TH | EN
TH | EN
หน้าแรกTechnologySDG Lab ม.ธรรมศาสตร์ นำ 5G พัฒนาหุ่นยนต์เกษตรอัจฉริยะ ต้นแบบการทำเกษตรยั่งยืน

SDG Lab ม.ธรรมศาสตร์ นำ 5G พัฒนาหุ่นยนต์เกษตรอัจฉริยะ ต้นแบบการทำเกษตรยั่งยืน

SDG Lab มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทดสอบเทคโนโลยี 5G และ IoT Robotic จาก AIS เพื่อพัฒนาต้นแบบการทำเกษตรยั่งยืนด้วย “หุ่นยนต์เกษตรอัจฉริยะ AIS 5G Farmbot” ผู้ช่วยจัดการการเกษตรอัตโนมัติครบวงจร ส่งต่อแนวคิดความยั่งยืนที่ช่วยประหยัดพลังงาน และต้นทุนอย่างคุ้มค่า เพิ่มผลผลิตที่มีคุณภาพ พร้อมร่วมดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม

วสิษฐ์ วัฒนศัพท์ หัวหน้าหน่วยธุรกิจงานปฏิบัติการและสนับสนุนด้านเทคนิคทั่วประเทศ AIS กล่าวว่า “กว่า 3 ปีที่ผ่านมา จากความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในการพัฒนาศูนย์ปฏิบัติการเพื่อความยั่งยืน SDG Lab by Thammasat & AIS แห่งแรกในเอเชีย ด้วยเป้าหมายที่จะทำให้เป็นพื้นที่ของการนำ 5G มาพัฒนาต้นแบบของภาคส่วนสำคัญ ๆ อาทิ ระบบขนส่งอัจฉริยะ, ระบบเกษตรอัจฉริยะ ที่มุ่งเน้นทั้งเรื่องการเสริมประสิทธิภาพ และการดูแลสิ่งแวดล้อมในเวลาเดียวกัน

ที่ผ่านมาได้ติดตั้งเครือข่าย 5G และจัดให้เป็น 5G LIVE Testbed พร้อมให้เป็นพื้นที่ทดลอง ทดสอบบนเครือข่ายและสภาพแวดล้อมจริง ดังเช่น การทดลอง ทดสอบ รถโดยสารพลังงานไฟฟ้าไร้คนขับที่ใช้ 5G สั่งการแบบอัตโนมัติ  100%, การทดสอบนำ 5G IoT ไปเชื่อมต่อกับระบบควบคุมดูแลการเพาะปลูกแบบอัตโนมัติ รวมไปถึงการติดตั้งสถานีวัดสภาพอากาศและวัดปริมาณฝุ่น PM 2.5 ไว้บนแปลงเกษตร Rooftop อาคารอุทยานการเรียนรู้ป๋วย 100 ปี พร้อมการทดลองทดสอบ 5G  Smart Farm เพื่อบริหารจัดการน้ำในภาคการเกษตรให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น”

“ล่าสุด เรานำ AIS 5G และ IoT Robotic มาทดลองทดสอบด้วยรูปแบบหุ่นยนต์เกษตรอัจฉริยะ หรือ AIS 5G Farmbot เพื่อเป็นต้นแบบการยกระดับการทำงานของ Smart Farm ไปสู่การเกษตรอัจฉริยะแบบยั่งยืนครบวงจร เป็นการรองรับความต้องการของเกษตรกรที่ปลูกพืชผักสวนครัว ให้สามารถยกระดับและขยายกิจการได้อย่างก้าวกระโดด”

AIS จับมือ สจล. นำเทคโนโลยี 5G & ดิจิทัลแพลตฟอร์ม ยกระดับสู่ Digital University

หุ่นยนต์เกษตรอัจฉริยะหรือ AIS 5G Farmbot คือผู้ช่วยในการบริหารจัดการการเกษตร โดยใช้วิธี Drag & Drop  ตั้งแต่เริ่มต้นการเพาะปลูกจนถึงการเก็บเกี่ยวผลผลิต ผ่านเครือข่าย AIS 5G ที่มีความเร็ว แรงและความหน่วงต่ำ ซึ่งจะทำให้สามารถเชื่อมต่อ บริหาร สั่งการ มอนิเตอร์ ได้แบบ Real Time, แม่นยำ ในจังหวะและเวลา ตลอดจนสภาพอากาศที่เหมาะสม ทำให้เกษตรกรสามารถบริหารจัดการวางแผนการเพาะปลูกได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดการใช้แรงงาน ทรัพยากร และเพิ่มผลผลิตที่มีคุณภาพได้อย่างดี โดยหุ่นยนต์เกษตรอัจฉริยะมีฟังก์ชันในการทำงาน ดังนี้

  • หุ่นยนต์ผู้ช่วยปลูก ใช้ 5G เชื่อมต่อกับ IoT Robotic ควบคุมชุดแขนกลอัตโนมัติให้หยิบเมล็ดพันธุ์ที่มีขนาดไม่เกิน 1.4 มิลลิเมตร ไปเพาะปลูกบนพื้นที่ที่กำหนดไว้โดยอัตโนมัติ
  • หุ่นยนต์ผู้ช่วยน้ำ ที่สามารถวางแผนการรดน้ำผ่าน 5G ด้วยการตั้งค่า กำหนดเวลาและกำหนดจุดรดน้ำเฉพาะบริเวณเพาะปลูกพืชเท่านั้น ถือการบริหารจัดการน้ำอย่างคุ้มค่า
  • หุ่นยนต์ผู้ช่วยกำจัดวัชพืช เมื่อตรวจพบวัชพืชในแปลงปลูก เกษตรกรสามารถระบุตำแหน่งของวัชพืช และกำหนดให้หุ่นยนต์กำจัดวัชพืชได้โดยอัตโนมัติผ่าน 5G
  • หุ่นยนต์ผู้ช่วยวัดความชื้นดิน ด้วยระบบสมองกลและแขนกลที่ติดตั้งชุดวัดความชื้นในดิน ทำให้สามารถวัดความชื้นในดินและสั่ง หรือ ระงับการรดน้ำผ่าน 5G ได้  
  • หุ่นยนต์ผู้ช่วยติดตามการเจริญเติบโตด้วยกล้อง USB Camera ช่วยให้เกษตรกรสามารถติดตามแปลงเพาะปลูกผ่านกล้องวิดีโอแบบเรียลไทม์ที่ติดตั้งไว้บนแขนกล ผ่าน 5G ได้ตลอดเวลา

AIS ทดสอบ 5G CA บนคลื่นความถี่ 2600 MHz และ 26 GHz ทำความเร็วแรงทะลุมาตรฐาน 5G ครั้งแรกของโลก

ผศ.ดร.ปริญญา เทวานฤมิตรกุล ประธานคณะกรรมการบริหารอุทยานการเรียนรู้ป๋วย 100 ปี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวเสริมว่า “SDG Lab by Thammasat & AIS หรือแล็บปฏิบัติการความยั่งยืนเป็นความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์กับเอไอเอส ซึ่งเปิดเป็นที่แรกในเอเชีย มีเป้าหมายเพื่อสร้างพื้นที่ปฏิบัติการและทดลองโครงการด้านความยั่งยืนต่าง ๆ โดยใช้เทคโนโลยี 5G มาดำเนินการ อาทิ การบริหารจัดการพลังงาน การจัดการขยะรวมถึงขยะอิเล็กทรอนิกส์ และการใช้หุ่นยนต์และเอไอเทคโนโลยีลดการทำงานของคน เช่น ยานยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ

รวมถึงการใช้หุ่นยนต์ทางการเกษตรหรือ Farmbot ซึ่งเป็นโครงการล่าสุดที่กำลังดำเนินการในขณะนี้ เพื่อให้เกษตรกรทำงานหนักน้อยลง ลดเวลา ลดปริมาณน้ำรวมถึงทรัพยากรอื่น ๆ โดยมีผลผลิตที่มีคุณภาพมากขึ้น อันจะพัฒนาไปสู่การเกษตรอย่างยั่งยืนของประเทศต่อไป”

วสิษฐ์ ทิ้งท้ายว่า “หุ่นยนต์เกษตรอัจฉริยะ หรือ AIS 5G Farmbot  ถือเป็นต้นแบบการทดลองการเกษตรอัจฉริยะครบวงจรอย่างยั่งยืนบนพื้นที่ของ SDG Lab จะเป็นอีกหนึ่ง use case ด้านการเกษตรที่จะเป็นแหล่งเรียนรู้ให้แก่กลุ่มที่สนใจ เกษตรกรรุ่นใหม่ได้มาทดลอง ทดสอบหาความรู้เพื่อนำไปพัฒนาและต่อยอดในการทำงาน รวมทั้งเราจะนำผลการศึกษาครั้งนี้มาประยุกต์ใช้ ก่อนเตรียมให้บริการใน Smart Farm Solution ของ AIS ต่อไปในอนาคต”

ข่าวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

วิศวะมหิดล จัดสัมมนา “หุ่นยนต์ทางการแพทย์” เปิดมุมมอง การวิจัยหุ่นยนต์การแพทย์ในโลก

Flash เปิดตัว หุ่นยนต์บริหารจัดการคลังสินค้ารายแรกในไทย

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ