TH | EN
TH | EN
หน้าแรกColumnistว่าด้วยเรื่อง "วัคซีนป้องกันไวรัสโควิด–19" ในประเทศไทย

ว่าด้วยเรื่อง “วัคซีนป้องกันไวรัสโควิด–19” ในประเทศไทย

ปัจจุบันวัคซีนป้องกันไวรัสโควิด -19 เป็นที่ต้องการของประชาชน ชาวไทยที่มีความตื่นตัวอยากรับวัคซีนจำนวนมาก นับถอยหลังไปตั้งแต่เมื่อ วันที่ 9 เมษายน 2564 (คำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 5/2564) แต่งตั้งคณะทำงานพิจารณาการจัดหาวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)  จำนวน 18 คน โดยมี ศ.คลินิกเกียรติคุณ นพ.ปิยสกล สกลสัตยาทร ที่ปรึกษาศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 – กระทรวงมหาดไทย (ศบค. มท.) เป็นประธาน 

ส่วนคณะกรรมการที่เหลือมาจากทีมคณะแพทย์ในกระทรวงสาธารณสุข องค์การเภสัชกรรม สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และนายกสมาคมโรงพยาบาลเอกชน คณะกรรมการชุดนี้ มีหน้าที่ในการจัดหาวัคซีนเพื่อใช้ในโรงพยาบาลของรัฐและเอกชน และดำเนินการอื่น ๆ ตามที่นากยกรัฐมนตรีมอบหมาย

ต่อมาในวันที่ 23 เม.ย. 2564 เมื่อเวลา 21.00 น. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี แถลงการณ์ผ่านทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย ว่า ศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ซึ่งมีตนเองเป็นประธาน ตั้งเป้าหมายว่าจะต้องจัดหาวัคซีนให้ครบ 100 ล้านโดส เพื่อฉีดให้กับประชาชน 50 ล้านคน ภายในสิ้นปี 2564

จากวันนั้นถึงวันนี้ คนไทยบางส่วนได้รับวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 บางส่วน ข้อมูลวันที่ 26 กรกฎาคม 2564 จำนวนที่แจกจ่าย 15,960,778 โดส แบ่งเป็น ผู้ได้รับวัคซีนเข็มแรก 12,307,788 โดส (18.6% ของประชากร) ผู้ได้รับการฉีดวัคซีนเข็ม 2 จำนวน 3,652,990 โดส (5.5% ของประชากร)

หากแบ่งตามยี่ห้อวัคซีน แบ่งเป็น 

  • ซิโนแวค  เข็มที่ 1 จำนวน 4,730,460 โดส  เข็มที่ 2 จำนวน 3,386,177 โดส
  • วัคซีน AstraZeneca  เข็มที่ 1 จำนวน 6,913,815 โดส  เข็มที่ 2 จำนวน 225,211 โดส
  • วัคซีน Sinopharm  เข็มที่ 1 จำนวน 663,513 โดส  เข็มที่ 2 จำนวน 41,602 โดส

ยังคงเหลือเวลาอีกประมาณ 158 วัน (จากวันที่ 26 กรกฎาคม 2564) ถึงระยะเวลาที่ตั้งเป้าไว้ มีประชาชนอีกจำนวนมาก ที่รอคอยวัคซีนอย่างใจจดจ่อและอยากฉีดเพื่อป้องกันตัวเองจากไวรัสโควิด ในขณะที่มีวัคซีนที่ขณะนี้ ผ่านการขึ้นทะเบียนจาก คณะกรรมการอาหารและยาในประเทศไทย แล้ว 6 ยี่ห้อ ประกอบด้วย

  1. วัคซีนแอสตราเซเนกา (Vaccine AstraZeneca) นำเข้าโดยบริษัท แอสตราเซเนกา (ประเทศไทย) จำกัด ผลิตโดยบริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ จำกัด อนุมัติเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2564
  2. วัคซีนซิโนแวค (Sinovac) หรือ วัคซีนโคโรนาแวค (CoronaVac) นำเข้าโดยองค์การเภสัชกรรม (อภ.) อนุมัติเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2564
  3. วัคซีนจอห์นสันแอนด์จอห์นสัน (Johnson & Johnson) หรือ COVID-19 Vaccine Janssen นำเข้าโดยบริษัท แจนเซ่น – ซีแลก จำกัด อนุมัติเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2564
  4. วัคซีนโมเดอร์นา (Vaccine Moderna) นำเข้าโดยบริษัท ซิลลิค ฟาร์มา จำกัด อนุมัติเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2564
  5. วัคซีนซิโนฟาร์ม (​Sinopharm) หรือ Vaccine (Vero Cell), Inactivated COVILO (BIBP) นำเข้าโดยบริษัท ไบโอจีนีเทค จำกัด อนุมัติเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2564
  6. วัคซีนโคเมอร์เนตี (COMIRNATY VACCINE) นำเข้าโดย บริษัท ไฟเซอร์ ประเทศไทย จำกัด อนุมัติเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2564

จากวัคซีน 6 ยี่ห้อนี้ มีการนำเข้าและฉีดไปแล้ว แบ่งเป็น

วัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า (AstraZeneca) ชื่ออย่างเป็นทางการ: AZD 1222  ประเทศไทยมีการทำสัญญาสั่งซื้อทั้งสิ้น จำนวน 61 ล้านโดส แบ่งเป็น จำนวน 26 ล้านโดส เซ็นสัญญา (concluded) เดือนมกราคม 2564 และซื้อเพิ่มอีก 35 ล้านโดส เซ็นสัญญาเดือน พ.ค.2564 โดยจะใช้เป็นวัคซีนหลักของประเทศไทย มีการส่งมอบรวม 11.3 ล้านโดส ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม

ล็อตแรกนำเข้ามาประเทศไทย วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2564 จำนวน 117,300 โดส

ล็อตที่ 2 วันที่ 28 พฤษภาคม จำนวน 242,100 โดส

ล็อตที่ 3- 8 ในเดือนมิถุนายน แบ่งเป็น 

วันที่ 4 มิถุนายน จำนวน 1,787,100 โดส

  • วันที่ 16 มิถุนายน จำนวน 610,000 โดส
  • วันที่ 18 มิถุนายน จำนวน 970,000 โดส
  • วันที่ 23 มิถุนายน จำนวน 593,300 โดส
  • วันที่ 25 มิถุนายน จำนวน 323,600 โดส
  • วันที่ 30 มิถุนายน จำนวน 846,000 โดส

ล็อตที่ 9 – 13 เดือนกรกฎาคม แบ่งเป็น 

  • วันที่ 3 กรกฎาคม จำนวน 590,000 โดส
  • วันที่ 9 กรกฎาคม จำนวน 555,400 โดส
  • วันที่ 12 กรกฎาคม จำนวน 1,053,000 โดส
  • วันที่ 16 กรกฎาคม. จำนวน 505 ,700 โดส
  • สิ้นเดือน กรกฎาคม จำนวน 2,300,000 โดส

ส่วนวัคซีน ซิโนแวค (Sinovac) ชื่ออย่างเป็นทางการ: โคโรนาแวค ประเทศไทยสั่งซื้อจำนวน 19.5 ล้านโดส และมีแผนจะจัดหาอีก 28 ล้านโดส รวม 47.5 ล้านโดส 

จำนวน 15 ล็อต รวมทั้งสิ้น 13 ล้านโดส ไม่นับรวมวัคซีนที่รัฐบาลปักกิ่งบริจาคให้กับประเทศไทย

  • ล็อตที่ 1 วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2564  จำนวน 200,000 โดส
  • ล็อตที่ 2  วันที่ 20 มีนาคม 2564 จำนวน 800,000 โดส
  • ล็อตที่ 3  วันที่ 10 เมษายน 2564 จำนวน 1,000,000 โดส
  • ล็อตที่ 4  วันที่ 24 เมษายน 2564 จำนวน 500,000 โดส
  • ล็อตที่ 5  วันที่ 6 พฤษภาคม 2564  จำนวน 1,000,000 โดส 
  • ล็อตที่ 6 วันที่ 12 พฤษภาคม 2564  จำนวน 500,000 โดส
  • ล็อตที่ 7 วันที่ 14 พฤษภาคม 2564  จำนวน 500,000 โดส
  • ล็อตที่ 8 วันที่ 15 พฤษภาคม 2564  จำนวน 500,000 โดส 
  • ล็อตที่ 9 วันที่ 20 พฤษภาคม 2564 จำนวน 1,500,000 ล้านโดส
  • ล็อตที่ 10 วันที่ 5 มิถุนายน 2564 จำนวน 500,000 โดส
  • ล็อตที่ 11 วันที่ 10 มิถุนายน 2564 จำนวน  1,000,000 โดส
  • ล็อตที่ 12 วันที่ 23 มิถุนายน 2564 จำนวน 2,000,000 โดส
  • ล็อตที่ 13 วันที่ 1 กรกฎาคม 2564 จำนวน 1,000,000 โดส 
  • ล็อตที่ 14 วันที่ 7 กรกฎาคม 2564  จำนวน 2,000,000 โดส 
  • ล็อตที่ 15 วัคซีนเร่งด่วน จำนวน 10.9 ล้านโดส ในกรอบวงเงิน 6,111.412 ล้านบาท 

วัคซีนโทซินาเมแรน (Tozinameran) โดยบริษัทไฟเซอร์-ไบออนเทค ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศไทยโดยกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ทำสัญญาสั่งซื้อจำนวน 20 ล้านโดส โดยจะส่งมอบกันประมาณ ไตรมาสที่ 4 ของปี พ.ศ. 2564 อย่างไรก็ตาม รัฐบาลประเทศสหรัฐอเมริกา ได้บริจาควัคซีนไฟเซอร์ให้ประเทศไทย จำนวน 1.54 ล้านโดส จะส่งมอบปลายเดือนกรกฎาคม ล่าสุด แทมมี ดักเวิร์ธ สมาชิกวุฒิสภาสหรัฐฯ เชื้อสายไทย เผยว่า รัฐบาลสหรัฐฯ มีเป้าหมายบริจาควัคซีนโควิด-19 ให้ไทยเป็นล็อตที่ 2 อีกจำนวน 2.5 ล้านโดส

ส่วนวัคซีนโมเดอร์นา (Moderna) ชื่ออย่างเป็นทางการ: mRNA-1273 ประเทศไทย โดยองค์การเภสัชกรรม ได้ลงนามกับบริษัท ซิลลิค ฟาร์มา จํากัด ในนามบริษัท แซดพี เทอราพิวติกส์ ซิลลิค ฟาร์มา ประเทศไทย ในการจัดหาและกระจายวัคซีนโควิด-19 ของโมเดอร์นา จำนวนประมาณ 5 ล้านโดส โดยจำนวนนี้ 1 ล้านโดสเป็นของสภาการชาดไทย ส่วนที่เหลือจะเป็นของสมาคมโรงพยาบาลเอกชน วัคซีนโมเดอร์นาจะทยอยนำเข้าประเทศไทย ตั้งแต่ช่วงไตรมาส 4 ปี 2564 ต่อเนื่องไตรมาส 1 ปี 2565 

วัคซีนซิโนฟาร์ม (Sinopharm) ชื่ออย่างเป็นทางการ: BBIBP-CorV โดยบริษัท Beijing Institute of Biological Product (ปักกิ่ง) และ บริษัท Wuhan Institute of Biological Product (อู่ฮั่น) ประเทศจีน เป็นวัคซีนทางเลือกประเทศไทยโดยราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ได้นำเข้าวัคซีนซิโนฟาร์มล็อตแรก จำนวน 1 ล้านโดส เมื่อวันที่ 20 มิถุนายนที่ผ่านมา และได้จัดสรรให้องค์กรและหน่วยงาน 5,199 องค์กร คิดเป็นจำนวนผู้รอรับวัคซีนในองค์กรเหล่านี้ 476,682 คน ราคาเข็มละ 888 บาท

นอกจากนั้นยังมีการนำเข้าวัคซีน ซิโนฟาร์ม อีก 3 ล็อต แบ่งเป็น

ล็อตที่ 2 วันที่ 4  กรกฎาคม 2564 จำนวน 1 ล้านโดส

ล็อตที่ 3 วันที่ 18 กรกฎาคม 2564 จำนวน 1 ล้านโดส

ล็อตที่ 4 วันที่ 25 กรกฎาคม 2564  จำนวน 1 ล้านโดส 

จะเห็นได้ว่า ขณะนี้ประเทศไทยมี วัคซีน 4 ยี่ห้อที่นำเข้ามาและฉีดให้คนไทย แต่จำนวนวัคซีนยังไม่เพียงพอที่จะฉีดให้ครอบคุลมเป้าหมาย ที่คณะรัฐบาลตั้งเป้าจะฉีดให้ครบ 50 ล้นคน 100 ล้านโดส และคาดว่าไตรมาสที่ 4 จะมีจำนวนวัคซีนมากเพียงพอสำหรับคนไทย นอกจากนี้ในปี พ.ศ. 2565 เราจะมีวัคซีนของคนไทย โดยคนไทยได้ฉีดใคนไทยกันด้วย

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ