TH | EN
TH | EN
หน้าแรกTechnologyสภาวิศวกร เตรียมปรับเงื่อนไขยื่นขอ “ใบประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม” หนุนวิศวกรรุ่นใหม่

สภาวิศวกร เตรียมปรับเงื่อนไขยื่นขอ “ใบประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม” หนุนวิศวกรรุ่นใหม่

สภาวิศวกร เล็งปรับเงื่อนไขยื่นขอ “ใบประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม” หนุน “วิศวกรรุ่นใหม่” รับยุคดิสรัปชัน ผ่านการนำเสนองานวิจัย หรือแผนดำเนินการแก้ไขสอดคล้องสถานการณ์สังคม อาทิ วิกฤติสุขภาพโควิด-19 หรือภัยธรรมชาติ รุดกระตุ้นวิศวกรรุ่นใหม่ พร้อมรับทุกความเปลี่ยนแปลงในยุคดิสรัปชัน บนพื้นฐานของความเชี่ยวชาญงานวิศวกรรมทุกมิติ นอกจากนี้ ศาสตราจารย์ ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ นายกสภาวิศวกร ยังแนะการปรับโครงสร้างอาคาร-สิ่งก่อสร้าง รับ NEW NORMAL ลงทุนสูง ย้ำทุกหน่วยงานยึดหลัก “เว้นระยะห่างทางสังคม – รักษาความสะอาด” ต่อเนื่อง ป้องกันโควิด-19 โดยคาดว่าจะสิ้นสุดไม่เกินปี 2564

-วิศวฯ จุฬาฯ จับมือ หัวเว่ย เซ็น MOU ยกระดับงานวิจัยและสิ่งประดิษฐ์ ด้วย 5G, Cloud, AI
-วิศวะฯ ธรรมศาสตร์ เปลี่ยนงานวิจัยสู่นวัตกรรมใช้ได้จริง

ศาสตราจารย์ ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ นายกสภาวิศวกร เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในประเทศไทยที่ผ่านมา สังเกตได้ว่า นอกเหนือจากองค์ความรู้ด้านการแพทย์ที่มีบทบาทสำคัญในการคัดกรองผู้เสี่ยงติดเชื้อ และการตรวจรักษา ความเชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมศาสตร์ ก็มีบทบาทสำคัญในการพัฒนานวัตกรรม หรือสิ่งประดิษฐ์ที่สนับสนุนการทำงานของทีมแพทย์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ดังนั้น สภาวิศวกร ในฐานะหน่วยงานที่ควบคุมมาตรฐานวิชาชีพของวิศวกรไทย จึงเตรียมปรับเงื่อนไขการยื่นขอ “ใบประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม” และการสอบเลื่อนขั้น ผ่านการนำเสนอผลงานด้านวิศวกรรม ที่มีส่วนช่วยแก้ไขหรือบรรเทาสถานการณ์โควิด-19 หรือภัยพิบัติธรรมชาติ ให้เป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น เพื่อให้วิศวกรรุ่นใหม่พร้อมเผชิญความเปลี่ยนแปลงยุคดิสรัปชัน บนพื้นฐานของความเชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมครบทุกมิติ

ทั้งนี้ การเปลี่ยนแปลงดังกล่าว จะไม่สามารถเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมได้ หากขาดความร่วมมือจากทุกมหาวิทยาลัย ที่มีการเรียนการสอนในคณะวิศวกรรมศาสตร์ ในการบ่มเพาะทักษะการเรียนรู้นักศึกษา ให้มีความคิดอ่านที่เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคม ภาคอุตสาหกรรม ตลอดจนเทคโนโลยีด้านวิศวกรรมในอนาคต

อย่างไรก็ดี แม้สถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทย จะคลี่คลายลง แต่หลายภาคส่วนยังคงให้ความสำคัญกับมาตรการควบคุมอย่างต่อเนื่อง ทั้งการรักษาระยะห่างทางสังคม (Social distance) การทำความสะอาดด้วยเทคโนโลยีฆ่าเชื้อ และมาตรการตรวจคัดกรองบุคคลด้วยการวัดอุณหภูมิ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดซ้ำ นอกจากนี้ การปรับโครงสร้างอาคาร/โครงสร้างสาธารณะ ยังเป็นอีกหนึ่งแนวทางแก้ไขในระยะยาว ที่หลายหน่วยงานให้ความสนใจรับวิถีนิวนอร์มอล (New Normal) ซึ่งต้องยอมรับว่าการปรับเปลี่ยนดังกล่าว เป็นการลงทุนค่อนข้างสูง และอาศัยเวลานาน ดังนั้น ในกรณีที่หน่วยงานมีความต้องการปรับโครงสร้างเร่งด่วนและต้นทุนต่ำ สามารถใช้ “ฉากกั้น” แบ่งโซนพื้นที่ทานข้าว-ทำงานเพื่อรักษาระยะห่างระหว่างบุคคล คู่ขนานกับการนำเทคโนโลยีฆ่าเชื้อเข้ามาปรับใช้ ทั้งนี้ คาดว่าสถานการณ์ดังกล่าวจะสิ้นสุดไม่เกินปี 2564 ศาสตราจารย์ ดร.สุชัชวีร์ กล่าวทิ้งท้าย

ข่าวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

-ไขข้อข้องใจ “ภาษีที่ดิน” จ่ายเท่าไหร่ จ่ายที่ไหน และใครได้ประโยชน์?
-ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองเศรษฐกิจฟื้นตัวลักษณะ U-Shaped ขณะที่ปรับจีดีพีปีนี้หดตัว 10%
-ETDA ประกาศบทบาท “ผู้กำกับดูแลธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์”
-ซีพีแรม ร่วมกับ มีเดียอาตส์ มจธ. เดินหน้าชวน นร.- นศ. สร้างพลัง “คนรุ่นใหม่ไร้ Food Waste”

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ