TH | EN
TH | EN
หน้าแรกLifeJobThai เผย 'การรับมือกับปัญหา และการคิดวิเคราะห์' เป็นทักษะที่ HR ส่วนใหญ่มองหา

JobThai เผย ‘การรับมือกับปัญหา และการคิดวิเคราะห์’ เป็นทักษะที่ HR ส่วนใหญ่มองหา

การแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้ส่งผลกระทบต่อตลาดแรงงานอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทุกองค์กรต้องมีการปรับตัวเพื่อรับมือกับสถานการณ์นี้อยู่ตลอดเวลา

แสงเดือน ตั้งธรรมสถิตย์ ผู้ร่วมก่อตั้งและหัวหน้าผู้บริหารด้านปฏิบัติการจ๊อบไทย (JobThai) เปิดเผยข้อมูลภาพรวมการหางาน สมัครงาน และการจ้างงานปี 2564 พร้อมเผยผลสำรวจการเปลี่ยนแปลงของโลกการทำงานจากฝั่งขององค์กรและฝั่งของคนทำงาน

ปี 64 มีการสมัครงานกว่า 17 ล้านครั้ง

ภาพรวมของผู้ใช้บริการหางาน และสมัครงานในปี 2564 มีการใช้งานมากกว่า 18.5 ล้านคน เติบโตขึ้น 12.38% มีการสมัครงาน 17,161,667 ครั้ง ด้านผลสำรวจรูปแบบการทำงานในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 พบว่า คนทำงานส่วนใหญ่กว่า 56.65% ไม่ได้ทำงานแบบ Work from Home ส่วนคนทำงานที่ได้ Work from Home กว่า 70.95% ให้ความคิดเห็นว่าการทำงานแบบนี้ทำให้ขาดการปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน

องค์กรต้องการแรงงานกว่า 6 แสนอัตรา

ความต้องการแรงงานขององค์กรในจ๊อบไทยแพลตฟอร์ม พบว่า องค์กรมีความต้องการแรงงานในปี 2564 ทั้งหมด 602,436 อัตรา มีอัตราการเปิดรับเพิ่มขึ้นจากปี 2563 คิดเป็น 24% โดย 5 สายงานที่เปิดรับมากที่สุด ได้แก่ 1.งานขาย 321,505 อัตรา 2.งานผลิต/ควบคุมคุณภาพ 183,903 อัตรา 3.งานช่างเทคนิค 175,083 อัตรา 4.งานธุรการ/จัดซื้อ 87,731 อัตรา 5.งานวิศวกร 81,982 อัตรา

ธุรกิจอาหารได้รับความนิยมจากผู้หางาน

5 บริษัทที่คนสมัครงานเยอะมากที่สุดในปี 2564

  1. บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) มีการสมัครงานถึง 90,727 ครั้ง
  2. บริษัท สยามแม็คโคร จำกัด (มหาชน) มีการสมัครงาน 76,642 ครั้ง
  3. บริษัท เคอรี่ เอ็กซ์เพรส (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) มีการสมัครงาน 64,558 ครั้ง
  4. บริษัท โรม อินทิเกรเต็ด ซิสเต็มส์ (ประเทศไทย) จำกัด มีการสมัครงาน 51,854 ครั้ง
  5. บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) มีการสมัครงาน 48,265 ครั้ง

ซึ่งเป็นการนับจำนวนครั้งการสมัครที่เกิดขึ้นผ่านจ๊อบไทยแพลตฟอร์ม นอกจากตัวเลขดังกล่าวแล้ว ยังมีการสมัครผ่านช่องทางต่าง ๆ เช่น การส่งใบสมัครผ่านอีเมล

ส่วนด้านธุรกิจท่องเที่ยว ธุรกิจโรงแรม ซึ่งเป็นกลุ่มธุรกิจที่ได้ผลกระทบทางลบโดยตรงจากโควิดทำให้การเปิดรับคนลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ 2563 เริ่มกลับมามีแนวโน้มความต้องการของแรงงานเพิ่มมากขึ้นในช่วงไตรมาส 4 ปี 2564 และมีแนวโน้มดีขึ้นจนถึงปัจจุบัน   

อุปสรรคในการจ้างงานช่วงโควิด

นอกจากนี้ แสงเดือนยังได้เผยผลสำรวจด้านอุปสรรคในการสรรหาบุคลากรในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งทำการสำรวจความคิดเห็นขององค์กรทั่วประเทศจำนวน 1,178 คน มีการเปลี่ยนแปลงของการสมัครงานที่เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน ดังนี้

  • ได้รับใบสมัครที่มาจากนักศึกษาจบใหม่ หรือผู้ที่ยังไม่มีประสบการณ์การทำงานเป็นจำนวนมากเพิ่มขึ้น
  • ได้รับใบสมัครงานที่คุณสมบัติไม่ตรงกับความต้องการ
  • ได้รับใบสมัครงานที่มาจากผู้สมัครที่ทำการย้ายสายงานตามลำดับ

นอกจากนี้วิกฤติโควิด ยังทำให้องค์กรมีการยกเลิกสวัสดิการต่าง ๆ ดังนี้

  1. กิจกรรมสันทนาการ เช่น งานกีฬาสี งานเลี้ยงสังสรรค์ปีใหม่ ท่องเที่ยวประจำปี
  2. จัดคอร์สอบรมและพัฒนาความรู้ภายในองค์กร
  3. โบนัส
  4. ตรวจสุขภาพประจำปี
  5. เงินรางวัลประจำปี /รางวัลพนักงานดีเด่น

ปัญหาที่ HR มักพบมากที่สุด

  1. ผู้สมัครงานไม่มาสัมภาษณ์งานโดยไม่แจ้งให้ทราบ 72.92%
  2. ผู้สมัครงานเรียกเงินเดือนสูงกว่าคุณสมบัติที่ตัวเองมี 42.11%
  3. ทักษะของผู้สมัครงานไม่ตรงหรือมีไม่มากเท่าที่ระบุไว้ในประกาศงาน 39.39%
  4. ผู้สมัครงานที่ผ่านการคัดเลือกแต่ไม่มาเริ่มงานตามกำหนด 33.11%
  5. ผู้สมัครงานไม่ศึกษาข้อมูลองค์กร 30.05%

ปัจจัยในการพิจารณาใบสมัครงาน

  1. ทักษะของผู้สมัครที่ตรงกับตำแหน่งงาน
  2. คุณสมบัติของผู้สมัครที่ตรงกับประกาศงาน
  3. ประสบการณ์เดิมจากที่ทำงานเก่า
  4. ทักษะอื่น ๆ ที่ส่งเสริมกับตำแหน่งงาน
  5. ความถูกผิดของการสะกดต่าง ๆ ในใบสมัครงาน

HR ให้ความสำคัญในการพิจารณาใบสมัครงานน้อยที่สุด

  1. ศาสนาของผู้สมัคร
  2. เพศของผู้สมัคร
  3. ตัวตนในโลกออนไลน์
  4. สถาบันที่จบการศึกษา
  5. ความสวยงามของ Resume

ทักษะการรับมือกับปัญหา และการคิดวิเคราะห์สำคัญ

โดยทักษะที่ HR มองหานอกจากทักษะเฉพาะทาง 5 อันดับ ได้แก่

  1. ทักษะการรับมือกับปัญหา สามารถปรับตัวเพื่อฟื้นฟูตัวเองเมื่อเจอกับปัญหาหรือความล้มเหลว (Resilience and Adaptability)
  2. ทักษะการคิดวิเคราะห์ (Analytical Thinking)
  3. ทักษะการคิดเชิงเหตุผลและตัดสินใจเพื่อแก้ไขปัญหาที่มีความซับซ้อน
  4. ทักษะในการรับมือและจัดการกับความเครียด เมื่อเจอกับปัญหา หรือความเปลี่ยนแปลง
  5. ทักษะในการเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ ด้วยตนเอง (Active Learning)

ครึ่งปีแรก คนทำงานยังไม่สนใจหางานใหม่

ผลสำรวจเรื่องการหางาน สมัครงานจากคนทำงานทั่วประเทศจำนวน 12,511 คน พบว่า

  • ในครึ่งปีแรกของปี 2565 กลุ่มคนทำงานประจำและสัญญาจ้าง 53.60% จะยังไม่จริงจังกับการหางานใหม่ แต่เป็นการเปิดโอกาสไว้และถ้ามีงานน่าสนใจกลุ่มจะลองสมัครงานนั้นดู
  • คนทำงานอีกกว่า 26.76% จะทำการหางานใหม่อย่างจริงจัง กลุ่มที่ไม่ได้หางานใหม่ แต่ถ้าได้รับการเสนองานให้ก็จะพิจารณา 14.58%

ปัจจัยที่คนทำงานใช้พิจารณาเลือกย้ายงานหรือทำงานในองค์กรเดิมต่อ คือ เงินเดือน สวัสดิการ โบนัส ความก้าวหน้าในอาชีพ และ การเดินทางที่สะดวก ตามลำดับ

คนหางานจะหาข้อมูลก่อนการสมัครงานผ่านช่องทางดังนี้ เว็บไซต์หางาน สมัครงาน เว็บไซต์บริษัท โซเชียลมีเดียขององค์กร ตามลำดับ

คนทำงานยังเผยสิ่งที่ทำให้รู้สึกไม่อยากสมัครงานกับองค์กร คือ 1) ต้องมีผู้ค้ำประกัน 2) ค้นหาข้อมูลบริษัทได้น้อย 3) มีการสัมภาษณ์งานมากกว่า 2 รอบขึ้นไป 4) ไม่มีความเคลื่อนไหวบน Social Media ของบริษัท และ 5) ต้องมีบุคคลรับรอง

จะเห็นได้ว่า 2 ใน 5 เรื่องที่คนทำงานให้ความสำคัญเป็นเรื่องของข้อมูลองค์กร ยิ่งในยุคที่ข้อมูลมากมายความน่าเชื่อถือเป็นสิ่งสำคัญที่องค์กรไม่ควรมองข้าม ดังนั้นฝั่งองค์กรเองควรทำเรื่องภาพลักษณ์นายจ้าง (Employer Branding) ให้มีความน่าสนใจดึงดูดให้คนอยากร่วมงานด้วย โดยการสร้างตัวตนให้คนสามารถค้นหาเจอบนออนไลน์ และต้องสื่อสารเรื่องราวขององค์กรในด้านต่าง ๆ อยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็น วัฒนธรรมองค์กร บรรยากาศในการทำงาน สวัสดิการที่น่าสนใจ อัปเดตข่าวสารและผลงาน รวมไปถึงกิจกรรมภายใน ภายนอกองค์กร

ปรับรูปแบบการทำงาน เพื่อดึงคนเก่ง รักษาพนักงานเดิม

ผลสำรวจบอกว่า ข้อดีและข้อเสียของ Work from Home ในช่วงโควิด คือ

  • ขาดการปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน
  • หลีกเลี่ยงการเมืองในองค์กรได้
  • มีเวลาพักผ่อนมากขึ้น
  • สุขภาพจิตดีขึ้น, สุขภาพกายดีขึ้น

นอกจากนี้ คนที่ได้ทำงานแบบ Work from Home ยังคาดหวังที่จะได้ทำงานแบบการทำงานแบบไฮบริด (Hybrid Working) 
หรือการทำงานที่ไม่ต้องเข้าออฟฟิศทุกวัน เพราะสามารถทำงานจากที่ไหนก็ได้ สำหรับรูปแบบในการทำงานในอนาคตเป็นสิ่งที่องค์กรควรพิจารณาปรับนโยบายให้สอดคล้องกับความต้องการของคนทำงาน เพื่อดึงดูดคนเก่งและรักษาพนักงานให้ทำงานด้วยเช่นเดียวกัน

แสงเดือนกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า จากการทำแบบสำรวจในครั้งนี้ สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาช่องว่างของทักษะ (Skill Gap) ได้อย่างชัดเจน คือ การที่คนทำงานมีทักษะในการทำงานน้อยกว่าที่นายจ้างคาดหวัง หรือมีคุณสมบัติไม่ตรงตามความต้องการของตลาดแรงงาน ซึ่งเป็นปัจจัยหลักอย่างหนึ่งที่ทำให้คนหางานสมัครงานไม่ได้งานตามที่ต้องการ

ดังนั้น คนทำงานต้องเร่งพัฒนาทักษะให้ทันกับความต้องการของตลาด เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ และ นำมาประยุกต์ใช้กับการทำงานให้ได้ ด้านนักศึกษาจบใหม่ในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ต้องเจอกับการแข่งขันที่สูง ดังนั้น ในการสมัครงานนักศึกษาจบใหม่ต้องมีการเตรียมพร้อมให้ดี ให้ความสำคัญกับการทำเรซูเม่ที่ดีให้เน้นไปที่เนื้อหาที่เราต้องนำเสนอเพื่อให้องค์กรสนใจ โดยดึงจุดเด่นทักษะที่ตรงกับประกาศงานออกมานำเสนอให้มากที่สุด หลีกเลี่ยงการใส่ข้อมูลที่ไม่เป็นประโยชน์กับตำแหน่งงานที่สมัคร และศึกษาข้อมูลขององค์กรที่เราสมัคร รวมถึงเตรียมพร้อมในการสัมภาษณ์งานให้ดี โดยศึกษาวิธีการสัมภาษณ์และซ้อมสัมภาษณ์จะช่วยลดความประหม่าและเพิ่มโอกาสในการได้งาน

ข่าวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

BMW ชวนร่วม Class of the Future เชิญ 16 ผู้เชี่ยวชาญชั้นนำของไทย เจาะลึกวิสัยทัศน์แห่งอนาคต

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา จัดงาน ‘Hatyai Extreme Festival 2022’ กระตุ้นการท่องเชี่ยวเชิงกีฬา

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ