TH | EN
TH | EN
หน้าแรกTechnologyคณะวิทย์ฯ มธ. เปิดตัว ‘SUCHADA’ บิวตี้โปรดักส์ ที่ใช้สารสกัดจากใบไผ่สายพันธุ์ไทย ครั้งแรกของโลก

คณะวิทย์ฯ มธ. เปิดตัว ‘SUCHADA’ บิวตี้โปรดักส์ ที่ใช้สารสกัดจากใบไผ่สายพันธุ์ไทย ครั้งแรกของโลก

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (SCI-TU) เปิดตัว ‘SUCHADA’ (สุชาดา) สารสกัดจากใบไผ่สายพันธุ์ ‘ซางหม่น’ ที่พบได้ในประเทศไทย ที่คิดค้นและพัฒนาจากโจทย์ของกลุ่มเกษตรกรที่ต้องการสร้างมูลค่าเพิ่มของต้นไผ่

โดยพบสารประกอบสำคัญ ‘ไอโซออเรียนติน’ (isoorientin) ที่ออกฤทธิ์ต้านแบคทีเรีย ไวรัสเดงกี่ และต้านการอักเสบ ที่ต่อยอดสู่สุดยอดบิวตี้โปรดักส์ส่งตรงจากห้องแลป ด้วยคุณสมบัติฟื้นฟูให้ผิวฉ่ำน้ำ ผิวแข็งแรง ลดการเกิดสิว รอยดำจากฝ้า และบำรุงผิวอักเสบ

และพัฒนาสู่ 5 โปรดักส์ที่มีศักยภาพแข่งขันเชิงพาณิชย์ ได้แก่ เซรั่ม ครีมบำรุง โฟมล้างหน้า ไมเซล่า และครีมกันแดด พร้อม ปลุกไฟคนรุ่นใหม่สายวิทยาศาสตร์ ตอบโจทย์ 3 เป้าหมายสำคัญของ Gen Z ได้แก่ งานก้าวหน้า รายได้มั่นคง และตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์

รองศาสตราจารย์ ดร.สุภกร บุญยืน อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เปิดเผยว่า คณะวิทย์ฯ มธ. เปิดตัว ‘SUCHADA’ (สุชาดา) ที่มีสารสกัดจากใบไผ่สายพันธุ์ ‘ซางหม่น’ ที่พบได้ในประเทศไทย ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากโจทย์ของกลุ่มเกษตรกร จ.สระแก้ว ที่ต้องการสร้างมูลค่าเพิ่มของต้นไผ่ โดยทีมวิจัยด้านเคมีได้ทำการศึกษาทุกส่วนของไผ่ จนพบว่าใบไผ่สายพันธุ์ดังกล่าวมีสารประกอบสำคัญเรียกว่า ‘ไอโซออเรียนติน’ (isoorientin) ที่ออกฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย (Anti-Bacteria) ชนิด E.coli และ S.aureus  สามารถฆ่าเชื้อไวรัส (Anti-Virus) ‘เดงกี’ (dengue virus) ที่นำไปสู่โรคไข้เลือดออกได้ และยังยับยั้งการอักเสบอของผิวหนังได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงนำมาต่อยอดเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์จนออกมาเป็นสกินแคร์ที่มีศักยภาพสูงด้วยคุณสมบัติและบรรจุภัณฑ์ที่สวยงาม อีกทั้งยังเป็นการนำสารประกอบดังกล่าวมาใช้ประโยชน์ได้เป็นครั้งแรกของโลก

NIA เร่งดันไทยสู่ประเทศนวัตกรรม ดึงต่างชาติลงทุนธุรกิจสตาร์ตอัพไทย ตั้งเป้า 5 ปี เกิดการลงทุนกว่าพันล้านเหรียญ

ลอรีอัล เปิดเวที “ลอรีอัล แบรนด์สตอร์ม 2023” ค้นหาคนรุ่นใหม่ที่มีไอเดียนวัตกรรมเพื่อธุรกิจ

‘SUCHADA’ (สุชาดา) ได้ผ่านการทดสอบประสิทธิภาพในห้องปฏิบัติการที่มีความปลอดภัยทางชีวภาพระดับ Biosafety Level 2 การทดสอบกับกลุ่มตัวอย่าง (Clinical Test) จำนวนกว่า 300 ราย ที่ประกอบด้วยเพศชาย เพศหญิง ในกลุ่มอายุต่าง ๆ ที่หลากหลาย ซึ่งพบว่าสารสกัด ‘ไอโซออเรียนติน’ (isoorientin)  ให้ผลลัพธ์ที่ดีกับผู้ใช้งาน คือ ต้านสารอนุมูลอิสระ การชะลอวัย และยืดอายุเซลล์ ช่วยฟื้นฟูให้ผิวฉ่ำน้ำ ผิวแข็งแรง ลดการเกิดสิว รอยดำจากฝ้า และบำรุงผิวอักเสบ อีกทั้งยังช่วยยับยั้งปัจจัยทำลายผิวอย่าง PM 2.5 ได้อีกด้วย โดยไม่พบผลข้างเคียงที่เป็นอันตราย ซึ่งปัจจุบันสารสกัด ‘ไอโซออเรียนติน’ (isoorientin)  ภายใต้แบรนด์ SUCHADA’ (สุชาดา) ได้รับการจดสิทธิบัตร และได้รับขึ้นทะเบียนจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ถือเป็นหนึ่งในความภาคภูมิใจของผู้พัฒนาในนามของคณะวิทย์ฯ มธ.

การพัฒนาสกินแคร์ภายใต้แบรนด์ ‘SUCHADA’ (สุชาดา) ของคณะวิทย์ มธ. ถือเป็นต้นแบบของการนำงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์มาสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะจากภาคการเกษตร ซึ่งเป็นพืชสายพันธุ์ที่พบมากในประเทศไทย ที่ให้ผลลัพธ์ของการพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างครบวงจร โดยมีองค์ประกอบสำคัญเกี่ยวกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) อยู่ด้วย ได้แก่ การลดขยะจากภาคเกษตรกรรม สร้างมูลค่าเพิ่มจากสินค้าเกษตร อีกทั้งยังสร้างมูลค่าให้กับงานวิจัยไทย ที่มีส่วนสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจ โดยขณะนี้ผู้พัฒนามีแผนวางจำหน่าย ‘SUCHADA’ (สุชาดา) ที่ศูนย์หนังสือ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นแห่งแรก โดยตั้งราคาจำหน่ายไว้ที่เซทละ 1,000 บาท ได้ครบทั้ง 5 ชิ้น ได้แก่ 1.เซรั่ม 2. ครีมบำรุง 3. โฟมล้างหน้า 4. ไมเซล่า 5. ครีมกันแดด  เพื่อให้คนไทยได้เข้าถึงบิวตี้โปรดักส์คุณภาพสูงในราคาที่จับต้องได้ โดยตั้งเป้ายอดขาย 10,000 ชิ้นภายในปีแรก

ทั้งนี้ การวิจัยสกัดสารสำคัญ ‘ไอโซออเรียนติน’ (isoorientin) จากใบไผ่เพื่อพัฒนาเป็นครีมบำรุงและครีมกันแดด ได้รับรางวัลเหรียญทองจากเวที The 5th China (Shanghai) International Invention & Innovation Expo ณ นครเซี่ยงไฮ้ สาธารณรัฐประชาชนจีน ในปีที่ผ่านมา (2022)

“โดยทั่วไป ต้นไผ่จะมีระยะเวลาเติบโตก่อนเก็บเกี่ยวลำต้นประมาณ 3 ปี ซึ่งระหว่างนั้นเกษตรกรจะไม่มีรายได้จากการเพาะปลูก และส่วนใหญ่เป็นของเหลือทิ้ง นั่นคือจุดเริ่มต้นของการพัฒนาสกินแคร์จากใบไผ่สายพันธุ์ไทย ภายใต้แบรนด์ ‘SUCHADA’ (สุชาดา) ซึ่งเป็นงานวิจัยที่นำมาสู่การใช้งานจริง และส่งผลดีทั้งภาคเกษตรกรรม การดูแลสิ่งแวดล้อม และการสร้างมูลค่าสินค้าเกษตรและงานวิจัยของไทย ซึ่งคณะวิทย์ มธ. พร้อมชู SUCHADA Model กับแนวคิดการสร้างมูลค่าเพิ่มด้านวิทยาศาสตร์ เพื่อส่งต่อแนวคิดนี้ไปยังคนรุ่นใหม่ สร้างกำลังคนแห่งอนาคต (Future Workforce) ภายใต้แนวคิด ‘SCI+BUSINESS’ ปั้นเด็กวิทย์คิดประกอบการ ที่พร้อมส่งต่อแรงบันดาลใจสู่คนรุ่นใหม่ เพื่อปลุกไฟในเส้นทางสายวิทยาศาสตร์ โดยตอบโจทย์ 3 เป้าหมายของ Gen Z ได้แก่ งานก้าวหน้า รายได้มั่นคง  และตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์” รองศาสตราจารย์ ดร.สุภกร กล่าวทิ้งท้าย

ข่าวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

นศ. วิศวะมหิดล คิดค้น บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเสริมไคโตซานจากเปลือกกุ้ง ช่วยลดระดับไขมันในเลือด

Cyber Elite จับมือ Zscaler ยกเครื่องระบบความปลอดภัยไซเบอร์บนคลาวด์

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ