TH | EN
TH | EN
หน้าแรกLifeองค์กรยุคใหม่เล็งกระตุ้น “ความเท่าเทียม” LGBTQI+

องค์กรยุคใหม่เล็งกระตุ้น “ความเท่าเทียม” LGBTQI+

ประเทศไทยได้ให้ความสำคัญกับความหลากหลายทางเพศและมีความก้าวหน้าอย่างเห็นได้ชัดมากขึ้นในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม ก็ยังคงมีการเลือกปฏิบัติอยู่

จินตนา จันทร์บำรุง อธิบดีกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัวกล่าวเปิดงานสัมมนา Thailand’s International Diversity, Equity, and Inclusion Day 2023 จัดขึ้นที่สถาบันเสริมศึกษาและทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

พรบ.ความเท่าเทียมระหว่างเพศ เริ่มใช้มาตั้งแต่ พ.ศ. 2558 เป็นการสะท้อนให้เห็นว่า ประเทศไทยให้ความสำคัญในด้านนี้ และหลายมาตราการที่เกี่ยวข้องกับการไม่เลือกปฏิบัติ เช่น การกีดกันด้วยเหตุแห่งเพศ

นอกจากนี้ ยังมีการจัดตั้งกองทุนส่งเสริมความเท่าเทียมระหว่างเพศเพื่อช่วยเหลือและเยียวยาการถูกเลือกปฏิบัติ ที่ไม่เพียงดูแล LGBTQIA+ เท่านั้น แต่ครอบคลุมไปถึงเพศชายและหญิงด้วย

“ทางกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัวพร้อมที่จะผลักดันร่างพรบ.รับรองเพศ ที่มีเนื้อหารวมไปถึงการใช้คำนำหน้านามตามอัตลักษณ์ ซึ่งเป็นความพยายามที่จะทำในอนาคต” จินตนา กล่าว

งานสัมมนา Thailand’s International Diversity, Equity, and Inclusion Day 2023 เป็นความร่วมมือกึ่งวิชาการ จัดโดยกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ร่วมกับสถาบันเสริมศึกษาและทรัพยากรมนุษย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยมี Vietjet Air เป็นผู้ร่วมสนับสนุน ดำเนินรายการโดยนายวิทยา แสงอรุณจาก www.diversityinthailand.org

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความรู้เจ้าหน้าที่ในองค์กร รวมถึง เจ้าหน้าที่ฝ่ายทรัพยากรบุคคล ในเรื่อง Diversity, Equity, and Inclusive ที่สอดคล้องกับทิศทาง SDG ของประเทศ ทั้งนี้ถือเป็นกิจกรรมหนึ่งที่จัดให้สอดคล้องกับเดือนมิถุนายน หรือ PRIDE MONTH และเปิดโอกาสให้เกิดการสื่อสารทำความเข้าใจระหว่างกัน

Diversity คือความหลากหลาย Equity คือความเท่าเทียม และ Inclusive คือการทำให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมด้วยกัน

ความหลากหลาย หมายถึงความหลากหลายของมุมมองที่แตกต่างกัน และมีส่วนเกี่ยวข้องกับประเด็นด้านเชื้อชาติและความยุติธรรมทางสังคม แต่ต่อมาได้กลายเป็นแง่มุมของการสนทนาที่กว้างขึ้น คุณนภคฑ์วรรธน์ กิตติธรรมวุฒิ Chief People and Culture Officer, EXO Group กล่าว

ความหลากหลายรวมไปถึง การมีประสบการณ์ที่หลากหลาย ทั้งด้านเพศสภาพ (Gender) เพศสรีระ (Sex) ภูมิหลังทางเศรษฐกิจและสังคม การเลี้ยงดู ศาสนา การศึกษา รสนิยมทางเพศ (Sexual Orientation) อัตลักษณ์ทางเพศ (Gender Identity) ชาติพันธุ์ (Ethnicity) ความหลากหลายทางระบบประสาท (Neurodiversity) และประสบการณ์ชีวิต

“เสียดายที่ผ่านมา ยังมีอีกหลายองค์กรที่ทำเรื่อง Diversity, Equity, Inclusion แต่ยังทำไม่สำเร็จ” เธอ กล่าว

ยกตัวอย่าง เช่น คำว่า Equality ซึ่งหมายถึง ความเท่าเทียม แต่ Equity หมายถึง ความเสมอภาค

นิยามของความเท่าเทียมและความเสมอภาคจะยังเป็นที่ถกเถียงในหมู่นักสังคมวิทยา แต่คอนเซปต์หลัก ๆ ของความเท่าเทียมและความเสมอภาคก็คือ “การที่ทุกคนในสังคมสามารถเข้าถึงโอกาส และได้รับผลประโยชน์ที่ควรจะได้รับอย่างเท่า ๆ กัน”

ความเท่าเทียม (Equality) ก็คือ การเน้นหลักความเท่ากัน ทุกคนจะได้รับการปฏิบัติ หรือ โอกาส เท่ากันหมด ส่วนความเสมอภาค (Equity) จะเน้นหลักความเป็นธรรม เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติต่อแต่ละบุคคลตามความต้องการและลักษณะเฉพาะ ด้วยการจัดหาเครื่องมือ หรืออุปกรณ์ที่เหมาะสมกับความต้องการ เพื่อไปลบกับข้อจำกัดของบุคคลนั้น

ดังนั้น เรื่องนี้เป็นสิ่งที่ควรส่งเสริมและคำนึงถึงในแต่ละองค์กรไปพร้อม ๆ กัน เพราะความเสมอภาคจะต้องอยู่บนพื้นฐานของความเท่าเทียมกัน คุณนภคฑ์วรรธน์ กล่าว

กรรณิกา เจริญลักษณ์ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมความเสมอภาคระหว่างเพศ ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า ในกรณีของการเลือกปฏิบัติในที่ทำงาน ทางกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัวได้ถือ พ.ร.บ. ความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. 2558 เป็นหลักปฏิบัติอยู่

โดยแนะนำว่า หากใครประสบการเลือกปฏิบัติในที่ทำงานอย่างชัดเจน สามารถยื่นคำร้องมายังทางกรมได้ แต่ควรจะต้องเก็บหลักฐานให้ครบถ้วนชัดเจนเพราะเหตุแห่งการเลือกปฏิบัตินั้นมีการพิสูจน์ค่อนข้างยาก

“การเก็บหลักฐานอย่างละเอียดจึงมีส่วนสำคัญเป็นอย่างยิ่ง และตัวบุคคลดังกล่าวต้องเป็นผู้ร้องเรียนด้วยตัวเอง นอกจากนี้ในเรื่องของ Sexual Harassment ก็สามารถร้องเรียนได้ด้วยเช่นกัน หากใครพบพฤติกรรมของผู้ร่วมงานที่บ่งชี้ไปในแนวทางนี้ และทำให้ผู้ร่วมงามเห็นแล้วอึดอัดหรือไม่สบายใจก็สามารถเข้ามาร้องเรียนกับทางกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัวได้” กรรณิกา กล่าว

นอกจากนี้ในงานยังมีวิทยากรที่ทำงานด้าน DEI มาร่วมวงสนทนาและให้ความรู้อีกด้วย

ริสา ศิริวัฒน์ ผู้ร่วมก่อตั้งกลุ่ม Trans For Career กล่าวว่า ในฐานะที่เป็นทรานส์เจนเดอร์ การหางานทำก็ประสบปัญหามากอยู่แล้ว ทั้งนี้ในกรณีของตัวเอง ต้องส่งใบสมัครไปนับร้อยที่ ทั้งๆ ที่จบการศึกษามาตรงกับงาน

กลุ่มทรานส์เจนเดอร์มีปัญหาด้านนี้มากที่สุด นับตั้งแต่ใบสมัคร ด้วยคำนำหน้าไม่ตรงกับภาพถ่ายประกอบ รวมถึงความคิด ความเชื่อที่ยังคงอยู่ที่ว่า ทรานส์เจนเดอร์ไม่น่าไว้วางใจ

จึงก่อตั้งกลุ่ม Trans For Career ขึ้นเพื่อช่วยให้ Transgenders รุ่นน้องมีโอกาสในการทำงานมากขึ้น นอกจากสายงานที่เปิดรับอยู่แล้ว เช่น งานบันเทิง การเกี่ยวกับสุขภาพความงาม เป็นต้น

พิชญานิษฐ์ พนาวิวัฒนาการ อดีตเคยทำงานให้ธนาคารต่างชาติ แนะนำว่า การเริ่มต้น DEI ในองค์กรนั้น อาจเริ่มจากจุดเล็กๆ ก่อน แล้วหาแนวร่วมเพื่อขยายผลให้ใหญ่ขั้น โดยควรทำงานร่วมกับแผนกทรัพยากรบุคคล และมีการเปิดรับความคิดเห็นที่แตกต่าง โดยนำไปสู่การเทรนนิ่ง และทำกิจกรรมร่วมกันในองค์กรเพื่อให้เข้าใจความสำคัญของการมี DEI ในองค์กรอย่างเป็นรูปธรรม

ศุภลักษณ์ สุภาพกุล จากบริษัทไมโครซอฟท์ ไทยแลนด์ กล่าวว่า ที่บริษัทมีการตั้งกลุ่มสนับสนุนการทำงานเพื่อส่งเสริมความแตกต่างหลากหลายไม่เฉพาะเพียงด้านเพศ แต่ถึงการเข้าถึงการทำงานต่างๆ แม้จะมีสภาพร่างกายที่แตกต่างกัน

ทั้งนี้ กลุ่มในบริษัท ซึ่งชื่อว่า “GLEAM” ได้เข้ามาสื่อสารและสร้างความเข้าใจในองค์กรในด้านความหลากหลาย พนักงานของบริษัทจะเข้าไปเรียนออนไลน์เรื่องความหลากหลายและต้องทำบททดสอบให้ผ่าน ถ้าไม่ผ่าน ต้องเริ่มเรียนใหม่

“ที่นี่จะเข้มข้นมาก และถือว่าเรื่อง Diversity เป็นเรื่องสำคัญที่ทุกๆ คนต้องให้ความสำคัญ” ศุภลักษณ์ กล่าว

LGBTQ+ อยากกู้ซื้อบ้าน เผชิญความท้าทาย-โอกาสมากน้อยแค่ไหน?

บำรุงราษฎร์ ปั้นโมเดล Pride Clinic ชูความต่างในการให้บริการครบเครื่องเรื่องสุขภาพ กลุ่ม LGBTQ+ ในประเทศไทย

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ