TH | EN
TH | EN
หน้าแรกColumnistบทเรียนการขาดทุนฝังใจ จาก Issac Newton อัจฉริยะติดดอย

บทเรียนการขาดทุนฝังใจ จาก Issac Newton อัจฉริยะติดดอย

วันนี้ผมมีเรื่องราวของบุคคลสำคัญระดับโลกที่ไม่ใช่บุคคลในแวดวงการเงินมาเล่าให้ ฟังครับ เขาเป็นทั้งนักดาราศาสตร์ นักเล่นแร่แปรธาตุ นักเทววิทยา นักประพันธ์ ชาวอังกฤษ

แต่บทบาทที่ตัวเขาเป็นที่รู้จักมากที่สุด คือ หนึ่งในนักคณิตศาสตร์และนักฟิสิกส์ ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาลของโลกใบนี้ครับ

และเขาคนนั้นก็คือ Sir Isaac Newton ผู้ยิ่งใหญ่นั่นเองครับ คงปฏิเสธไม่ได้เลยว่า Newton คือ หนึ่งในอัจฉริยะที่มีความสำคัญอย่างมากต่อโลกใบนี้

แต่ด้วยบทบาทต่างๆ ที่ว่าไปแล้ว ยังมีอีกอย่างนึงที่หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่า Newton นั้นก็เป็น ‘นักลงทุน’ ด้วยเช่นเดียวกัน หรือจะบอกว่า ‘นักเก็งกำไร’ ดี เพราะตัว Newton เคยลงเงินจำนวนมากกับหุ้นตัวนึงที่อยู่ในตลาดหุ้นสหราชอาณาจักรมาแล้ว

คุณผู้ฟังคงคิดใช่ไหมครับว่า อัจฉริยะอย่าง Newton คงทำกำไรเป็นกอบเป็นกำ จากการลงทุนในตลาดหุ้นได้แน่

หากดูจากความเชี่ยวชาญในด้านต่างๆ ของเขาแล้ว เขาน่าจะเป็นนักลงทุนชั้น แนวหน้าด้วยซ้ำ แต่จริงๆ    แล้วมันกลับไม่ใช่แบบนั้นเลยครับ

ในวันนี้ผมจะมาเล่าถึงการติดดอยครั้งสำคัญในชีวิตของ Newton ที่กลายเป็นแผล ฝังใจตัวเขา จนเกิดเป็นข้อห้ามว่าใครก็ตามที่มาคุยกับเขา ห้ามพูดถึงเรื่องนี้เป็นอันขาด

ขอเริ่มจากการไปทำความรู้จักกับ Sir Isaac Newton กันคร่าวๆ ก่อนดีกว่าครับ

Newton เป็นนักวิทยาศาสตร์ผู้ทรงอิทธิพลมากที่สุดคนหนึ่งในประวัติศาสตร์ เป็นผู้คิดค้นระบบกฎการเคลื่อนที่ ที่ทุกคนเคยเรียนกันมา ยกตัวอย่างเช่น ‘ΣF = 0’ ‘ΣF = ma’ หรือ ‘Action = Reaction’ 

นิวตัน เป็นชาวอังกฤษที่มีความโดดเด่นรอบด้าน ทั้งคณิตศาสตร์ ดาราศาสตร์ และ ฟิสิกส์ เขาได้ค้นพบกฎแรงโน้มถ่วงจากการที่ลูกแอปเปิลหล่นลงมาใส่หัว ตอนที่เขานั่งอยู่ใต้ต้นแอปเปิล

ซึ่งมีหลักฐานด้วยว่าเหตุการณ์นี้เป็นเรื่องจริง และเป็นแรงบันดาลใจที่ทำให้ Newton ศึกษาเรื่องกฎแรงโน้มถ่วงต่อด้วย

Newton เป็นนักวิทยาศาสตร์ที่สร้างผลงานชิ้นเอกระดับโลกเอาไว้มากมาย หรืออาจต้องบอกว่า Newton เป็นผู้มีพระคุณของโลกใบนี้เลยก็ได้ครับ

จากความอัจฉริยะของ Newton ทำให้ตัวเขานั้นได้รับการยอมรับมากมาย ในยุคสมัยนั้นจนถึงสมัยนี้ Newton ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์จนเป็นขุนนาง ระดับสูง และยังเป็นผู้นำในหลายองค์กรของสหราชอาณาจักรอีกด้วย

ข้อมูลบางที่ได้เขียนเอาไว้ว่าตอนที่ Newton เสียชีวิต พิธีศพของเขา ถูกจัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่เทียบเท่ากษัตริย์ ศพของเขาฝังอยู่ที่มหาวิหารเวสต์มินสเตอร์ เช่นเดียวกับกษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นสูงของอังกฤษ

เพียงข้อมูลจากประวัติของ Newton คุณคงเห็นแล้วว่าตัวเขาเป็นอัจฉริยะ รอบด้านขนาดไหน

แต่ใครจะไปคิดว่านักวิทยาศาสตร์อัจฉริยะที่ยิ่งใหญ่ระดับโลกอย่าง Newton กลับพลาดท่าให้กับเรื่องการลงทุนอย่างไม่น่าเชื่อ

และหุ้นตัวที่ทำให้อัจฉริยะผู้นี้ติดดอยจนเกิดเป็นแผลใจคือหุ้นที่มีชื่อว่า ‘South Sea Company’ ที่กลายเป็นประวัติศาสตร์การลงทุนครั้งสำคัญของโลกที่ทุกคนควรรู้ครับ

สำหรับบริษัท South Sea ถูกก่อตั้งขึ้น ในปี 2254 หรือ ประมาณ 300 ปีที่แล้ว โดยมีธุรกิจหลักคือการค้าทาส และได้รับสิทธิผูกขาดในการทำการค้ากับอาณานิคม ของสเปนครับ

แน่นอนว่าการได้รับสิทธิผูกขาดของ South Sea Company นั้นไม่ได้ได้มาฟรีๆ แต่ได้มาจากการที่บริษัทตกลงรับภาระหนี้ของรัฐบาลอังกฤษที่เพิ่มขึ้นจากการทำสง คราม

ทำให้บริษัท South Sea ต้องหาเงินมหาศาลมาใช้หนี้แทนรัฐบาลอังกฤษครับ

ซึ่งวิธีหาเงินทุนที่ง่ายที่สุดก็คือการที่ South Sea ได้ออกหุ้นมาขายในตลาด หรือที่สมัยนี้เรียกว่าการเพิ่มทุนนั่นเองครับ ซึ่งหากผู้คนเข้าไปลงทุนกันแบบปกติ ก็คงจะไม่มีเรื่องน่าตื่นเต้นอะไร

แต่แล้วเรื่องน่าเหลือเชื่อก็เกิดขึ้น คือในยุคประมาณ 300 ปีก่อน มีการสร้างข่าวลือ ขึ้นมาเพื่อปั่นราคาหุ้น South Sea ให้สูงขึ้น โดยข่าวที่ถูกกุขึ้นมีเนื้อหาประมาณว่า

‘เป็นบริษัทที่มีคนของรัฐบาลเป็นวงใน และจะทำกำไรมหาศาลจากการค้ากับทวีป อเมริกาใต้’

ข่าวนี้ถ้าใครอยู่ในแวดวงการลงทุนปัจจุบันก็คงต้องหาข้อมูลเพิ่มเติมก่อนว่าจริงไหม แต่ในยุคสมัยนั้นยังไม่มีการแสดงตัวเลขงบการเงินที่แน่ชัด และตลาดหุ้นก็ถูก ขับเคลื่อนไปด้วยอารมณ์ของนักลงทุนล้วนๆ ครับ

นักลงทุนจึงแห่เข้าซื้อหุ้น South Sea กันอย่างบ้าระห่ำ ดันราคาหุ้นให้พุ่ง ขึ้นอย่างรวดเร็ว และหนึ่งในนักลงทุนที่เข้าไปซื้อหุ้น South Sea ในตอนนั้นก็คือ อัจฉริยะอย่าง Newton ด้วยเช่นกัน

จากข้อมูลที่ถูกบันทึกเอาไว้ Newton เข้าลงทุนหุ้น South Sea ตอนต้นปี 2263 และขายในช่วงกลางปี จนทำกำไรได้กว่า 20,000 ปอนด์ ซึ่งเป็นเงินที่มหาศาลมากแล้ว ในสมัยนั้นครับ ถ้าคิดตามอัตราเงินเฟ้อเงินจำนวนนี้จะมีค่าประมาณ 1.4 ล้านปอนด์ ในปัจจุบันเลยทีเดียว

จริงๆ แล้วถ้าหาก Newton หยุดตรงนี้แล้วเก็บกำไรไปใช้อย่างสบายใจ ทุกอย่างคงจบ อย่างมีความสุขและแฮปปี้กันทุกฝ่าย แต่เรื่องราวมันกลับไม่เป็นแบบนั้นครับ

ข้อมูลระบุว่า Newton ขายหุ้นไปที่ราคาประมาณ 300-350 ปอนด์ต่อหุ้น แต่หลังจากนั้นกลุ่มนักลงทุนก็ยังคงแห่ซื้อหุ้นจนดันราคาขึ้นไปแตะที่ 600 800 จนถึง 1,000 ปอนด์ต่อหุ้น

หลังจากนี้ทุกคนน่าจะรู้ว่าเกิดอะไรขึ้นครับ แม้แต่อัจฉริยะระดับโลกก็เกิดความโลภและกลัวตกรถ Newton ตัดสินใจกลับไปลงทุน หุ้น South Sea แบบหมดหน้าตัก ซัดเต็มข้อ ล่อเต็มแข้ง

และไม่ใช่เฉพาะส่วนที่ได้เป็นกำไรมาเท่านั้น แต่รวมไปถึงเงินที่ Newton ถอนทุนมาก่อนหน้าทั้งหมด บวกกับการขายพันธบัตรรัฐบาลที่ Newton ถือทั้งหมดครับ

ข้อมูลบางสำนักได้บอกว่าจำนวนเงินที่ Newton กลับเข้าไปลงทุนนั้นมากกว่า 20,000 ปอนด์มาก และจุดที่ Newton เข้าลงทุนนั้นคือจุดสูงสุดของฟองสบู่พอดี

หลังจากนั้นด้วยระยะเวลาไม่นานนัก ฟองสบู่ที่ชื่อ South Sea Company ก็แตกออกดังโพละ ส่งผลให้ Newton และนักลงทุนคนอื่นๆ ขาดทุนกันอย่างหนัก เขาสูญเงินไปมากกว่า 20,000 ปอนด์

จากเหตุการณ์นี้ เป็นไปได้ว่า Newton อาจสูญเสียความมั่งคั่งไปเกือบ 70% เลยทีเดียว และกลายเป็นเรื่องราวที่ฝังใจเขาไปตลอดกาล

แต่ทำไมหุ้น South Sea Company ถึงร่วงมาแบบตกตึกขนาดนี้ ผมขอแยกออกเป็น 2 สาเหตุหลัก ๆ ดังนี้ครับ

1.บริษัท South Sea มีการโฆษณากิจการของตัวเองเพื่อสนับสนุนการขายหุ้น เพิ่มทุนผ่านหนังสือพิมพ์

โดยส่วนที่โฆษณาเนื้อหาที่ดูดีเกินจริงไปมาก และไม่ได้อธิบายแผนธุรกิจเลย ซึ่งใน ช่วงนั้นก็เป็นสัญญาณว่าบริษัท South Sea มีอะไรบางอย่างที่ไม่ชอบมาพากลแล้ว

  • การเข้าซื้ออย่างบ้าคลั่งของนักลงทุน จากการปั่นหุ้น

การปรับตัวขึ้นของราคาหุ้นนั้นถูกเรียกว่า ‘ฟองสบู่’ ที่มักลอยสูงขึ้นจากพื้นเรื่อยๆ และเมื่อฟองสบู่แตกออกราคาหุ้นก็จะร่วงลงมาอย่างรวดเร็วจนทำนักลงทุนขายหุ้นตัดขาดทุนกันไม่ทัน

เหตุการณ์นี้ทำให้นักลงทุนจำนวนมากขาดทุนไปพร้อมกับ Newton และเป็นหนึ่งใน เหตุการณ์ ‘ฟองสบู่’ ครั้งแรกๆ ของตลาดการเงินโลกเลยก็ว่าได้ครับ

การเข้าลงทุนตามผู้อื่นในครั้งนี้ถูกเรียกกันในยุคปัจจุบันว่า FOMO หรือ Fear of Missing Out ที่มีความหมายว่า กลัวจะไม่ได้กำไรเหมือนที่คนอื่นได้ หรือในภาษาตลาดหุ้นเรียกว่าการ ‘ตกรถ’ นั่นเองครับ

อธิบายง่าย ๆ คือ การลงทุนจากแรงขับเคลื่อนด้วยความโลภ ความอิจฉานั่นเองครับ

จากวันนั้นจนถึงวันนี้เวลาผ่านมากว่า 300 ปี แต่ไม่น่าเชื่อว่าแม้แต่นักลงทุน ในยุคปัจจุบันยังพบเจอกับเหตุการณ์แบบนี้อยู่ซ้ำแล้วซ้ำเล่า ทั้งที่เคยมีบทเรียนใน อดีตมาก่อนแล้ว

แน่นอนครับว่า Newton เป็นคนที่ฉลาดอย่างไม่ต้องสงสัย แต่เมื่อใดก็ตาม ที่คุณใช้อารมณ์ และอคติในการลงทุน คุณก็ไม่ต่างจากนักลงทุนทั่วไป ที่ถูกล่อเข้ากองไฟเหมือนกับ ‘แมงเม่า’ นั่นเองครับ

สิ่งที่น่าเจ็บใจไปมากกว่านั้นคือ ในตอนแรกที่ Newton ถอนออกมาจากหุ้น South Sea และทำกำไรไปแล้วถึง 20,000 ปอนด์ แต่ Newton กลับเข้าไปตามอารมณ์ ของตลาดส่วนใหญ่จนผลลัพธ์ออกมาเป็นแบบนี้

หลังจากเหตุการณ์นี้ ใครก็ตามที่จะเข้ามาคุยกับ Newton จะมีข้อห้ามที่รู้กันคือ

‘ห้ามพูดเกี่ยวกับการลงทุนหรือหุ้น South Sea เป็นอันขาด’

เพราะมันเป็นบาดแผลฝังใจของ Newton ไปแล้ว และเป็นไปได้ว่าเหตุการณ์นี้ อาจทำให้เขากลัวการลงทุนไปเลย

แต่เรื่องราวในครั้งนี้ได้ให้บทเรียนสำคัญกับนักลงทุนทั่วโลกจนถึงปัจจุบัน เกี่ยวกับเรื่อง ‘อารมณ์กับการลงทุน’ ที่หากคุณสามารถควบคุมและเข้าใจมัน จะทำให้การลงทุนของคุณดีขึ้นอย่างชัดเจน

หรืออย่างน้อยก็น่าจะลงทุนได้ดีกว่า Newton ที่เข้าลงทุนอย่างหน้ามืดตามัวในหุ้น South Sea จนเกือบหมดตัวในครั้งนี้อย่างแน่นอนครับ

ต้องบอกว่าเรื่องราวการติดดอยของ Newton ในครั้งนี้ ได้ถูกนำไปวิเคราะห์มากมาย เพราะมันเกิดข้อสงสัยที่ยังคาใจอยู่ว่า

‘Newton ไม่รู้จริง ๆ หรือว่าราคาหุ้น South Sea มันพุ่งสูงจนเกินมูลค่าที่แท้จริงไปแล้ว?’

หากสังเกตจากการถอนออกมาครั้งแรกของ Newton ที่ 20,000 ปอนด์ การวิเคราะห์ในครั้งนี้อาจสรุปได้ว่า Newton รู้ แต่กลับไม่สามารถควบคุมอารมณ์ ความโลภที่เกิดขึ้นจากการลงทุนได้ครับ

Newton ได้กำไรไปแล้วก้อนนึง แต่หลังจากนั้นไม่นาน ก็มีคนที่ทำกำไรได้มากกว่าเขาหลายเท่า และนั่นเป็นตัวผลักดันที่ทำให้อัจฉริยะผู้นี้เกิดหน้ามืดแบบไม่รู้ตัว ซึ่งอาจทำ ให้เกิดความคิดขึ้นมาได้ว่า

  • ‘มันคงจะขึ้นต่อไปเรื่อยๆ แหละ มันคงยังไม่ร่วงลงหรอก’
  • ‘หุ้น South Sea ถูกซื้อเรื่อยๆ มันจะไปตกลงได้ยังไง’
  • ‘ครั้งก่อนยังทำกำไรได้ตั้ง 20,000 ปอนด์ ครั้งนี้ก็ทุ่มเต็มที่ไปเลยละกัน’

ทั้งหมดนี้ คือ อารมณ์จากการลงทุนที่ส่งผลให้ Newton ทุ่มเงินแบบเต็มที่ แล้วก็ร่วงหล่นลงมาพร้อมกับฟองสบู่หุ้น South Sea

แน่นอนว่าในช่วงที่เกิดฟองสบู่แรกๆ หลายคนยังคงหวังว่ามันจะกลับไปที่จุดเดิม แต่น่าเสียดายที่มันไม่เป็นแบบนั้นอีกต่อไปแล้วครับ กว่าคุณจะรู้ตัวมันก็สายเกินไป

การลงทุนโดยใช้อารมณ์และความรู้สึก เช่น ความโลภ ความอิจฉา ความกลัว ย่อมไม่ส่งผลดีต่อพอร์ตของคุณอย่างแน่นอน

อย่างที่คุณปู่นักลงทุนระดับโลกอย่าง Warren Buffett เคยพูดเอาไว้ว่า

“ถ้าหากคุณไม่สามารถควบคุมอารมณ์ของคุณได้ คุณก็ไม่สามารถควบคุมเงินของคุณได้เช่นกัน”

อีกบทเรียนที่คุณได้รับจากเหตุการณ์นี้คือ การลงทุนควร ‘กระจายความเสี่ยง’ แม้ว่าสิ่งที่คุณเลือกลงทุน จะดูเลิศเลอเพอร์เฟ็คมากแค่ไหนก็ตาม

นอกจาก Newton จะไม่กระจายความเสี่ยงแล้ว ยังขายพันธบัตรรัฐบาล ที่ตัวเองถือเอาไว้ทั้งหมด เพื่อมาลงทุนใน หุ้น South Sea เพียงแค่ตัวเดียวด้วย แบบนี้เรียกว่า ‘กระจุกความเสี่ยง’ ครับ

เรื่องราวนี้คงเป็นบทเรียนที่สอนทุกคนอยู่เสมอว่า อย่าโลภ จนมองไม่เห็นความเป็นจริง ที่เกิดขึ้น แม้ว่า Newton จะฉลาดมากแค่ไหน แต่ก็ยังหนีจากอารมณ์จากการ ลงทุนไม่พ้น

สุดท้าย Newton ได้พูดถึงเหตุการณ์ในครั้งนี้ว่า

“I can calculate the motion of heavenly bodies but not the madness of people.”

“ข้าพเจ้าสามารถคำนวณการโคจรของดวงดาวบนท้องฟ้าได้ แต่ไม่สามารถคำนวณความบ้าคลั่งของมนุษย์ได้เลย”

อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว ผมเชื่อว่าคุณสามารถเก็บเกี่ยวบทเรียนจากความผิดพลาด ของอัจฉริยะกันแล้ว ผมหวังว่า มันจะให้สติกับคุณ เพื่อนำไปใช้ในการทบทวน การลงทุนของตัวเองและพร้อมรับมือความโลภในใจตัวเองที่อาจเกิดขึ้นในปี 2566 ที่กำลังจะมาถึงในอีกไม่กี่วันนี้

ผมขออนุญาตสวัสดีปีใหม่ล่วงหน้านะครับ ขอให้ปีหน้าเป็นปีที่ดีสำหรับทุกท่านนะครับ 

‘เจ้ามือ’ ในตลาดหุ้นที่แท้ทรูของชาว VI

จาก ‘วิดีโอเกม’ สู่ ‘อีสปอร์ต’ เมกะเทรนด์ที่ไม่เคยหายไปจากโลก

‘จีน’ มหาอำนาจรายใหม่ เตรียมชิงชัยเป็นเบอร์ 1 ของโลก

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ