TH | EN
TH | EN
หน้าแรกBusiness“เราเปลี่ยนสถานการณ์โลกไม่ได้ แต่เราเปลี่ยนตัวเองได้” มองแนวคิดผู้นำเข้า-ส่งออกไทย ขยายธุรกิจสู่ระดับโลก

“เราเปลี่ยนสถานการณ์โลกไม่ได้ แต่เราเปลี่ยนตัวเองได้” มองแนวคิดผู้นำเข้า-ส่งออกไทย ขยายธุรกิจสู่ระดับโลก

ท่ามกลางปัจจัยภายนอก ที่มีการเปลี่ยนแปลงไม่เว้นแต่ละวัน สถานการณ์การค้าระหว่างประเทศในปี 2024 ยังมีความผันผวน ไม่แน่นอน ผู้ประกอบการไทยควรวางกลยุทธ์รับมืออย่างไร?

4 หน่วยงานสำคัญของประเทศไทย ได้แก่ หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย (TCC), สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (FTI), สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (TNSC), สมาคมเจ้าของและตัวแทนเรือกรุงเทพ (BSAA) จึงร่วมกับทางบริษัท ZUPPORTS ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มบริหารงานจัดซื้อและขนส่งระหว่างประเทศ จัดงานเสวนา Navigating Global Trade and Logistics 2024

ภายในงาน อัดแน่นด้วยเนื้อหาทั้ง 3 sessions พร้อมการนำเสนอเทคโนโลยีใหม่ ๆ จากผู้ให้บริการขนส่งระหว่างประเทศ, ผู้ให้บริการทางการเงิน, และผู้ให้บริการด้านเทคโนโลยี ที่จะช่วยยกระดับธุรกิจ ให้ก้าวขึ้นสู่ระดับโลก อาทิเช่น SCB, World Air Logistics, LEO Global Logistics, SCGJWD, ZTRUS, EximRadars, FOCUSONE ERP และ ZUPPORTS

และนี่คือ บทสรุปประเด็นสำคัญ ที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการเตรียมการรับมือในปี 2024

“มองโลก” Navigating Global Trade Lanes: USA, China, India, Middle East

“มองโลก” Navigating Global Trade Lanes: USA, China, India, Middle East

ฉายนภา สมบูรณ์ Export Coordinate Section Manager บริษัท อายิโนะโมะโต๊ะ (ประเทศไทย) จำกัด พูดถึงภาพรวมการนำเข้า-ส่งออก สินค้าในอุตสาหกรรมอาหาร ในรูปแบบ B2B ที่ถือว่า ค่อนข้างมีความซับซ้อนในการบริหารจัดการงานขนส่ง โดยเฉพาะในเรื่องของตัวผลิตภัณฑ์ รวมถึง ระเบียบของประเทศคู่ค้าปลายทาง ซึ่งการศึกษาเรื่องของกฎ ระเบียบของแต่ละประเทศคู่ค้า เป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างมาก พร้อมทั้ง ยังมีข้อแนะนำถึงผู้ประกอบการว่า ในทุกอุปสรรคของการทำธุรกิจ มักมีโอกาสซ่อนอยู่เสมอ และการปรับตัว การเตรียมความพร้อม รวมถึง การติดตามข้อมูลในทุกสถานการณ์ เป็นช่องทางที่ทำให้ผู้ประกอบการมองเห็นโอกาส และลดปัญหาที่ตามมา

สุภกิจ วรรณบูรณ์ Construction business division manager บริษัท เอสซีจี อินเตอร์เนชั่นแนล คอร์ปอเรชั่น พูดถึงภาพรวมการค้าของสหรัฐอเมริกาในปัจจุบัน ซึ่งเป็นช่วงเวลาของสินค้าในกลุ่มผู้สูงอายุและเพื่อสุขภาพ รวมถึง สินค้าที่ได้รับผลกระทบจากภาพรวมเศรษฐกิจ อย่างในกลุ่มอุตสาหกรรมวัสดุ นอกจากนี้ มีการพูดถึงการเลือกตั้งประธานาธิบดีของประเทศสหรัฐอเมริกาในปี 2024 ซึ่งนโยบายของผู้นำคนใหม่ ที่จะเป็นตัวแปรสำคัญ ที่จะกำหนดทิศทางนโยบายทางการค้าโลก และปิดท้ายด้วย ข้อแนะนำในเรื่องของนโยบายที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมสำหรับสินค้าที่จะนำเข้าสหรัฐอเมริกา ซึ่งผู้ประกอบการในทุกภาคอุตสาหกรรม ต้องให้ความสนใจ

สิริวุฒิ สิริภูวโรจน์ Operations Technology and Solutions Manager บริษัท โพเมโล แฟชั่น จำกัด พูดถึง ความซับซ้อนในการบริหารจัดการด้านโลจิสติกส์ สำหรับสินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมเสื้อผ้าและแฟชั่น ในรูปแบบ B2B และ B2C ซึ่งต้องรวดเร็วและมีความแม่นยำ ผิดพลาดให้น้อยที่สุด เนื่องจากต้องให้ทันกับการวางจำหน่ายตามฤดูกาลในแต่ละประเทศทั่วโลก ซึ่งการแข่งขันในโลกธุรกิจปัจจุบัน ยิ่งผู้บริโภคหรือลูกค้า ต้องการบริการที่อำนวยความสะดวกและรวดเร็วมากเพียงใด การบริหารจัดการระบบงานในส่วนงานสนับสนุน ยิ่งต้องมีประสิทธิภาพสูงที่สุด

“แฟชันมือสอง” เทรนด์ที่ทั่วโลกต้องจับตามอง ‘สไตล์ – ประหยัด – ช่วยลดขยะ’

เกตติวิทย์ สิทธิสุนทรวงศ์ Chief Executive Officer บริษัท ลีโอ โกลบอล โลจิสติกส์ จำกัด (มหาชน)ให้ความเห็นว่า ปี 2023 ที่ผ่านมา ถือว่าเป็นอีกปีที่ค่อนข้างท้าทายผู้ประกอบการนำเข้า-ส่งออก เนื่องจากภาพรวมตลาดโลกที่อยู่ในช่วงชะลอตัว และด้วยเราเปลี่ยนสถานการณ์โลกไม่ได้ แต่เรา “เปลี่ยนตัวเองได้” ดังนั้น การโฟกัสหรือมองหาเส้นทางการค้าใหม่ จึงเป็นเรื่องสำคัญสำหรับผู้ใหบริการรับขนส่งสินค้า ซึ่ง ตลาดในเส้นทางขนส่งไปยังประเทศที่ไม่ติดทะเล หรือ Landlock Country จึงเป็นหนึ่งในเส้นทางที่ยังสามารถต่อยอดทางธุรกิจได้ โดยเฉพาะ ในรูปแบบการขนส่งทางราง ซึ่งในปัจจุบัน มีเส้นทางรางจากประเทศไทยไปได้ไกลถึงยุโรป ผ่านทางประเทศลาวและประเทศจีน หากแต่ ต้องบริหารจัดการโดยผู้ให้บริการที่มีความชำนาญ และมีระบบ Agent Network หรือตัวแทนที่กว้างขวางและคลอบคลุม เพื่อให้ทุกการขนส่งสินค้าราบรื่นแบบไร้รอยต่อ

กรุงไทยแนะ จับตาภาคโลจิสติกส์ปรับตัวลดก๊าซเรือนกระจก

“มองเรา” Navigating Thailand Exports & Imports, International Logistics, and Trade Policy in 2024

“มองเรา” Navigating Thailand Exports & Imports, International Logistics, and Trade Policy in 2024

ดร. วิศิษฐ์ ลิ้มลือชา รองประธานกรรมการ หอการค้าไทย ให้ความเห็นถึงภาคการค้าของโลกว่า ยังมีปัจจัยที่ถือว่าเป็นความท้าทายอีกมาก อย่าง ปัจจัยด้านความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์, ปัจจัยสถานการณ์ภาพรวมเศรษฐกิจโลกที่ยังชะลอตัว รวมถึง ปัจจัยภาวะเงินเฟ้อของทั่วโลกและ ปัจจัยความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศทั่วโลก รวมถึง ยังมีการให้ความเห็น ถึงแนวโน้มทางเศรษฐกิจ ในปี 2024 ว่า ภาพรวมของภูมิภาคอเมริกาและภูมิภาคยุโรป รวมถึง ประเทศจีน น่าจะยังอยู่ในภาวะที่ชะลอตัว เนื่องจากภาวะทางการเงินภายในแต่ละภูมิภาคที่ยังตึงตัวขณะที่ ภาพรวมของประเทศอื่นในภูมิเอเชีย ถือว่ามีสัญญาณที่ดี มีแนวโน้มการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องในปีหน้า  รวมถึง ประเทศในกลุ่มเอเชียใต้ อย่าง ประเทศอินเดีย และกลุ่มประเทศในตะวันออกกลาง อย่าง ซาอุดิอาระเบีย ยังมีแนวโน้มทิศทางการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ค่อนข้างสูง ซึ่งถือว่าเป็นโอกาสสำคัญและเป็นปัจจัยสนับสนุน ภาคการส่งออกของไทย ในระยะยาวได้

สุริยนต์ ตู้จินดา รองประธานสายงานอาเซียนและโลจิสติกส์ และประธานคณะอนุกรรมการค้าชายแดน พูดถึง ภาพรวมการค้าชายแดนและการค้าข้ามแดน ซึ่งถือเป็นหนึ่งในช่องทาง ที่ช่วยผู้ประกอบการภาคธุรกิจของไทยเราอย่างมาก แม้ว่า ภาพรวมในช่วง 10 เดือนแรกของ ปี 2566 จะติดลบ หากแต่มูลค่าสูงถึง 1.4 ล้านล้านบาท รวมถึง มีการชี้ให้เห็นถึงปัญหาต่างๆที่เป็นอุปสรรคของผู้ประกอบการ สำหรับภาคการค้าชายแดนของไทย อย่าง ปัญหาในด้านมาตรฐานการจัดเก็บภาษี และมาตรฐานระเบียบศุลกากรของประเทศเพื่อนบ้าน รวมถึง ปัญหาความไม่สงบภายในประเทศเพื่อนบ้าน และปัญหาภาวะทางการเงินของเพื่อนบ้าน ทั้งภาวะเงินเฟ้อและช่องทางการชำระค่าสินค้า ซึ่งล้วนส่งผลต่อความคล่องตัวทางการค้าชายแดนของผู้ประกอบการในบ้านเรา

ดร.ชัยชาญ เจริญสุข ประธาน สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย พูดถึง ภาพรวมตลาดการส่งออกของบ้านเราในปีที่ผ่านมา สินค้าหลายตัว มีการขยายตลาดเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในเส้นทางส่งออกไปยังภูมิภาคเอเชียใต้และกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง เนื่องจาก ตลาดหลักไม่สามารถเชื่อถือได้อีกแล้ว อย่างประเทศจีน รวมถึงประเทศในภูมิภาคยุโรป ยังอยู่ในภาวะฟุบตัว มองว่าภาพรวมในปีหน้า ยังคงมีตัวแปรต่างๆ ที่เป็นปัจจัยต่อภาคการส่งของไทย อย่างเรื่องของต้นทุนพลังงาน หรือค่าแรง ดังนั้น ผู้ประกอบการจึงควรที่จะเน้นการรักษาตลาดเดิม เสริมตลาดใหม่ รวมถึง ต้องรับมือปรับตัว ในเรื่องของเทคโนโลยีต่างๆ และการเพิ่มศักยภาพของบุคลากรในองค์กรของตน ให้ทันความเปลี่ยนแปลง

ทั้งนี้ ดร.ชัยชาญ ยังได้ย้ำถึง ข้อแนะนำถึงผู้ประกอบการในไทยบ้านเรา คือ เราไม่สามารถที่จะแก้ไข หรือเปลี่ยนแปลงปัจจัยภายนอก ซึ่งล้วนมีความเปลี่ยนแปลงรวดเร็วอยู่เสมอได้ ดังนั้น สิ่งที่ผู้ประกอบการ ต้องปรับตัว นั่นคือ การปรับตัวเองให้เร็วในภาคของการผลิต โดยนำเอาเทคโนโลยี นำมาประยุกต์ใช้ ในภาคการผลิตส่งออก โดยการเปลี่ยนทัศนคติให้เป็น “SMART People” เพื่อให้ก้าวกระโดดทันไปกับโลกเทคโนโลยี

พิเศษ ฤทธาภิรมย์ ประธานกิตติมศักดิ์ สมาคมเจ้าของและตัวเเทนเรือกรุงเทพฯ พูดถึง ภาพรวมอุตสาหกรรมการขนส่งสินค้าทางเรือ ว่าในปัจจุบันมีการพัฒนาในเรื่องของกองเรือ เพื่อให้ทันกับความต้องการของโลก ทั้งในเรื่องนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมและในเรื่องของเส้นทางค้าต่างๆ โดยวางบนพื้นฐานของทิศทางการเคลื่อนย้ายสินค้า ทิศทางการค้าทางเรือที่เปลี่ยนไป อีกทั้ง ยังมีการพูดถึงภาพของพื้นที่ระวางขนส่งในทะเล ที่กำลังจะเข้าสู่ภาวะ Super Over Supply รวมถึง ภาพภูมิทัศน์ของการขนส่งทางเรือที่จะเปลี่ยนไป โดยผู้ให้บริการรับขนส่ง เริ่มมีการปรับตัวที่หลากหลายขึ้น ไม่เฉพาะแค่ในภาคของการขนส่งทางเรือเท่านั้น แต่จะมีการเชื่อมโยง เน้นการให้บริการรับขนส่งที่หลากหลายรูปแบบมากขึ้น เพื่อผสานให้เป็นเนื้อเดียวกัน ทั้งภาคทะเล,ทางอากาศ รวมถึง ทางถนนและทางราง

Navigating Supply Chain Digitization for World Class Business

ธารณา วิมานอมรแมน Procurement and Logistic Manager บริษัท The Siam Refractory Industry Co.,Ltd. (SRIC) มีการพูดถึง ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นและประโยชน์ที่ได้รับ ภายหลังในการนำเอาดิจิทัลเข้ามาทำการปรับใช้กับองค์กร ในส่วนงานจัดซื้อและด้านโลจิสติกส์ ซึ่ง เป้าประสงค์หลัก ก็คือการมุ่งเน้นให้ระบบเข้ามาช่วยอำนวยความสะดวกให้กับบุคลากรในองค์กร รวมถึง การเรียกดูและการนำเสนอข้อมูลสำหรับฝ่ายบริหารเพื่อการวิเคราะห์ ซึ่งผลที่ได้คือ ฝ่ายงานจัดซื้อและโลจิสติกส์ สามารถทำงานเชิงรุก แทนที่แบบเดิมคือทำแบบตั้งรับ และยังมีการให้ความเห็นว่า ช่วงหลังโควิดเป็นต้นมา โลกของสายการจัดซื้อและโลจิสติกส์ เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว ดังนั้น การนำเสนอข้อมูลแบบเห็นภาพใหญ่ที่แม่นยำ แบบ Real Time จึงเป็นเรื่องสำคัญและจำเป็นอย่างมาก สำหรับทุกองค์กรในปัจจุบัน

พร้อมกันนี้ ในภายในงาน ยังมีบริษัทผู้ให้บริการขนส่งระหว่างประเทศ, ผู้ให้บริการทางการเงิน, และผู้ให้บริการด้านเทคโนโลยี ที่มาร่วมกันให้ข้อมูล และนำเสนอเทคโนโลยีที่จะช่วยผู้ประกอบการ ในการหาลูกค้าในตลาดใหม่ๆ, การปรับปรุงประสิทธิภาพในการทำงาน, การหาทางเลือกในการขนส่งระหว่างประเทศในรูปแบบใหม่ ๆ และการลดต้นทุน รายละเอียดบริษัทที่มาร่วมออกงานครั้งนี้ประกอบไปด้วย

  1. ทีม Startup จาก SCG Chemicals
    • Ant HR: Enhancing people values
    • PDP Solution: Protecting values from customers data
    • Wake up Waste: Converting wastes into values
    • Zycoda: Extracting values from predictive maintenance
  2. SCB: Currency & Global Transactions at Your Fingertips, Anytime, Anywhere
  3. ZTRUS: Save cost and Speed up Accounting Process with AI OCR Automation
  4. FocusOne ERP: ERP​ ON​ CLOUDS with economics price and fast implementation
  5. EximRadars: Help you find your global importer in 3 clicks
  6. World Air Logistics: Tailored Solutions for Special Projects
  7. LEO Global Logistics: The Smart Logistics Solution. Green Logistics by Rail and EV truck.
  8. SCGJWD: Enabler for Growth in Food Business
  9. ZUPPORTS: Digitization for Global Logistics

ข่าวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

LINE สรุป ’12 เทรนด์ฮิตชีวิตดิจิทัล 2023′ เผย คนไทยใกล้ชิดและเข้าถึง AI มากขึ้น

ดีป้า เดินหน้าโครงการ Coding for Better Life ยกระดับห้องเรียนโค้ดดิ้ง 1,500 โรงเรียนทั่วประเทศ

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ