TH | EN
TH | EN
หน้าแรกTechnologyเปลี่ยน Info สู่ Insights ลับคมการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ด้วย Consolidated Data Platform

เปลี่ยน Info สู่ Insights ลับคมการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ด้วย Consolidated Data Platform

Digital-First กำลังมีบทบาทสำคัญในการสร้างการเติบโตให้ธุรกิจ ด้วยการใช้เทคโนโลยีมายกระดับกระบวนการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพ และทำให้ธุรกิจมีความแข็งแกร่งในโลกดิจิทัลที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

อย่างไรก็ตาม หากต้องการนำกลยุทธ์ Digital-First ไปสู่การปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพนั้น หนึ่งในกุญแจสำคัญคือการผลักดันให้องค์กรสามารถนำข้อมูลมาช่วยในการตัดสินใจเชิงธุรกิจ หรือ Data-Driven Decision Making ทั้งเรื่องกิจกรรมภายในองค์กรและภายนอกองค์กร ซึ่งในการใช้ข้อมูลมาร่วมในการตัดสินใจนี้ ข้อมูลทั้งหมดขององค์กรต้องมีการรวมศูนย์ รวมถึงต้องมีคุณภาพ เชื่อถือได้ และเป็นหนึ่งเดียวกันไม่ซ้ำซ้อน จึงเป็นที่มาถึงความจำเป็นที่ต้องมีการพัฒนาระบบ Consolidated Data Platform ขึ้นมา

ปัญหาขององค์กรที่ไม่มี Consolidated Data Platform

คราวนี้เราลองมาดูกันว่าถ้าองค์กรอยากจะใช้กลยุทธ์การนำข้อมูลมาร่วมในการตัดสินใจ แต่ยังไม่มีระบบ Consolidated Data Platform จะเกิดปัญหาอะไรกันบ้าง ลองนึกถึงองค์กรทั่วไป ที่นำซอฟต์แวร์ต่าง ๆ เข้ามาใช้ในองค์กรตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งส่งผลให้ซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ภายในองค์กรมีความหลากหลายมาก ไปจนถึงความหลากหลายของวิธีจัดเก็บข้อมูล ไม่ว่าเป็น Database ที่หลากหลายชนิด หลากหลาย Format ของข้อมูล หลากหลายเทคโนโลยี รวมไปถึง File Database ที่มีความเป็น Proprietary ความกระจัดกระจายของข้อมูลที่ผู้ใช้งานอาจจะบันทึกไว้อยู่ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนตัว อีกทั้งยังรวมไปถึงข้อมูลบางส่วนที่ไม่ได้อยู่ในระบบ IT ซึ่งยังเป็นกระบวนการทางกระดาษอีกด้วย

ทั้งหมดที่กล่าวไปข้างต้นนี้ทำให้บริษัทไม่สามารถนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์ได้อย่างรวดเร็วจากการไม่มีการรวมศูนย์ข้อมูลไว้ในแหล่งเดียวกัน นอกจากนี้การไม่มีระบบจัดเก็บข้อมูลอย่างเหมาะสมยังส่งผลต่อเรื่องคุณภาพของข้อมูล เนื่องจากไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าข้อมูลต่าง ๆ ภายในองค์กรมีความถูกต้องมากแค่ไหน ด้วยเหตุนี้ การที่องค์กรไม่สามารถนำข้อมูลมาหา Insights เพื่อช่วยในการตัดสินใจทางธุรกิจ จึงทำให้บริษัทอาจสูญเสียโอกาสในการเติบโตและสามารถทำให้ธุรกิจเสียหายในระยะยาวได้

Consolidated Data Platform ต่อยอดข้อมูลสู่ Insights

Consolidated Data Platform เป็นกลยุทธ์ที่สำคัญในการดำเนินธุรกิจดิจิทัล โดยการรวมข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ เช่น ข้อมูลลูกค้า ข้อมูลการเงิน ข้อมูลการขาย ข้อมูลการตลาด ข้อมูลการผลิต ข้อมูลของ Supply Chain และข้อมูลอื่น ๆ ที่เป็นกิจกรรมขององค์กร ให้อยู่ในที่เดียวกัน มีความถูกต้องของข้อมูล มีการคัดแยกอย่างเหมาะสม มีการดูแลอย่างถูกต้องตามกฎหมาย มีผู้รับผิดชอบต่อข้อมูลนั้น ๆ โดยตรง โดยทั้งหมดนี้สามารถเข้าถึงและใช้งานได้อย่างง่ายและสะดวก ทำให้ผู้บริหารและผู้ตัดสินใจมีภาพรวมและข้อมูลที่ชัดเจนเกี่ยวกับธุรกิจ        ทำความเข้าใจเทรนด์ต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว และช่วยให้องค์กรสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ดีขึ้น

10 ขั้นตอน สร้าง Consolidated Data Platform

การสร้าง Consolidated Data Platform นั้นมีจุดมุ่งหมายเพื่อต่อยอดให้ข้อมูลกลายเป็น Insights           ที่สามารถช่วยในการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ เพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานของธุรกิจ และและสร้างจุดแข็งเหนือคู่แข่ง สำหรับเส้นทางสู่การสร้าง Consolidated Data Platform อาจมีความแตกต่างกันไปตามประเภทของธุรกิจ ขนาดองค์กร และความต้องการอื่น ๆ โดยเฉพาะ โดย Bluebik อยากแนะนำ 10 ขั้นตอนเบื้องต้นสู่การสร้าง Consolidated Data Platform ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนี้

  1. ประเมินสถานการณ์ปัจจุบัน

ก่อนเริ่มต้นสร้าง Consolidated Data Platform ธุรกิจควรประเมินโครงสร้างพื้นฐานด้านข้อมูลภายในองค์กรก่อน รวมไปถึงเรื่องคุณภาพข้อมูล ความรู้ความเชี่ยวชาญด้านข้อมูล และกระบวนการวิเคราะห์ข้อมูลของพนักงานในองค์กร เพื่อดูว่ายังมีช่องโหว่และโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ ที่แพลตฟอร์มข้อมูลสามารถเข้าไปเพิ่มประสิทธิภาพได้

  • วางกลยุทธ์และวิสัยทัศน์ขององค์กรให้ชัดเจน

สิ่งสำคัญที่มีผลต่อการสร้าง Consolidated Data Platform เพื่อช่วยในการตัดสินใจคือกลยุทธ์และวิสัยทัศน์องค์กรที่ชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นเป้าหมายทางธุรกิจ จุดมุ่งหมายที่สามารถวัดผลได้ และโรดแมปการพัฒนาที่ทำได้จริง ซึ่งในส่วนนี้ควรได้รับการสนับสนุนและผลักดันจากทีมผู้บริหารและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องสำคัญจากหลากหลายฝ่าย

  • สร้างโครงสร้างธรรมาภิบาลข้อมูล

การสร้างกรอบธรรมาภิบาลข้อมูลที่แข็งแกร่ง จะช่วยให้องค์กรบริหารข้อมูลได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ตั้งแต่การเก็บข้อมูล การสร้างคลังข้อมูล การนำข้อมูลไปใช้งานและใช้วิเคราะห์ รวมไปถึงการวางแนวทางกำกับดูแลข้อมูล คุณภาพข้อมูล และความปลอดภัยของข้อมูล โดยองค์กรควรมีคณะทำงานด้านธรรมาภิบาลข้อมูลโดยเฉพาะเพื่อดูแลรับผิดชอบการบริหารจัดการข้อมูลในส่วนต่าง ๆ 

  • ลงทุนในเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับองค์กร

สิ่งสำคัญลำดับถัดมาคือการเลือกและลงทุนในเทคโนโลยีเหมาะสมกับองค์กร ไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างพื้นฐานด้านข้อมูล เครื่องมือ และแพลตฟอร์มสำหรับรวบรวมข้อมูล ประมวลผล จัดเก็บ และวิเคราะห์ข้อมูล เช่น ตัว Database, Data Lakes, Business Intelligence (BI) Tools และเครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูงอย่าง ML/AI

  • ปรับปรุงคุณภาพและความสอดคล้องกันของข้อมูล

องค์กรควรสร้างกระบวนการและมาตรฐานการปรับปรุงคุณภาพข้อมูล ทั้งเรื่องความถูกต้องแม่นยำ ความน่าเชื่อถือ และความสอดคล้องของข้อมูล เพื่อให้สามารถนำไปวิเคราะห์หาข้อมูลเชิงลึกที่ถูกต้องและใช้งานได้จริง

  • สร้างวัฒนธรรมองค์กรแบบ Data-Driven

การที่องค์กรจะนำข้อมูลไปช่วยในการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ได้จริง ส่วนหนึ่งมาจากรากฐานวัฒนธรรมองค์กรแบบ Data-Driven ที่พนักงานใช้ข้อมูลตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ มีการแชร์ข้อมูลข้ามแผนกและมีทักษะด้านข้อมูล (Data Literacy) ซึ่งองค์กรจำเป็นต้องมีการจัดฝึกอบรมพนักงาน จัดเวิร์กช็อปด้านข้อมูลโดยเฉพาะ และผสมผสานการวิเคราะห์ข้อมูลเข้าไปในกระบวนการทำงานประจำวันของพนักงาน

  • จัดตั้งทีม Data Excellence ประจำองค์กร

องค์กรควรจัดตั้งทีมงานเฉพาะเพื่อดูแลงานด้านข้อมูลที่ประกอบด้วย Data Analysts, Data Scientist และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง เพื่อวิเคราะห์หาข้อมูลเชิงลึก พัฒนาโมเดลการวิเคราะห์ข้อมูล และสร้างคุณค่าจากการลงทุนด้านข้อมูล (ROI) โดยทีมงานส่วนนี้อาจมีการทำงานร่วมกับแผนกอื่น ๆ เพื่อแก้ไขความท้าทายของธุรกิจโดยเฉพาะ

  • ผลักดันแนวคิดริเริ่มแบบ Data-Driven อย่างต่อเนื่อง

แม้จะสร้าง Consolidated Data Platform แล้ว แต่องค์กรแบบ Data-Driven เป็นกระบวนการที่ไม่สิ้นสุด ดังนั้นจึงควรสนับสนุนแนวคิดริเริ่มด้านข้อมูลใหม่ ๆ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ การทดลอง และการให้คำแนะนำเพื่อพัฒนากระบวนการต่าง ๆ ให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งตั้งอยู่บนจุดมุ่งหมายทางธุรกิจขององค์กร (Business’ objectives) และขีดความสามารถด้านเทคโนโลยี

  • ติดตามและวัดผลความสำเร็จ

ในการพัฒนา Consolidated Data Platform องค์กรควรกำหนดตัวชี้วัด (KPIs) และวัดผลความคืบหน้าอย่างสม่ำเสมอ แล้วนำข้อมูลจากการวัดผลดังกล่าวไปใช้พัฒนากลยุทธ์และกระบวนการดำเนินงานให้ดียิ่งขึ้น

  1. สื่อสารความสำเร็จและแบ่งปัน Insights

การบอกเล่าผลลัพธ์และความสำเร็จจากโปรเจกต์ด้านข้อมูลที่สร้างความเปลี่ยนแปลงได้จริงในองค์กร    จะช่วยแสดงให้พนักงานเห็นคุณค่าและความสำเร็จของแนวคิดริเริ่มและการลงทุนด้านข้อมูล ซึ่งจะทำให้วัฒนธรรมองค์กรแบบ Data-Driven มั่นคงและยั่งยืนในระยะยาว

ทั้ง 10 ขั้นตอนนี้เป็นแนวทางเบื้องต้นในการสร้าง Consolidated Data Platform ที่จะต่อยอดไปสู่การพัฒนาให้ธุรกิจกลายเป็น Data-Driven Organization อย่างไรก็ตาม จากประสบการณ์ของ Bluebik ที่ปรึกษาชั้นนำผู้ให้บริการด้าน Digital Transformation ครบวงจร มองว่าแนวทางการสร้างพัฒนาระบบ Consolidated Data Platform อาจจะต้องมีข้อพึงระวังกับความท้าทายหลายประการ เช่น การจ้างคนที่ไม่เป็นมืออาชีพที่มีความรู้ความสามารถในการออกแบบและดำเนินการระบบดิจิทัล การเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงระบบองค์กรที่เคยทำในอดีตแล้วไม่สำเร็จ การขาดการบริหารประสานงานจัดการทีมที่มีความหลากหลายประสบการณ์ไม่ว่าจะเป็นด้าน IT และหรือด้าน Business และความยากลำบากในเข้าใจทิศทางและการดำเนินงานของธุรกิจในการสร้าง Use Case มาตอบสนองตามวัตถุประสงค์ของธุรกิจ ดังนั้นแล้วการมองหาที่ปรึกษาที่มีความเชี่ยวชาญโดยเฉพาะสามารถช่วยให้องค์กรประสบความสำเร็จในการไปสู่ Data-Driven Organization ได้รวดเร็วและมั่นคงยิ่งขึ้น

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

7 Green Habits: สร้างอุปนิสัยสีเขียวเพื่อโลก

LINE MAN Wongnai เข้าซื้อกิจการ FoodStory ขยายธุรกิจ Merchant Solutions

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ