TH | EN
TH | EN
หน้าแรกTechnologyรพ. มหาราชนครเชียงใหม่ ใช้ระบบ 5G Smart Health นำร่องระบบ Telemedicine

รพ. มหาราชนครเชียงใหม่ ใช้ระบบ 5G Smart Health นำร่องระบบ Telemedicine

รงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ นำร่อง 5G Smart Health ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการนำร่องการพัฒนาย่านเทคโนโลยยี 5G ต้นแบบ สำหรับให้บริการประชาชน (5G District) ในจังหวัดเชียงใหม่ ส่วน 5G Smart Health โดยมีงบประมาณสนับสนุน จำนวน 49,306,000 บาท จากกองทุนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ภายใต้กรอบ นโนบายการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ 5G ของประเทศไทย

ในส่วนของการต่อยอดการใช้ประโยชน์ของเทคโนโลยี 5G เพื่อให้เกิดการพัฒนาดิจิทัลของประเทศที่ครอบคลุมในทุกด้าน ส่งผลให้เกิดการผลักดันนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลที่ช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของประเทศ ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน และลดช่องว่างทางสังคม ช่วยให้เกิดความรู้และทักษะดิจิทัลที่เหมาะสมกับบุคลากรทุกกลุ่ม และพัฒนากระบวนการทำงาน และการให้บริการของภาครัฐด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อให้การปฏิบัติงานเกิดความโปร่งใส มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลต่อไป

ศ.(เชี่ยวชาญพิเศษ) นพ.บรรณกิจ โลจนาภิวัฒน์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า ปัจจุบันมีการนำเทคโนโลยี 5G มาใช้ในวงการแพทย์มากขึ้น สอดรับกับกลยุทธ์ในการเป็น Digital Organization ของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทั้งนี้ เพื่อเป็นการตอบรับยุทธศาสตร์ของชาติในการใช้เทคโนโลยี 5G มาพัฒนาระบบสาธารณสุขของประเทศไทย และเป็นตัวอย่างในการสร้างระบบสาธารณสุข                  

ด้านเทเลเม็ดดิซีนแพลตฟอร์ต (Telemedicine platform) กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งเป็น 2 องค์กรที่มีวิสัยทัศน์ตรงกันในการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยของโลก มาประยุกต์และสร้างระบบสาธารณสุขแบบใหม่ จึงทำโครงการขนาดใหญ่ร่วมกัน 2 โครงการ คือ 1.โครงการนำร่องการพัฒนาย่านเทคโนโลยี 5G ต้นแบบ สำหรับให้บริการประชาชน (5G District) จังหวัดเชียงใหม่ (โครงการ 5G smart health)
2. โครงการจัดตั้งศูนย์บริการทางการแพทย์ทางไกลเพื่อขยายการเข้าถึงการให้บริการประชาชน

โดย คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ให้ความสำคัญกับการเพิ่มศักยภาพระบบบริการสุขภาพ ซึ่งปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารมีการพัฒนาอย่างมาก สามารถนำมาเพิ่มประสิทธิภาพระบบการแพทย์ทางไกล (Telemedicine)

โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ เป็นโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยระดับตติยภูมิขั้นสูง ที่มีแพทย์ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญในด้านต่าง ๆ โดยประชาชนส่วนใหญ่ที่เข้ามารับการรักษาพยาบาลอาศัยในเขตจังหวัดภาคเหนือ ซึ่งส่วนมากอาศัยอยู่ในพื้นที่ห่างไกลอำเภอเมือง ต้องใช้ระยะเวลาในการเดินทาง ทำให้มีค่าใช้จ่ายจำนวนมาก ประกอบกับสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19) ทำให้โรงพยาบาลต้องนำเทคโนโลยี 5G มาประยุกต์ใช้ในการส่งเสริมบริการการแพทย์ฉุกเฉิน ด้วยเทคโนโลยีจำลองภาพเสมือนจริงสามมิติด้วยรถพยาบาลอัจฉริยะ (AR technology with Smart ambulance) พร้อมบูรณาการแว่นตาอัจฉริยะ (AR consulting glasses) ผ่านเครือข่าย 5G ในการปรึกษาและรักษาผู้ป่วยบนรถ Smart ambulance แบบ Real time ระหว่างโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลจังหวัด และโรงพยาบาลประจำอำเภอ ในเขตจังหวัดภาคเหนือตอนบนที่ร่วมโครงการ จำนวน 20 แห่ง

ปัจจุบัน ผู้ป่วยสามารถรับคำปรึกษาจากแพทย์ผ่าน Web Application ได้อย่างครบวงจร โดยไม่จำเป็นต้องเดินทางมารักษาที่โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ เพียงเดินทางไปยังโรงพยาบาลประจำอำเภอที่ใกล้เคียงที่พัก หรือที่สะดวกในการเข้ารับบริการ อีกทั้งยังช่วยลดต้นทุนด้านการเดินทาง และลดเวลาแก่ผู้ป่วยได้ ที่สำคัญผู้ป่วยยังสามารถได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง แม้ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 โดยผลลัพธ์ของทั้ง 2 โครงการจะเป็นการสร้าง Telemedicine platform ที่บูรณาการระหว่าง ระบบการแพทย์ทางไกลของโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กับ โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลจังหวัด และโรงพยาบาลประจำอำเภอในเขตจังหวัดภาคเหนือตอนบน และมีการนำ AR technology และ 5G เทคโนโลยี มาเพิ่มประสิทธิภาพรถพยาบาลฉุกเฉิน ทำให้บุคลากรทางการแพทย์บนรถพยาบาลฉุกเฉินสามารถปรึกษาและรักษาผู้ป่วยบนรถพยาบาลฉุกเฉินขณะส่งตัวผู้ป่วย ร่วมกับแพทย์เฉพาะทาง ที่ประจำอยู่ ณ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ส่งผลให้โรคฉุกเฉินและโรควิกฤติ เช่น โรคหัวใจขาดเลือด โรคเส้นเลือดสมองตีบ สามารถได้รับการรักษาได้ทันที โดยแพทย์เฉพาะทางในแต่ละโรค ระหว่างส่งตัวผู้ป่วยทำให้ลดอัตราการตาย และภาวะแทรกซ้อน

การเชื่อม Telemedicine platform ของโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ กับโรงพยาบาลสำคัญจากกระทรวงสาธารณสุข ดังที่กล่าวมาข้างต้น จะส่งผลการใช้ระบบเทคโนโลยี 5G กับระบบสาธารณสุขระดับประเทศ เนื่องจากเป็นการเชื่อมระบบการรักษาแบบไร้รอยต่อ ระหว่างโรงพยาบาลข้ามสังกัดกระทรวง โดยในที่สุดเมื่อโครงการนี้สำเร็จจะเป็นระบบต้นแบบที่ประชาชนได้รับประโยชน์สูงสุด กล่าวคือการเข้ารับการรักษาภาวะฉุกเฉินใน โรงพยาบาลใดในจังหวัดเชียงใหม่ และหรือโรงพยาบาลในภาคเหนือตอนบน (ที่ร่วมโครงการ) ผู้ป่วยทุกท่านจะได้รับการรักษาโดยแพทย์เฉพาะทางเฉพาะโรค ผ่านระบบที่เชื่อมต่อกันแบบไร้รอยต่อ ซึ่งทำให้ผลการรักษาพยาบาลมีความปลอดภัยมากขึ้น

ออราเคิลเผย 5 กุญแจสำคัญสู่ความสำเร็จทางธุรกิจในเอเชียแปซิฟิก

KPB คาดเศรษฐกิจโลกปีนี้ เติบโตในอัตราที่ชะลอลง แนะลงทุนในหุ้นคุณค่า/วัฏจักร สินทรัพย์นอกตลาดฯ

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ