TH | EN
TH | EN
หน้าแรกLife“คนรุ่นใหม่หัวใจรักบ้านเกิด” สร้างธุรกิจจากสินค้าในชุมชน

“คนรุ่นใหม่หัวใจรักบ้านเกิด” สร้างธุรกิจจากสินค้าในชุมชน

ปัจจุบันประเทศไทยเผชิญปัญหาการรวมตัวและประชาการหนาแน่น โดยเฉพาะในจังหวัดกรุงเทพมหานคร มีสาเหตุหลักที่สำคัญเนื่องจากเยาวชนหรือบุคคลในต่างจังหวัด ในหลายชุมชนย้ายตัวเข้ามาทำงานในกรุงเทพ กลายเป็นอีกหนึ่งปัญหาสำคัญที่ทำให้กรุงเทพมหานครมีประชากรเยอะมากขึ้น มีคนรุ่นใหม่หัวใจรักบ้านเกิดที่นำเอานวัตกรรม ข้อดี รวมถึงผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ภายในชุมชนมาทำให้เกิดมูลค่ามากที่สุด และช่วยให้ชุมชนสามารถดึงเอาคนในท้องถิ่นกลับมาอาศัยภายในจังหวัด ได้มาแชร์ไอเดียและข้อคิดของการทำธุรกิจจากสินค้าในชุมชน

เปิดร้านกาแฟสร้าง ECO SYSTEM การท่องเที่ยว

กุลชาติ เค้นา เจ้าของฟาร์มคิด (ภูผาม่าน ขอนแก่น) เล่าว่า ก่อนหน้านี้เริ่มต้นจากการเป็นพนักงานประจำในกรุงเทพฯ ทำงานนักออกแบบที่ตึกในตลาดหลักทรัพย์ จนกระทั่งต้องกลับบ้านไปดูแลแม่ที่กำลังป่วยจึงกลับไปเริ่มต้นใหม่ที่บ้านเกิด จังหวัดขอนแก่น ลาออกจากบริษัทเดิมแล้วไปสมัครอีกบริษัทที่สามารถ Work Remote ได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อปี 2562 ก่อนเกิดสถานการณ์โควิด-19 6 เดือน ในตอนแรกอยากกลับมาทำธุรกิจที่บ้านเกิด แต่ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย 

ก่อนจะมาเป็นฟาร์มคิดเคยเปิดร้านขายหมูกระทะมาก่อน ช่วงแรกสามารถขายได้สูงถึง 7,000 บาทต่อวัน แต่พอมาช่วงหลังๆเหลือแค่ 150 บาทต่อวัน จึงได้เรียนรู้ตนเองวิเคราะห์พฤติกรรมของผู้บริโภคผิด เลยต้องหาวิธีใหม่เพื่อให้อยู่รอด จนกลายมาเป็นฟาร์มคิด ณ ปัจจุบัน 

ตอนเริ่มจริง ๆ แล้วต้องการทำเป็นชุดปลูกผักด้วยอุดมคติว่าจะมีคนซื้อ ปรากฏว่าทำแล้วไม่มีคนซื้อเลย แต่ฟาร์มคิดจริง ๆ แล้วตอนนั้นลองตลาดด้วยการหาวิธีให้ตัวเองรอด ก็เลยชวนเพื่อนมาเที่ยวภูผาม่าน เพราะต้องการทำให้ภูผาม่านกลายเป็นเมืองท่องเที่ยว เนื่องจากภูผาม่านเป็นเมืองผ่าน เป็นเมืองรอง เพื่อไปน้ำหนาว ภูกระดึง คนส่วนใหญ่จึงมักขับผ่านไป 

เมื่อเห็นว่าทิวทัศน์ของภูผาม่านน่าจะสามารถนำมาขายได้ จึงเปลี่ยนจากหมูกระทะและฟาร์มคิด ชุดผักสำเร็จรูปมาเป็นร้านกาแฟ ร้านกาแฟถือเป็นจุดเริ่มต้นในการตรวจสอบความต้องการของตลาดว่าจะมีคนมาเที่ยวที่ภูผาม่านจริงไหม ก่อนเปิดร้านกาแฟคุณกุลชาติตัดสินใจชวนเพื่อมาที่ภูผาม่านและได้รับผลตอบกลับว่า ภูผาม่านไม่สามารถเป็นเมืองท่องเที่ยวได้ เพราะไม่มี Eco System ในการท่องเที่ยว หมายถึงไม่มีรีสอร์ทที่ดีพอ ไม่มีร้านกาแฟให้นั่งทำงาน เลยตัดสินใจเปิดร้านกาแฟด้วยตนเอง สำหรับธุรกิจร้านกาแฟรายได้ไม่ใช่จุดประสงค์หลัก เพียงแค่ต้องการสร้าง Eco System ด้านการท่องเที่ยว แต่จุดเปลี่ยนที่ทำให้ภูผาม่านกลายเป็นเมืองท่องเที่ยวจริง ๆ คือการหามุมใหม่ ๆ เพื่อโปรโมทภูผาม่าน รวมถึงช่วงโควิดคนไปเที่ยวต่างประเทศไม่ได้ นักท่องเที่ยวเลยมองหาสถานที่ใหม่ ๆ ก็กลับกลายมาเป็นโอกาส ทำให้จากภูผาม่านกลายมาเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ทำให้คนในชุมชนเริ่มหันมาเปิดรีสอร์ท โฮมสเตย์ หารายได้เข้าชุมชนมากขึ้น

“ผมตกผลึกได้ 2 เรื่องจากธุรกิจในครั้งนี้ 1) ถ้าจะทำธุรกิจต้องมีสภาพคล่องทางการเงิน 2) มีระบบการทำงานที่เป็นระบบ หากมี 2 เรื่องนี้ในการทำธุรกิจยังไงก็ไปรอด” กุลชาติ กล่าว  

แสดงเอกลักษณ์ท้องถิ่นผ่านโลกโซเชียล

ธนาวัฒน์ จันนิม เจ้าของกิจการโอวาข้าวหอมมะลิแท้สุรินทร์ 100% เล่าว่า ก่อนเริ่มกิจการ โอวาข้าวหอมมะลิแท้สุรินทร์ 100% ตอนนั้นอยู่ในสถานะตกงาน ตำแน่งประชาสัมพันธ์เป็นพนักงานของรัฐ จึงตัดสินใจกลับไปที่บ้านเกิด เนื่องจากอยู่ในช่วงสถานการณ์โควิด รวมถึงค่าใช้จ่ายในกรุงเทพฯ ที่สูงจนต้องบริหารเงินที่มีอยู่ให้ได้มากที่สุด ตอนนั้นมองว่าการจะประหยัดเงินให้ได้มากที่สุดคือการกลับไปอยู่ที่บ้าน 

ณ ตอนนั้นยังไม่มีแผนในการทำธุรกิจ แค่กลับไปเยียวยาตัวเองจากการเงินที่ค่อย ๆ หมดไปเรื่อย ๆ จึงต้องหาพื้นที่เพื่อเติบโต ในช่วงแรกนอนอยู่บ้าน และรู้สึกว่าตนเป็นผู้แพ้ เนื่องจากความคิดของคนต่างจังหวัดที่มองว่าเมื่อลูกเรียนจบต้องไปทำงานอยู่ในกรุงเทพฯ ถ้าใครกลับมาอยู่บ้านคือพวกขี้แพ้ ต้องทำงานในกรุงเทพฯ ส่งเงินให้แม่ ช่วงนั้นต้องสู้กับความคิดนี้ของคนรอบข้างเยอะมากจนเป็นซึมเศร้า คิดว่าที่บ้านไม่มีความเป็นเซฟโซนเลย หรือที่จริงอาจเพราะคิดว่าเซฟโซนต้องมีคนมอบให้ แต่ในความจริงสามารถสร้างเซฟโซนด้วยตัวเองได้ จึงตัดสินใจมาสร้างเซฟโซนในโลก Social Media ด้วยการเปิดช่อง 

จุดประสงค์ของการเปิดช่องคืออยากขายข้าวเพราะข้าวหอมมะลิสุรินทร์อร่อย เวลาคนพูดถึงข้าวหอมมะลิสุรินทร์อาจคิดว่าต้องไปซื้อที่โลตัส แมคโคร แต่จะมั่นใจได้อย่างไรว่าสินค้าที่ถูกนำมาขายเป็นข้าวหอมมะลิสุรินทร์แท้ 100% ไม่ได้ถูกนำไปผสมกับอย่างอื่น เลยนำเอา pain point ตรงนี้มาตั้งว่าตัวเองเป็นคนสุรินทร์แท้ และแสดงเอกลักษณ์ ตัวตน ความเป็นท้องถิ่นเข้าไปในช่อง ทำตัวเองให้ดัง ให้คนติดตาม จากนั้นเริ่มมีเบื้องหลังการถ่ายทำใส่ลงไปด้วยว่าตนเป็นกระเทยทำนา เอาข้าวมาผูกไว้กับช่องผลปรากฏว่าขายหมด 10 ตันภายในเดือนเดียวและกลายเป็นอินฟลูเอนเซอร์ 

ที่มาของชื่อ กระเทยขายข้าว เนื่องจากตนเป็นกระเทยที่ขายข้าว รวมถึงคนในโซเชียลไม่ชอบอะไรที่ซับซ้อน นอกจากนี้ กระเทยส่วนใหญ่มักขายส้มตำ ยำ ดังนั้นเมื่อถูกถึงกระเทยขายข้าวคนส่วนใหญ่ก็จะนึกถึงโอวา ตอนถ่ายคลิปแรก ๆ ถูกคนมองว่าบ้า แต่เราเลือกที่จะไม่แคร์ สุดท้ายพอผู้ติดตามเยอะ ขายข้าวได้เยอะ จากคนบ้ากลายเป็นปราชญ์ของชุมชน คนเข้ามาถามวิธีการขายและทำตามกันหมด แต่ขายได้ไม่เยอะเท่า เพราะก่อนทำคอนเทนต์ โอวาคิดไว้แล้วไม่ใช้สักแต่ว่าทำ แต่ทำให้คนเห็นทุกกระบวนการของการขายข้าวตั้งแต่เก็บเกี่ยวจนถึงการแพ็คขาย เพื่อให้ทุกคนเชื่อมั่นในสินค้า 

สุดท้ายอยากฝากถึงคนรุ่นใหม่ที่อยากกลับไปทำธุรกิจที่บ้านว่าให้ลองดูก่อน บางคนอาจเป็นผู้แพ้ในสถานที่หนึ่งแต่อาจเป็นผู้ชนะในอีกสถานที่หนึ่ง ลองค้นหาศักยภาพและภูมิปัญญาของบ้านเกิดแล้วเอาความสมัยใหม่มาร่วมพัฒนา ให้ได้เรียนรู้และเติบโต ครูที่ยิ่งใหญ่คือความผิดพลาดแต่สุดท้ายจะกลายเป็นความสำเร็จ 

เพิ่มช่องทางขายสินค้า เพิ่มโอกาสการเติบโต 

ศุภเศรษฐ์ กิตติพล บีสุขฟาร์ม (ระยอง) กล่าวว่า ตนเองมีความโชคดี เนื่องจากเป็นลูกชาวสวนและเรียนจบแล้ว แตกต่างจากคนปกติที่หลังเรียนจบก็เริ่มหางานทำ ซึ่งตนเป็นลูกชาวสวนคนเล็ก ตอนนั้นที่สวนมีผลไม้ทั้งทุเรียน มังคุด รวมถึงกฤษณา แต่ไม่มีคนรับช่วงดูแลต่อ เป็นอีกหนึ่งความยากเพราะเรียนจบจากในเมืองแล้วต้องกลับไปทำสวน ใช้เวลาตัดสินใจอยู่นานพอสมควรเพราะถ้ากลับไปดูแลสวน จะไม่มีงานประจำ ไม่มีตำแหน่ง แต่กลับกันอาชีพนี้เป็นอาชีพที่ส่งให้เรียนจนจบ สุดท้ายก็เลือกที่จะกลับบ้านมาทำ 

ตอนที่กลับไปทำธุรกิจกฤษณาดีอยู่แล้ว ยังคงทรงตัวไปได้เรื่อย ๆ แต่ก็มีปัญหาจากการขายสินค้าค่อนข้างยาก คนไม่ค่อยรู้จักไม้กฤษณาทำให้ขายแทบไม่ได้เลย คาดว่าหลายคนอาจเคยได้ยินชื่อไม้กฤษณากันมาก่อน แต่ไม่เคยใช้ เมื่อขายในประเทศไทยไม่ค่อยได้จึงส่งขายต่างประเทศเป็นหลัก ชาวบ้านและคนในชุมชนที่ปลูกกันไม่ค่อยมีใครเอาไปขาย มีแค่ครอบครัวของตนกับผู้นำชุมชนที่ตั้งใจไปหาตลาด กลายเป็นว่าตนมีลู่ทางที่มากกว่าคนอื่นออกไปหาผู้ซื้อไปแสดงสินค้า ติดต่อผู้รับซื้อโดยตรง

ศุภเศรษฐ์ ต้องการกลับไปช่วยเพิ่มช่องทางในการขายสินค้าให้กับที่บ้านให้มากขึ้น เพราะเป็น Gen ใหม่ ต้องทำอะไรให้ดีขึ้นกว่าเดิม จึงลองเริ่มต้นลองผิดลองถูกตั้งแต่วันนั้น แต่เพราะเป็นกฤษณาเลยกลายเป็นความยากทางธุรกิจ

“กลายเป็นว่าต้องเริ่มมองว่าสิ่งที่เรามีสามารถสร้างคุณค่าอะไรให้คนมาเยี่ยมชมเราได้ ก็กลายเป็นสร้างคาเฟ่กลางป่ากฤษณา เพราะเรามีสิ่งที่แตกต่างจากคนอื่นคือมีผืนป่ากฤษณาบนเนื้อที่หลายร้อยไร่ คนที่มาก็จะได้เจอกับต้นกฤษณาจริง ๆ ที่มีมูลค่าหลักแสน ได้มาทำกาแฟชุดละร้อยกว่าบาท ได้ชงกาแฟด้วยตนเอง ได้ประสบการณ์ที่หาที่ไหนไม่ได้”ศุภเศรษฐ์ กล่าว 

เมื่อก่อนคนรุ่นเก่าในชุมชนจะมองว่าเป็นเรื่องที่ไม่สามารถทำได้ เลยกลายเป็นความยากที่ต้องทำให้เขาได้เรียนรู้และพร้อมพัฒนาไปร่วมกัน ในช่วงแรกจึงเริ่มลองผิดลองถูกด้วยการยิงโฆษณา จัดกระเช้าเป็นชุดไม้กฤษณาตอนช่วงปีใหม่ใช้เงินลงทุนไปประมาณหลักพัน ถือเป็นจำนวนเงินที่เยอะในสมัยนั้นเมื่อ 10 ปีก่อน ได้ผลตอบรับได้เงินกลับมา 50,000-60,000 บาท เป็นความสำเร็จเล็ก ๆ น้อย ๆ แต่คนในชุมชนเห็น จากนั้นคนในชุมชนก็เริ่มยอมรับในแนวคิดของคนรุ่นใหม่มากขึ้น ธุรกิจทุกอย่างต้องมองจากความต้องการของลูกค้าถึงจะไปต่อได้ 

สุดท้ายความสำเร็จมาจากการลงมือทำ มาจากความล้มเหลวที่ไม่เท่ากัน ต้องลงมือทำ ลองดูก่อนโดยเรียนรู้จากความผิดพลาดของคนรุ่นเก่า ถ้าล้มให้ล้มตั้งแต่ตอนที่ยังมีกำลังลุกขึ้นมา 

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ