TH | EN
TH | EN
หน้าแรกLifeบำรุงราษฎร์ เพิ่มความสำเร็จในการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) ลดโอกาสเกิดโรคทางพันธุกรรมเพื่อตั้งครรภ์อย่างมีคุณภาพ

บำรุงราษฎร์ เพิ่มความสำเร็จในการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) ลดโอกาสเกิดโรคทางพันธุกรรมเพื่อตั้งครรภ์อย่างมีคุณภาพ

ทุกวันนี้ ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ซึ่งสวนทางกับจำนวนเด็กที่เกิดใหม่ในแต่ละปี จากข้อมูลสถิติปี 2560 มีจำนวนเด็กเกิดใหม่ 702,205 คน ขณะที่ปี 2565 ที่ผ่านมา มีเด็กเกิดใหม่เพียง 544,570 คน และยังมีแนวโน้มเด็กเกิดใหม่จะลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมาจากหลายปัจจัยทั้งสภาพเศรษฐกิจ ปัจจัยแวดล้อมต่างๆ รวมถึงภาวะมีบุตรยากด้วย

ในงาน Miracle of Life ภญ.อาทิรัตน์จารุกิจพิพัฒน์ CEO โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดเผยว่าโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ได้ตระหนักถึงปัญหาภาวะมีบุตรยาก และเห็นความสำคัญของการสร้างครอบครัวที่สมบูรณ์ โดยบำรุงราษฎร์มีคลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก หรือ Fertility Clinic and IVF Center เรามีทีมแพทย์ที่พร้อมดูแลและให้คำปรึกษาในทุกขั้นตอน รวมถึงมีเทคโนโลยีที่ช่วยสนับสนุนการเจริญพันธุ์อย่างครบวงจร 

บำรุงราษฎร์ กางแผนปี 65 ก้าวสู่ Smart Healthcare 5.0

สถาบันโรคหัวใจบำรุงราษฎร์ เป็นมากกว่าสถานที่รักษา

รศ. นพ. ชาติชัย ศรีสมบัติ สูติแพทย์ผู้ชำนาญการด้านเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์และการผ่าตัดด้วยกล้อง โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ กล่าวว่า ภาวะมีบุตรยาก เกิดจากความผิดปกติของฝ่ายชายหรือฝ่ายหญิง หรือทั้งสองฝ่ายร่วมกัน แต่ส่วนใหญ่กว่า 70% เกิดจากฝ่ายหญิง อาทิ อายุที่มากขึ้นเกิน 35 ปี ความผิดปกติของฮอร์โมน ความผิดปกติของท่อนำไข่ ความผิดปกติของภาวะมดลูก เยื่อบุโพรงมดลูกมีเนื้องอกที่ผิดปกติ มีซีสที่รังไข่ มีช็อกโกแลตซีส หรือเคยผ่าตัดที่รังไข่มาก่อน หรือภาวะหมดประจำเดือนก่อนวัย ขณะที่ฝ่ายชาย ซึ่งสาเหตุมักเกิดจากอสุจิเป็นหลัก โดยจะดู จำนวนอสุจิ การเคลื่อนไหวของอสุจิ รวมถึงรูปร่างของอสุจิ ซึ่งแพทย์จะให้คำแนะนำและการรักษาโดยพิจารณาวิธีการที่เหมาะสมที่สุดกับผู้ป่วยแต่ละราย คำนึงถึงข้อจำกัดทางด้านสุขภาพ โรคประจำตัวหรือโรคทางพันธุกรรม รวมถึงให้คนไข้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจมากที่สุด

พญ. ณหทัย ภัคธินันท์ สูติแพทย์ผู้ชำนาญการด้านเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ กล่าวว่า ปัจจุบันการทำ IVF ให้ประสบความสำเร็จมากขึ้น มีหลายองค์ประกอบด้วยกัน ทั้งทีมแพทย์ที่ชำนาญการทุกสาขาที่เกี่ยวข้อง สหสาขาวิชาชีพ มาตรฐานของห้องปฏิบัติการ รวมถึงเทคโนโลยีที่ตรวจวิเคราะห์ความผิดปกติของโครโมโซม โดยจะคัดเลือกตัวอ่อนที่มีความสมบูรณ์มากที่สุด และเทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงตัวอ่อน โดยใช้ Embryoscope ซึ่งเป็นตู้เลี้ยงตัวอ่อนแบบพิเศษที่มีการติดตั้งกล้องจุลทรรศน์ และระบบถ่ายภาพต่อเนื่องด้วย Time-lapse system (TLS) เข้าไปรวมกับตู้เลี้ยงตัวอ่อนแบบทั่วไป ทำให้สามารถติดตามดูการเจริญเติบโตของตัวอ่อนได้ในทุกช่วงเวลา และประเมินคุณภาพตัวอ่อนผ่านทางจอแสดงภาพร่วมกับซอฟต์แวร์ ที่ช่วยคัดเลือกตัวอ่อนที่มีประสิทธิภาพเพื่อนำมาฝังตัว โดยไม่มีผลกระทบกับตัวอ่อน ทำให้ยิ่งเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์

นอกจากนี้ บำรุงราษฎร์ยังมีเทคโนโลยีการตรวจยีนก่อนตั้งครรภ์ ผศ. นพ. พลกฤต ทีฆคีรีกุล แพทย์ผู้ชำนาญการด้านเวชพันธุศาสตร์ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ กล่าวว่า เป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะสามีภรรยาอาจไม่รู้ว่าตนมียีนที่ผิดปกติ ยีนแฝง หรือเป็นพาหะ ซึ่งหากแต่งงานกับคนที่เป็นพาหะด้วยกัน ทำให้ลูกมีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคทางพันธุกรรมได้ถึง 25% ซึ่งเทคโนโลยีการตรวจยีนจะสามารถตรวจได้มากกว่า 600 ยีนหรือประมาณ 300 กว่าโรค รวมถึงโรคที่พบได้บ่อยได้คนไทย เช่น โรคธาลัสซีเมีย รวมไปถึงโรคร้ายแรงอื่นๆ เช่น โรคมะเร็งและโรคหัวใจ เป็นต้น ซึ่งในกระบวนการทำเด็กหลอดแก้ว จะทำให้สามารถคัดเลือกตัวอ่อนที่ดีที่สุด เพื่อป้องกันโรคร้ายบางชนิดที่อาจถ่ายทอดทางพันธุกรรมไปสู่ลูกได้ ปัจจุบันการตรวจยีนก่อนการตั้งครรภ์ มีความสะดวกมากขึ้น ตรวจได้ทั้งวิธีการเจาะเลือดหรือเก็บตัวอย่างน้ำลาย ประมาณ 3-4 สัปดาห์ก็จะทราบผล เพื่อลดความเสี่ยงที่ลูกจะเกิดมาเป็นโรคทางพันธุกรรม

ผศ. พญ. ชนัญญ ตันติธรรม สูติแพทย์ผู้ชำนาญการด้านเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ กล่าวว่า ด้วยไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่ที่แต่งงานช้าลง หรือแต่งแล้วแต่ยังไม่พร้อมมีบุตร การฝากไข่ถือเป็นทางเลือกหนึ่งที่เข้ามาตอบโจทย์และยังสามารถเก็บไข่ได้นานกว่า 10 ปี เพราะหากผู้หญิงมีอายุมากขึ้น ปริมาณและคุณภาพของเซลล์ไข่ก็จะลดลงเรื่อยๆ โดยเฉพาะอายุมากกว่า 35 ปี มีโอกาสเกิดภาวะมีบุตรยาก เพิ่มภาวะแท้งบุตร และเสี่ยงต่อภาวะเด็กมีโครโมโซมผิดปกติ ซึ่งจะเหมาะกับผู้หญิงที่ต้องการมีบุตรในอนาคต รวมถึงผู้หญิงที่กำลังรักษาด้วยเคมีบำบัดหรือการรักษาอื่นที่อาจเป็นอันตรายต่อรังไข่ ซึ่งในแต่ละครั้งแนะนำว่าควรเก็บไข่ให้ได้ 10-15 ใบ เพื่อที่จะได้มีโอกาสสำเร็จในการตั้งครรภ์ 1 ครั้ง หลังจากเก็บไข่แล้วเราจะละลายมันออกมาใช้ในเวลาที่พร้อมมีบุตร โอกาสที่ไข่จะอยู่รอดมีประมาณ 90% และเมื่อไปปฏิสนธิกับอสุจิโอกาสก็จะประมาณ 70-80% 

สรุปปิดท้ายรศ. นพ. นพดล สโรบล หัวหน้าศูนย์สูติ-นรีเวช โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์กล่าวว่า ปัจจุบันคลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก รพ.บำรุงราษฎร์ เปิดให้บริการมานานกว่า 20 ปีแล้ว โดยเรายึดคุณธรรมและจริยธรรมเป็นที่ตั้งและมุ่งเน้นเพื่อการรักษาคนไข้เป็นหลัก ด้วยทีมแพทย์ผู้ชำนาญการเฉพาะทางด้านเวชศาสตร์เจริญพันธุ์และแพทย์ด้านเวชพันธุศาสตร์ รวมถึงทีมบำบัดพิเศษทารกแรกเกิด (NICU) ที่มีประสบการณ์สูงมาก ที่ผ่านมาเรามีประสบการณ์ทั้งจากคนไข้ที่มารักษาจากหลายประเทศ มีหลายเคสที่ยากแต่ทีมแพทย์เราทำได้สำเร็จ ที่สำคัญเราสามารถดูแลอย่างครบวงจรในทุกๆ กระบวนการตั้งแต่แรกจนถึงขั้นตอนสุดท้ายจนลูกรอดปลอดภัย ซึ่งทุกขั้นตอนมีความละเอียดอ่อน หรือแม้แต่กรณีที่คนไข้เกิดภาวะโรคแทรกซ้อน หรือมีภาวะครรภ์เสี่ยง เราก็สามารถให้แพทย์ชำนาญการในโรงพยาบาลได้อย่างทันท่วงทีด้วยมาตรฐานระดับสากล

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คลินิกรักษาผู้มีบุตรยาก โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ โทร. 0-2 011 2364, 0-2 011 2368 สายด่วน 090-972 2609 หรือโทร. 1378 

ธรรมาภิบาลยุค AI ครองโลก ในบริบทการพัฒนาระบบสุขภาพบนความรับผิดชอบ

CARIVA ร่วมกับศิริราช นำความเชี่ยวชาญด้าน HealthTech และ AI เติมเต็มศักยภาพให้กับคนรุ่นใหม่

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ