม้ไม่มีการฟ้องร้องอย่างเป็นทางการ และทาง Care.com ก็จัดการลบรายชื่อที่ไม่ได้รับการยืนยันประวัติออกหลายหมื่นราย แถมตามด้วยการออกนโยบายความปลอดภัยใหม่ แต่ความผิดพลาดจากการเลินเล่อดังกล่าวทำให้  Sheila Lirio Marcelo ซีอีโอของ Care.com ในเวลานั้นต้องลาออกเพื่อแสดงความรับผิดชอบ 

9. ลาออกเพราะไม่ให้ความสำคัญกับความเท่าเทียม 

บอร์ดบริหารของ Qualcomm โดนฟ้องร้องดำเนินคดีจากบรรดาผู้ถือหุ้น เนื่องจากบอร์ดของบริษัทไม่ได้ให้ความสำคัญกับความหลากหลายและความเท่าเทียม โดยมีการเลือกปฎิบัติกับพนักงานเชื้อสายแอฟริกันอเมริกัน ซึ่งขัดต่อหลักการของบริษัทที่พยายามส่งเสริมความหลากหลาย 

รายงานระบุว่า บอร์ดผู้บริหารบางรายจำเป็นต้องลาออกจากตำแหน่งเพื่อลดทอนกระแสกดดัน 

ทั้งนี้ ผู้เชี่ยวชาญระบุว่า ทั้ง 9 บทเรียนที่ยกมา แสดงให้เห็นว่าการเป็นซีอีโอนั้น มีสิ่งที่ต้องทำและแบกรับมากกว่า “ตำแหน่งงาน” ที่ระบุไว้ในเอกสารการจ้างงาน ดังนั้นแม้จะมีผลตอบแทน สวัสดิการและสิทธิประโยชน์ที่ชวนให้คนทั่วไปตาลุกวาว  แต่ซีอีโอจำนวนไม่น้อยก็ยินดียื่นหนังสือลาออกด้วยตนเองโดย 70% จากการสำรวจซีอีโอของ Deloitte เมื่อช่วงปี 2022 ยอมรับว่าลาออกเพราะหน้าที่การงานเครียดและกระทบต่อสุขภาวะทางอารมณ์ของตนเอง  

ส่วนสำหรับใครที่คิดจะเป็นผู้นำก็ให้พึงตระหนักว่า ทักษะที่เก่งกาจและความสามารถที่ยอดเยี่ยม ไม่ใช่ตัวการันตีความสำเร็จในฐานะ ซีอีโอ เสมอไป 

ที่มา: Embroker, advisory.com, Business Insider

ลดคนให้พนักงานยังรู้สึกดี Layoff with Care

“คนปัจจุบัน” …. เป้าหมายที่เป็นไปได้ สำหรับ “การพัฒนาพนักงาน”

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ