TH | EN
TH | EN
หน้าแรกTechnology'เจ้าพ่อแห่ง AI' โบกมือลา Google ขอทำหน้าที่ เตือนอันตราย เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์

‘เจ้าพ่อแห่ง AI’ โบกมือลา Google ขอทำหน้าที่ เตือนอันตราย เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์

ต้องยอมรับว่า นับตั้งแต่ที่ OpenAI ประกาศเปิดตัวโชว์ศักยภาพ ChatGPT ที่น่าทึ่ง บรรดาบุคคลผู้มีชื่อเสียงในแวดวงต่าง ๆ เช่น มหาเศรษฐีนักธุรกิจ Elon Musk, นักปัญญาชนฝ่ายซ้าย Noam Chomsky และ รัฐบุรุษวัย 99 ปี Henry Kissinger ต่างออกมาแสดงความกังวลต่อ “ความฉลาด” ของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่แตกต่างกันออกไป

อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่า คำเตือนและความกังวลล่าสุดจาก Geoffrey Hinton จะมีน้ำหนักและได้รับความสนใจเป็นพิเศษ เนื่องจากถือเป็นความกังวลจากคนในแวดวงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี AI โดยตรง โดย Hinton ได้ชื่อว่าเป็นนักวิจัย AI รุ่นบุกเบิก จนได้รับการขนานนามในวงการว่าเป็น “Godfather of AI” หรือ “เจ้าพ่อแห่ง AI”

โดยล่าสุด Hinton ได้ตัดสินใจยื่นใบลาออกจากตำแหน่งงานใน Google ซึ่งมีเป้าหมายหลักเพื่อให้ตนเองมีอิสระเสรีที่จะสามารถพูดเกี่ยวกับอันตรายของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ที่ตนเองมีส่วนช่วยสร้างได้มากขึ้น

รายงานระบุว่า ตลอดอาชีพการทำงานที่ยาวนานหลายทศวรรษ งานบุกเบิกของ Hinton เกี่ยวกับการเรียนรู้เชิงลึกและโครงข่ายประสาทเทียมมีบทบาทสำคัญในการช่วยวางรากฐานสำหรับเทคโนโลยี AI ส่วนใหญ่ที่เราเห็นในปัจจุบัน

ทั้งนี้ ในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา มีการเปิดตัว AI จากบริษัทน้อยใหญ่อย่างต่อเนื่อง โดยมี OpenAI สตาร์ทอัพในซานฟรานซิสโก ซึ่งเป็นบริษัทที่ได้รับการสนับสนุนจาก Microsoft ที่อยู่เบื้องหลัง ChatGPT เป็นตัวจุดกระแสที่ทำให้ AI ได้รับการจับตามอง โดยล่าสุด OpenAI เพิ่งจะเปิดตัวโมเดลปัญญาประดิษฐ์รุ่นล่าสุด GPT-4 ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ขณะที่ยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีรายอื่น ๆ ต่างก็ประกาศเปิดเผยเรื่องการลงทุนในเครื่องมือด้าน AI เช่นกัน ซึ่งรวมถึง Google คู่แข่งรายสำคัญของ Microsoft ที่เพิ่งมีการเปิดตัว “Bard” AI ที่ทาง Google เฝ้าซุ่มพัฒนามานาน ขณะที่ IBM, Amazon, Baidu และ Tencent ต่างก็กำลังเร่งพัฒนาเทคโนโลยีที่คล้ายกันอย่างคึกคัก

ในมุมมองของ Hinton แชทบอทปัญญาประดิษฐ์ มีอันตรายบางประการที่น่ากังวล ซึ่งขณะนี้ AI ยังไม่สามารถฉลาดเท่ามนุษย์ แต่อีกไม่นาน AI จะฉลาดเท่าทันมนุษย์ โดย Hinton ได้ให้สัมภาษณ์ กับ MIT Technology Review ว่า ความฉลาดที่เท่ามนุษย์ อาจมี “ผู้ไม่ประสงค์ดี” ใช้ AI ในลักษณะที่อาจส่งผลเสียต่อสังคม เช่น การจัดการเลือกตั้งหรือยุยงให้เกิดความรุนแรง

Hinton ในวัย 75 ปีกล่าวว่า ขอเกษียณงานจาก Google เพื่อให้ตนเองมีอิสระในการที่จะสามารถเอ่ยปากเตือนถึง อันตรายของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ที่เจ้าตัวมีส่วนในการพัฒนาขึ้นมานี้ได้อย่างเต็มที่

“ผมต้องการพูดคุยเกี่ยวกับปัญหาด้านความปลอดภัยของ AI โดยไม่ต้องกังวลว่ามันจะโต้แย้งกับธุรกิจของ Google อย่างไร ซึ่งตราบเท่าที่ Google จ่ายเงินให้ผม ผมก็ไม่สามารถพูดเตือนใดๆ ที่ขัดแย้งได้”

กระนั้น Hinton ยังกล่าวว่า ไม่ได้มีแต่คำเตือนเท่านั้นที่เจ้าตัวจะพูดถึง เพราะสิ่งดี ๆ เกี่ยวกับความรับผิดชอบที่มีต่อการพัฒนา AI อย่างมากของ Google เป็นสิ่งที่ Hinton ต้องการพูดถึงเช่นกัน แต่ความคิดเห็นดังกล่าวจะน่าเชื่อถือมากกว่านี้มากถ้า Hinton ไม่ได้อยู่ที่ Google อีกต่อไป

ด้าน Google ยืนยันว่า Hinton ลาออกจากตำแหน่งหลังจากดูแลทีม Google Research ในโตรอนโตมา 10 ปี

สำหรับหัวใจสำคัญของการถกเถียงเกี่ยวกับสถานะของ AI คือ อันตรายหลักที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยด้านหนึ่งเป็นสถานการณ์สมมติของความเสี่ยงที่มีอยู่ซึ่งเกิดจากคอมพิวเตอร์ที่ควบคุมสติปัญญาของมนุษย์ อีกด้านหนึ่งคือข้อกังวลเกี่ยวกับเทคโนโลยีอัตโนมัติที่ภาคธุรกิจและรัฐบาลนำไปใช้กันอย่างแพร่หลาย และอาจก่อให้เกิดอันตรายในโลกแห่งความเป็นจริงได้

Hinton ยอมรับว่า เคยเชื่อว่า AI ก็ไม่น่าจะฉลาดกว่าคนได้ในระยะ 30-50 ปีนี้ แต่ความเชื่อดังกล่าวไม่ใช่อีกต่อไปแล้ว โดย Hinton กล่าวว่า ในไม่ช้า  AI จะฉลาดเทียบเท่ามนุษย์ และอาจเหนือกว่า ซึ่งความฉลาดดังกล่าวมีทั้งดีและร้าย เช่น AI สามารถช่วยส่งเสริมการรักษาพยายาล แต่ AI ก็สามารถสร้างอาวุธสังหารได้เช่นกัน

Hinton แสดงความกังวลว่าศักยภาพของ AI จะส่งผลให้มีการกำจัดงานบางอย่างและสร้างโลกที่หลายคนจะ “ไม่สามารถรู้ได้ว่าอะไรคือความจริงอีกต่อไป” นอกจากนี้ เจ้าตัวยังชี้ให้เห็นถึงความก้าวหน้าอันน่าทึ่งของ AI ซึ่งไกลเกินกว่าที่ Hinton และคนอื่น ๆ คาดการณ์ไว้

Hinton ย้ำว่า ความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วของ AI กำลังจะเปลี่ยนแปลงสังคมในรูปแบบที่คนไม่เข้าใจอย่างถ่องแท้

Alondra Nelson ซึ่งดำรงตำแหน่งหัวหน้าสำนักงานวิทยาศาสตร์และทำเนียบขาวกล่าว นโยบายเทคโนโลยีและการผลักดันให้กำหนดแนวทางเกี่ยวกับการใช้เครื่องมือ AI อย่างมีความรับผิดชอบ โดยไม่ว่าจะดีหรือไม่ก็ตาม สิ่งที่แชทบอททำนั้นทำให้ AI กลายเป็นบทสนทนาระดับชาติและการสนทนาระหว่างประเทศที่ไม่ได้มีเฉพาะผู้เชี่ยวชาญด้าน AI และนักพัฒนาเท่านั้นที่เข้ามามีส่วนร่วม

Nelson อธิบายว่า AI ไม่ได้เป็นนามธรรมอีกต่อไป และตนคิดว่า มีโอกาสเปิดมากมายในการสนทนาถึงสิ่งที่ต้องการจาก AI ในอนาคต โดยเป็น AI ที่ต้องเป็นประชาธิปไตย และเป็นเทคโนโลยีที่ไม่ได้มุ่งแต่แสวงผลประโยชน์เพื่อฝ่ายหนึ่งใดแต่เพียงอย่างเดียวอีกต่อไป

ทั้งนี้ บรรดานักวิจัยด้าน AI จำนวนหนึ่งได้ออกมาแสดงความกังวลมานานแล้วเกี่ยวกับอคติทางเชื้อชาติ เพศ และรูปแบบอื่น ๆ ในระบบ AI รวมถึงรูปแบบภาษาขนาดใหญ่ที่ใช้ข้อความซึ่งได้รับการฝึกฝนเกี่ยวกับการเขียนของมนุษย์และสามารถขยายการเลือกปฏิบัติที่มีอยู่ในสังคม

Sarah Myers West กรรมการผู้จัดการของสถาบัน AI Now Institute องค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไรกล่าวว่า “เราต้องถอยออกมาหนึ่งก้าวและคิดให้จริง ๆ ว่าความต้องการของใครถูกให้ความสำคัญและเป็นศูนย์กลางในการอภิปรายเกี่ยวกับความเสี่ยง และอันตรายที่เกิดขึ้นจากระบบ AI ทุกวันนี้ส่วนหนึ่งเป็นเพราะเทคโนโลยีดังกล่าวไม่ได้ถูกกระจายอย่างเท่าเทียมกัน ทำให้รูปแบบของความไม่เท่าเทียมกันที่มีอยู่แล้วแย่ลงอย่างมาก”

Hinton ถือเป็น 1 ใน 3 ของนักบุกเบิกด้าน AI ซึ่งในปี 2019 เจ้าตัวได้รับรางวัล Turing Award รางวัลเกียรติยศที่เป็นที่รู้จักในฐานะรางวัลโนเบลสาขาอุตสาหกรรมเทคโนโลยี โดยผู้ชนะอีกสองคน ได้แก่ Yoshua Bengio และ Yann LeCun ซึ่งทั้งสองได้มีการออกมาแสดงความกังวลเกี่ยวกับอนาคตของ AI เช่นกัน

โดย Bengio ศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัยมอนทรีออลได้ลงนามในคำร้องเมื่อปลายเดือนมีนาคมเพื่อเรียกร้องให้บริษัทเทคโนโลยีทั้งหลายตกลงเห็นชอบที่จะระงับการพัฒนาระบบ AI เป็นเวลา 6 เดือน ในขณะที่ LeCun นักวิทยาศาสตร์ AI ชั้นนำของ Meta บริษัทแม่ของเฟซบุ๊ก ได้ออกมาท้วงติงเช่นกัน แต่เป็นไปในแนวทางบวกมากกว่า

ที่มา AP News

ข่าวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

นวัตกรรมเด่น 6 คลัสเตอร์ ในงาน KMITL Innovation Expo 2023 ขับเคลื่อนสู่เวทีโลกสิริกิต

‘ไชน่า โมบายล์’ ทุ่มเกือบ 9 หมื่นล้านหยวน ในโครงสร้างพื้นฐาน ‘คลาวด์’

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ