TH | EN
TH | EN
หน้าแรก Columnist จีดีพี ปี 65 จบที่ 3.4% ปีหน้าต้องลุ้น

จีดีพี ปี 65 จบที่ 3.4% ปีหน้าต้องลุ้น

สัปดาห์ก่อนหน้า อาคม​ เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวระหว่างเปิดงาน Thailand Economic Monitor Distributional Impact of Fiscal Spending and Revenue อย่างมั่นใจว่า เศรษฐกิจปีนี้ที่กำลังจะปิดฉากในอีกไม่กี่วันข้างหน้าจะขยายตัว  3.4​% สูงกว่าคาดการณ์เล็กน้อย​ ส่วนปีหน้าคาดว่าเศรษฐกิจไทยจะสามารถขยายตัว​ 3.8% 

รมว.คลัง ระบุปัจจัยที่ทำให้เศรษฐกิจขยายตัวสูงกว่าคาดการณ์ว่าเป็นผลจากการฟื้นตัวของภาคท่องเที่ยว โดยจำนวนนักท่องเที่ยวในปีนี้คาดว่าจะอยู่ราว 10 ล้านคน ส่วนปีหน้าคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 21.5 ล้านคน รวมไปถึงการบริโภคในประเทศและรายได้ของภาคเกษตรเพิ่มขึ้น

พูดถึงเส้นทางเศรษฐกิจปีนี้ ถือว่าเป็นปีที่คาดเดายากมากอีกปีหนึ่ง เมื่อเศรษฐกิจปี 2565 ออกสตาร์ทนั้น กระทรวงการคลังประกาศว่าจีดีพีจะขยายตัว 4% ดีกว่าปี 2564 ที่ขยายตัว 1.6% โดยมีแรงหนุนจากการลงทุนของภาครัฐ การบริโภคที่เพิ่มขึ้นจากมาตรการกระตุ้น และการท่องเที่ยวที่เริ่มฟื้นตัว มีการประเมินตอนนั้นว่าจะมีนักท่องเที่ยวเข้าไทยสูงสุด 7 ล้านคน แต่ฉากเศรษฐกิจที่มีสีสันสดใสกลับซีดลงทันทีเมื่อเกิดการระบาดของไวรัสโควิดกลายพันธุ์ โอมิครอน คาบเกี่ยวระหว่างปลายปีที่แล้วกับต้นปีนี้ 

ช่วงเวลาเดียวกันนั้น แบงก์ชาติออกมาประเมินว่าหากการระบาดของโอมิครอนไม่จบภายใน 6 เดือนจะทำให้เศรษฐกิจที่ฟื้นตัวอย่างช้า ๆ สะดุด แม้ภายหลังโควิดกลายพันธุ์โอมิครอนระบาดอยู่ในวงจำกัด แต่หลายสำนักเห็นท่าไม่ดี ก็ปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจลง   

เช่น ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ ปรับคาดการณ์เศรษฐกิจปีนี้จาก 3.4% เหลือ 3.2% โดยประเมินว่าการระบาดของโอมิครอน กรณีที่เลวร้ายสุด ๆ นักท่องเที่ยวเข้าไทยจะเหลือเพียง 2.6 ล้านคน จากเดิมคาดว่าจะมีประมาณ 5.9 ล้านคน ส่วนศูนย์วิจัยธนาคารกรุงศรีอยุธยา มองว่าการระบาดของโอมิครอนทำให้เศรษฐกิจหายไปประมาณ 0.6% แต่การระบาดอยู่ในวงจำกัด ธนาคารจึงคงคาดการณ์จีดีพีเอาไว้ที่ 3.7% 

จังหวะที่ระดับความกังวลจากการระบาดของโอมิครอนเริ่มคลายตัวลง เศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยต้องมาสะดุดกึก เมื่อรัสเซียรุกรานยูเครน (24 ก.พ. 65) ส่งผลให้ราคาน้ำมัน ก๊าซพุ่งพรวด นำโลกเข้าสู่วิกฤติเงินเฟ้อ ทุกประเทศเผชิญกับ “พายุเงินเฟ้อ” ที่พุ่งทำลายสถิติสูงสุดใหม่ในรอบกว่าทศวรรษกันทั้งสิ้น ประเทศไทยตัวเลข เงินเฟ้อเดือน สิงหาคม ทะลุไปถึง 7.86% ทำสถิติสูงสุดใหม่ในรอบ 13 ปี แบงก์ชาติเกือบทั่วโลก พลิกนโยบายการเงินจากผ่อนคลายในช่วงโควิดมาเป็นเข้มงวดเพื่อสกัดเงินเฟ้อ ขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายแบบต่อเนื่องเพื่อสกัดเงินเฟ้อ   

รัสเซีย-ยูเครน ดันราคาน้ำมันและอาหารพุ่ง ศูนย์วิจัยกสิกรไทย หั่นจีดีพีลงมาที่ 2.5%

Google แนะไทยเร่งสู่เศรษฐกิจดิจิทัล ดัน จีดีพีไทยแตะ 2.5 ล้านล้านบาทในปี 2030

ตอนนั้นทุกสถาบันเข้าแข่งกันออกมาประกาศปรับลดคาดการณ์เศรษฐกิจปีนี้กันถ้วนหน้า รัฐมนตรีคลังอาคม ประกาศปรับลดช่วงคาดการณ์เศรษฐกิจปีนี้จาก 3.5-4.5% เหลือ 3-4% แบงก์ชาติปรับลดจาก 3.4% เหลือ 3.2% ธนาคารพัฒนาแห่งเอเชีย (เอดีบี) ประเมินเศรษฐกิจไทยจะขยายตัว 3% คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน (กกร.) ปรับลดคาดการณ์จีดีพีจาก 2.5-4.5% เหลือ 2.5-4.0% 

แบงก์กรุงศรีอยุธยา โดยสายงานวิจัยหั่นคาดการณ์ลงไปเกือบหนึ่งเปอร์เซ็นต์จาก 3.7% เหลือ 2.8%  เนื่องจากประเมินว่าภาคส่งออกจะได้รับผลกระทบจากสงครามยูเครน เช่นเดียวกับศูนย์วิเคราะห์ธุรกิจและเศรษฐกิจ ธนาคารทหารไทยธนชาต ปรับลดคาดการณ์จาก 3% เหลือ 2.8% เป็นต้น

โดยปัจจัยที่นำมาสู่การหั่นคาดการณ์จีดีพีช่วงนั้น คือผลจากสงครามยูเครนที่กดดันให้ราคาพลังงานสูงขึ้น ซึ่งโยงไปถึงเงินเฟ้อ ภาคส่งออกจะได้รับผลกระทบเช่นเดียวกับภาคท่องเที่ยว 

ภาพเศรษฐกิจในช่วงเวลานั้น รัฐมนตรีคลังอธิบาบว่า “เติบโตอย่างค่อยเป็นค่อยไป” แต่ผลจากสงครามยูเครนเริ่มแสดงตัวในช่วงไตรมาส 2 ของปีที่สภาพัฒน์ฯ แถลง (18 ส.ค. 65) ว่าจีดีพีโต 2.5% แม้สูงกว่าไตรมาสแรก (2.2 %) แต่ผู้ว่าแบงก์ชาติ เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ออกมาตั้งข้อสังเกตว่าตัวเลขเศรษฐกิจไตรมาส 2 ต่ำกว่าคาดการณ์ และสภาพัฒน์ฯ ได้ปรับคาดการณ์จีดีพีปีนี้อีกครั้งจาก 2.5– 3.2% มาเป็น 2.7-3.2% โดยค่ากลางอยู่ที่ 3%

ดนุชา พิชยนันท์ เลขาสภาพัฒน์ฯแถลงถึงเหตุผลที่ปรับคาดการณ์ครั้งนั้นว่า “เพื่อรองรับสถานการณ์โลกที่ยังไม่แน่นอนจากสงครามยูเครนและรัสเซีย และกรณีสหรัฐฯ จีน ไต้หวัน ซึ่งอาจกระทบการส่งออกเพราะขาดแคลนชิปในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ยานยนต์ไฟฟ้า และยังทำให้ราคาพลังงานอาจเพิ่มขึ้นได้หากมีการคว่ำบาตรเพิ่มเติม” 

สถานการณ์เศรษฐกิจเริ่มพลิกกลับในช่วงครึ่งหลังของปีเมื่อ รัฐบาลตัดสินใจเปิดประเทศเต็มรูปแบบด้วยการยกเลิกไทยแลนด์พาส (เอกสารอิเล็กทรอนิกส์สำหรับเดินทางเข้าประเทศไทย) ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคมที่ผ่านมา ส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด   

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) แถลงว่าเดือนกรกฎาคม มีนักท่องเที่ยวเข้าไทยราว 1.2 ล้านคน เป็นสถิติทะลุล้านคนครั้งแรก นับจากเกิดวิกฤติโควิดตั้งแต่ต้นปี 2563 ก่อนที่จำนวนนักท่องเที่ยวเข้าไทยจะทะลุเป้าหมาย 10 ล้านคน ขึ้นไปอยู่ที่ 11 ล้านคนเมื่อกลางเดือนธันวาคม ที่ผ่านมาลบคำคาดการณ์ของสำนักต่าง ๆ ที่วิเคราะห์ว่าจำนวนนักท่องเที่ยวเข้าไทยปีนี้จะอยู่ที่ระดับ 5 -7 ล้านคนลงอย่างสิ้นเชิง 

การฟื้นตัวของภาคท่องเที่ยว ส่งผลโดยตรงต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจในช่วงครึ่งหลังของปี การแถลงข่าวภาวะเศรษฐกิจไตรมาส 3 ของ ดนุชา  เลขาฯสภาพัฒน์ฯ (21 พ.ย. 65) ระบุว่า เศรษฐกิจกขยายตัว 4.5% ปรับฤดูกาลขยายตัวได้ 1.2% ถือว่าเป็นการขยายตัวได้ต่อเนื่อง 4 ไตรมาสตั้งแต่ปลายปี 2564 ที่ผ่านมา รวม 9 เดือนแรก เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้ 3.1% (ไตรมาสหนึ่ง 2.3% ไตรมาสสอง 2.5%) โดยได้อานิสงส์จากการฟื้นตัวของภาคท่องเที่ยว การส่งอออก เป็นแรงส่งสำคัญ   

สาเหตุที่ความเป็นไปของการท่องเที่ยวมีผลต่อภาคเศรษฐกิจเร็วชนิดเห็นผลทันใจ หนึ่ง เป็นเพราะภาคท่องเที่ยวมีสัดส่วนราว 12 % ของขนาดเศรษฐกิจ สองเพราะเป็นอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลากหลายประเภท ทำให้มีการจ้างงานจำนวนมาก และสามเพราะเงินสดจากที่นักท่องที่ยวนำมาจับจ่ายเข้าถึงระบบเศรษฐกิจได้ไว

ส่วนไตรมาส 4 คาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวไม่ต่ำไปกว่าไตรมาส 3 หรือประมาณ 4% เศษ ๆ โดยมีการท่องเที่ยวเป็นกำลังหลักเช่นเดิม และจะไปจบทั้งปีที่จีดีพีขยายตัว 3.4% ตามที่รัฐมนตรีคลังอาคมประกาศเอาไว้ แม้เศรษฐกิจปีนี้ขยายตัวระดับกลางแต่ถือว่าไม่เลว หากมองความแปรปรวน ทางเศรษฐกิจจาก พิษโอมิครอน ควันไฟสงครามยูเครน ที่เกิดขึ้นตลอดปีที่ผ่านมาประกอบด้วย

เศรษฐกิจกำลังนับถอยหลังเคลื่อนตัวเข้าสู่ปี 2566 โดยมีความเสี่ยงจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่จะเกิดขึ้นกับหลายประเทศครึ่งค่อนโลก รวมถึงปัญหาสำคัญ ที่รับส่งมอบมาจากปีนี้ คือปัญหาเศรษฐกิจที่ขยายตัวไม่ทั่วถึง คอยต้อนรับอยู่ โดยสภาพัฒน์ฯ คาดการณ์ครั้งที่หนึ่งว่าปีหน้าจีดีพีจะขยายตัว 3.8% ส่วนการปรับคาดการณ์ที่จะมีขึ้นในวันข้างหน้าจะขึ้นหรือลงมาคอยลุ้นกัน เพราะเศรษฐกิจยุคหลังโควิด ความไม่แน่นอน นั่นละคือ สิ่งที่แน่นอน …. สวัสดีปีใหม่ครับ

ผู้เขียน: “ชญานิน ศาลายา” เป็นนามปากกาของ “คนข่าว” ที่เฝ้ามองการเปลี่ยนแปลงของวัฎจักรเศรษฐกิจตลอดช่วง 4 ทศวรรษเศษ

บทความอื่น ๆ ของผู้เขียน

อย่าชะล่าใจ แม้ดอกเบี้ยขึ้นแค่ “เสี้ยวเปอร์เซ็นต์”

การฟื้นตัวของ “ท่องเที่ยว” และ “บทเรียนที่ถูกลืม”​

เอเปค 2022 …. ฝันเห็นโลกสีเขียว

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
0ผู้ติดตามติดตาม

Lastest News

ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ช่วยลูกค้าทั่วโลกลดคาร์บอนมากกว่า 90 ล้านตันในปี 2565

ชไนเดอร์ อิเล็คทริค ผู้นำระดับโลกด้านดิจิทัลทรานฟอร์เมชันด้านการจัดการพลังงานและระบบออโตเมชั่น เผยผลประกอบการปี 2565 ทั่วโลกกวาดรายได้ 34,176 ล้านยูโร

โตโยต้า ทูโช เน็กซ์ตี จับมือพันธมิตร จัดแข่งขันพัฒนาซอฟต์แวร์ขับเคลื่อนรถยนต์ไร้คนขับผ่าน Virtual Simulation

บริษัทโตโยต้า ทูโช เน็กซ์ตี อิเล็กทรอนิกส์ (ไทยแลนด์) จำกัด (NETH) จัดการแข่งขันพัฒนาซอฟต์แวร์จำลองการขับเคลื่อนรถยนต์ไร้คนขับ ผ่าน Virtual Simulation

ส่องกระแส ChatGPT เทคโนโลยีเปลี่ยนโลก

ตั้งแต่ ChatGPT ถูกเปิดตัวในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2565 มีกระแสการพูดถึงแชทบอทตัวนี้อย่างล้นหลามในหลายแวดวง เนื่องมาจาก ChatGPT มีระบบ AI ที่สามารถหาคำตอบให้คู่สนทนาได้อย่างรวดเร็ว ด้วยภาษาที่เป็นธรรมชาติและสามารถตอบคำถามที่ซับซ้อนได้

T&B เปิดตัว ศูนย์รวมทรานส์ลูเซีย เมตาเวิร์ส ที่แรกของโลก พร้อมนำธุรกิจบันเทิงเข้าสู่โลกเสมือนเต็มตัว

บริษัท ทีแอนด์บี มีเดีย โกลบอล (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ผลิตซีรีส์แอนิเมชั่นและคอนเทนต์เพื่อความบันเทิงชั้นนำของประเทศไทย จัดงาน “The Universe of Happiness” เปิดตัวโครงการใหญ่ ศูนย์รวมแห่งเมตาเวิร์ส ทรานส์ลูเซีย

ช่อง 8 ต้อนรับ “พุทธอภิวรรณ” นั่งแท่นผู้อำนวยการใหญ่ฝ่ายข่าวคนใหม่ ดันเรตติ้ง

หลังจาก เฮียฮ้อ-สุรชัย เชษฐโชติศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) หรือ อาร์เอส กรุ๊ป ประกาศผ่านทวิตเตอร์ส่วนตัว ต้อนรับ พุทธอภิวรรณ องค์พระบารมี เป็นผู้อำนวยข่าวสถานีโทรทัศน์ช่อง 8 คนใหม่

Helperlink แพลตฟอร์มออนไลน์ตัวกลางจัดหางานซาอุฯ เปิดลงทะเบียนฟรี ค่าแรงสูง-สวัสดิการดี

Helperlink แพลตฟอร์มออนไลน์จัดหางานในราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย ตัวกลางเชื่อมโยงนายจ้างและแรงงานผู้ช่วยดูแลงานบ้าน เปิดให้ลงทะเบียนฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย

AIS โชว์ศักยภาพบนเวทีโลก คว้ารางวัล WSIS Prize 2023

AIS พาโครงการ “อุ่นใจ CYBER” เป็นตัวแทนประเทศ คว้ารางวัลด้านความยั่งยืนระดับโลก ติดอันดับ 1 ใน 5 จาก 1,800 โครงการทั่วโลก

เสียวหมี่ เปิดตัว Xiaomi 13 Series “co-engineered with Leica” สมาร์ทโฟนเรือธงรุ่นล่าสุด

เสียวหมี่ ประกาศเปิดตัวผลิตภัณฑ์สมาร์ทโฟนเรือธงรุ่นล่าสุด – Xiaomi 13 Series – สู่ตลาดต่างประเทศ ณ งานเปิดตัวผลิตภัณฑ์ ที่เมืองบาร์เซโลนา ประเทศสเปน

เทนเซ็นต์ คลาวด์ ส่ง Metaverse Solution Suite ยกระดับผู้ประกอบการไทย

จากการพัฒนาอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีดิจิทัล ส่งผลให้การเชื่อมต่อระหว่างโลกเสมือน และโลกความเป็นจริงแข็งแกร่งมากขึ้น หลายองค์กรเริ่มมองหาโอกาสจากการสร้างแพลตฟอร์ม

ย้อนเวลาสู่อาณาจักรโรมัน…ตามล่าบทเรียนวิกฤติการเงินเขย่าโลก

หากคุณได้ติดตามข่าวมาบ้าง น่าจะรู้ว่าในปี 2565 ที่ผ่านมาได้เกิดความผันผวนขึ้นอย่างหนักในโลกการเงิน จนหลายคนภาวนาอยากให้วิกฤติต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นผ่านพ้นไปเสียที

MUST READ

คลิปวิดีโอ ‘Gift To Gifted เด็กเก่ง แจ้งเกิด’ จาก CRC ยอดวิวทะลุ 16 ล้าน มุ่งสานฝันเด็กไทยให้เป็นจริง

บริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ CRC เล็งเห็นถึงความสำคัญในเรื่อง ความเหลื่อมล้ำ และการสร้างความเท่าเทียมทางการศึกษาในสังคมไทย

พลัส พร็อพเพอร์ตี้ ตั้งเป้าปี 66 รายได้ 1,700 ล้าน ขยายพอร์ตกว่า 400 โครงการ

พลัส พร็อพเพอร์ตี้ ผู้นำในธุรกิจพร็อพเพอร์ตี้ แมเนจเมนต์ไทย เผยผลงานบริหารจัดการโครงการ ด้วยพื้นที่บริหารมากที่สุดกว่า 18 ล้านตร.ม.

การ์ทเนอร์ ชี้ปี 2566 คือช่วงเวลาสำคัญของรถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ (BEVs)

การ์ทเนอร์ ชี้มีปัจจัยหลายประการที่ทำให้ปี 2566 กลายเป็นบททดสอบอย่างแท้จริงในการแก้ไขปัญหาของภาครัฐบาลและภาคอุตสาหกรรมยานยนต์

เอส โคล่า อัพเลเวลแบรนด์ครั้งใหญ่ เดินหน้าสร้างความแตกต่าง ปรับสูตร-ปรับโฉมใหม่

เอส โคล่า อัพเลเวลแบรนด์ครั้งใหญ่ในรอบทศวรรษ เดินหน้าสร้างความแตกต่าง ปรับสูตร-ปรับโฉมใหม่ ส่งแคมเปญโดนใจ “Born to be Awesome เกิดมาซ่า..กล้าเป็นตัวเอง”

CBDC คืออะไร รู้จักอนาคตของเงินบาท บนเทคโนโลยีบล็อกเชน

เมื่อไม่นานมานี้ แนวคิดเกี่ยวกับสกุลเงินดิจิทัลของธนาคารกลาง (CBDC) ได้รับความสนใจอย่างมากในโลกของการเงิน แล้ว CBDC คืออะไร ทำไมถึงสร้างขึ้นบนบล็อกเชน เรามารู้จักกับ CBDC พร้อมกับประโยชน์ของมันในบทความนี้กันได้เลย
Newsletter

สนใจรับข่าวสารจาก The Story Thailand อัพเดตก่อนใคร สมัคร Newsletter กับเราเพียงกรอกอีเมลเท่านั้น