TH | EN
TH | EN
หน้าแรกTechnologyดีอีเอส โชว์ผลงาน 7 ปี รัฐบาลประยุทธ์ ขับเคลื่อนโครงสร้างดิจิทัล 5 ด้าน

ดีอีเอส โชว์ผลงาน 7 ปี รัฐบาลประยุทธ์ ขับเคลื่อนโครงสร้างดิจิทัล 5 ด้าน

ดีอีเอส โชว์ผลงาน 7 ปี ขับเคลื่อนโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล 5 ด้าน วางฐานแกร่งสู่การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม

ชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) กล่าวแถลงผลงาน 7 ปีของรัฐบาลภายใต้การนำของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลของประเทศ เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมของประเทศให้เข้าสู่ยุคเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล ผ่านโครงการสำคัญ 5 ด้าน ประกอบด้วย

1. การบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงให้เป็นสาธารณูปโภคพื้นฐาน ให้ประชาชนเข้าถึงอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงได้ฟรี ครอบคลุมทั่วประเทศ 44,352 หมู่บ้าน ในจำนวนนี้เป็นการดำเนินการภายใต้โครงการเน็ตประชารัฐ ของกระทรวงดิจิทัลฯ 24,700 หมู่บ้าน และต่อยอดสู่นโยบายการส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ในพื้นที่ชุมชนเพิ่มมากขึ้นผ่านโครงการ “ศูนย์ดิจิทัลชุมชน” ผลักดันให้อินเทอร์เน็ตนำคนจากทุกชุมชน เข้าถึงโลกดิจิทัล ลดความเหลื่อมล้ำ และสร้างคุณค่าทางเศรษฐกิจและสังคม ปัจจุบัน มีศูนย์ดิจิทัลชุมชนอยู่ประมาณ 500 แห่งทั่วประเทศ และมีแผนขยายให้มีจำนวนรวมไม่น้อยกว่า 2,520 แห่ง

2.การพัฒนาและส่งเสริม 5G ของประเทศไทย โดยถือเป็นประเทศแรกในอาเซียน ที่มีการเปิดประมูลคลื่นความถี่ 5G (700 MHz 2600 MHz และ 26 GHz) เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2563 และเริ่มทยอยเปิดใช้งานตั้งแต่ปีที่ผ่านมา รวมทั้งมีการกำหนดแนวทางขับเคลื่อนการใช้ประโยชน์ 5G ภายใต้แนวนโยบายและการกำกับดูแลของคณะกรรมการขับเคลื่อน 5G แห่งชาติ

3.พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานรองรับ “สังคมไร้เงินสด (Cashless Society)” เตรียมพร้อมให้ประชาชนในทุกระดับเข้าถึงประโยชน์จากการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยเริ่มตั้งแต่การสร้างบริการพร้อมเพย์ (PromptPay) จนมาถึงแอปเป๋าตัง ซึ่งเป็นช่องทางที่ช่วยให้คนไทย ถือเป็นรากฐานสำคัญที่ทำให้ปัจจุบันคนไทยทุกกลุ่ม สามารถทำธุรกิจและทำการติดต่อค้าขายทางออนไลน์ได้ครอบคลุมทั่วประเทศ รวมทั้งมีการพัฒนากฎหมายที่รองรับการประกอบธุรกรรมทางออนไลน์

“เห็นได้ว่าในช่วงหลัง ประชาชนส่วนใหญ่ เริ่มมีความคุ้นเคยกับการทำธุรกรรมการเงินผ่านระบบออนไลน์ ในรูปแบบ internet และ mobile banking หรือ e-payment ต่าง ๆ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่สุด คือการพัฒนาระบบพร้อมเพย์ของรัฐบาล และแอปเป๋าตังค์ ที่ถือเป็นจิ๊กซอว์สำคัญของประเทศในการปรับตัวเข้าสู่สังคมไร้เงินสด และเอื้ออำนวยให้การทำธุรกรรมต่าง ๆ เป็นไปโดยง่ายและสะดวกมากขึ้น ซึ่งแน่นอนว่า จะสามารถรองรับการเติบโตของ e-commerce ในอนาคตได้เป็นอย่างดีด้วย”

4. การวางโครงสร้างพื้นฐานด้านธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทย ส่งเสริมให้เกิดระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนในการใช้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งของภาครัฐและภาคเอกชน (Digital Identification) อีกทั้งขับเคลื่อนนโยบายเรื่อง e-document e-signature และ e-timestamp และมีการแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ทั้งในส่วนของภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อพัฒนาให้ประเทศไทยไปสู่การเป็นสังคมไร้กระดาษ

5.การพัฒนาสู่การเป็นรัฐบาลดิจิทัล วางเป้าหมายเพื่อช่วยอำนวยความสะดวกให้กับประชาชน ให้รับบริการจากภาครัฐเป็นไปได้โดยง่าย สะดวก ทุกที่ทุกเวลา โดยไม่ต้องเดินทางมาถึงสำนักงาน ซึ่งในอนาคตรัฐบาลจะพัฒนาการบริการภาครัฐ ให้เป็นระบบอัตโนมัติ

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ