TH | EN
TH | EN
หน้าแรกColumnistเวที RCEP ตลาดร่วมที่ช่วยประเทศไทยก้าวต่อไปเชื่อมตลาดโลก

เวที RCEP ตลาดร่วมที่ช่วยประเทศไทยก้าวต่อไปเชื่อมตลาดโลก

วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2565  ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค หรือ  (Regional Comprehensive Economic Partnership: RCEP) จะมีผลบังคับใช้อย่างจริงจัง

RCEP เป็นการพัฒนามาจากแนวคิด ASEAN+3/ASEAN+6 ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ของอาเซียน ภายใต้ AEC Blueprint ถือเป็นสนธิสัญญาการค้าขนาดใหญ่ที่อาเซียนเสนอเพื่อส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศสมาชิกและการค้ากับพันธมิตรในข้อตกลงเขตการค้าเสรี (FTA) ประกอบด้วย กลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียน (ASEAN) 10 ประเทศ ได้แก่ บรูไน กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย เมียนมา ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม พร้อมด้วยคู่ค้าอาเซียนอีก 5 ประเทศ อันได้แก่ ออสเตรเลีย จีน ญี่ปุ่น นิวซีแลนด์ และเกาหลีใต้

จ่ายค่าไฟฟ้า “แพงกว่าที่ควรจะเป็น” หรือเปล่า

การบินไทย ยังต้องเป็นสายการบินแห่งชาติตลอดไป

ความยิ่งใหญ่ของ RCEP คือความตกลงที่ครอบคลุมตลาดที่มีประชากรรวมกัน 2,200 ล้านคน หรือเกือบ 30% ของประชากรโลก มีผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ (Gross Domestic Product: GDP) รวมกันกว่า 28.5 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 32.7% ของ GDP โลก และมีมูลค่าการค้ารวมกว่า 10.4 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ (ประมาณ 326 ล้านล้านบาท) หรือคิดเป็นเกือบ 28% ของมูลค่าการค้าโลก

ความตกลง RCEP ใช้เวลาเกือบ 8 ปี นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2556 จนถึงสิงหาคม พ.ศ.2563  มีการประชุมหลายครั้ง เช่น การประชุมระดับผู้นำ 3 ครั้ง  การประชุมระดับรัฐมนตรี 18 ครั้ง การประชุมระดับคณะกรรมการ (TNC) 43 ครั้ง โดยในปี พ.ศ.256 RCEP มีการประชุมระดับรัฐมนตรี 7 ครั้ง (ไทยเป็นเจ้าภาพ 5 ครั้ง)การประชุมระดับคณะกรรมการ /คณะทำงาน 12 ครั้ง (ไทยเป็นเจ้าภาพ 6 ครั้ง)

โครงสร้างความตกลงของ RCEP สาระสำคัญของ 20 บท เป็นความตกลงที่ทันสมัยและมีคุณภาพสูงบนพื้นฐานของผลประโยชน์ร่วมกัน ครอบคลุมการค้าสินค้า การค้าบริการ การลงทุน ความร่วมมือทางเศรษฐกิจและทางเทคนิค ทรัพย์สินทางปัญญา การแข่งขัน การระงับข้อพิพาท และประเด็น อื่น ๆ ที่เห็นพ้องกัน โดยมีรายละเอียด ดังนี้

ï สอดคล้องกับกฎกติกาภายใต้ความตกลงขององค์การการค้าโลก 

-สร้างผลประโยชน์เพิ่มเติมจากความตกลงการค้าเสรีอาเซียนกับประเทศคู่ภาคีที่มีอยู่ในปัจจุบัน โดยตระหนักถึงระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่แตกต่างกันระหว่างประเทศสมาชิก และให้ความยืดหยุ่นที่เหมาะสมแก่ประเทศกำลังพัฒนาและประเทศด้อยพัฒนา 

-ส่งเสริมการอำนวยความสะดวกและความโปร่งใสทางการค้าสินค้า การค้าบริการ และการลงทุน รวมทั้งส่งเสริมการเข้าสู่ห่วงโซ่อุปทานภายในภูมิภาคและตลาดโลก 

-ส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจและขีดความสามารถเพื่อลดช่องว่างความแตกต่างของการพัฒนา 

-ส่งเสริมความร่วมมือด้านประเด็นอื่นที่มีบทบาทต่อการค้ายุคใหม่ อาทิ ทรัพย์สินทางปัญญา การแข่งขัน รวมทั้งเปิดโอกาสให้พิจารณาประเด็นอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการค้า อาทิ สิ่งแวดล้อม การจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ และแรงงาน โดยคำนึงถึงสภาพความเป็นจริงทางธุรกิจ 

-เปิดโอกาสให้ประเทศอื่น ๆ ที่สนใจเข้าร่วมในภายหลัง

ก่อนหน้านี้รัฐสภาของไทยมีมติเห็นชอบการให้สัตยาบันความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ดังนั้นเมื่อวันที่ 28 ตุลาคมที่ผ่านมา คณะผู้แทนถาวรไทยประจำอาเซียน ณ กรุงจาการ์ตา นำส่งสัตยาบันสารของไทยสำหรับความตกลง RCEP ให้แก่เลขาธิการอาเซียน เพื่อให้ความตกลงมีผลบังคับใช้ เพราะประเทศไทยจะได้รับประโยชน์จากการเข้าเป็นสมาชิก  RCEP หลายประการ

โดยเฉพาะสินค้าในหมวดสินค้าเกษตร หมวดอาหาร ผักผลไม้แปรรูป หมวดสินค้าอุตสาหกรรม หมวดบริการ หมวดก่อสร้าง และการค้าปลีก เช่น การยกเลิกภาษีนำเข้าที่เก็บกับสินค้าไทย จำนวน 39,366 รายการ โดยลดภาษีเหลือ 0% ทันที จำนวน 29,891 รายการ ด้านการลงทุนเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมการลงทุนในภูมิภาค มีบทบัญญัติที่ครอบคลุม 4 เสาหลักของการลงทุน – การคุ้มครอง การเปิดเสรี การส่งเสริม และการอำนวยความสะดวก 

พิธีการศุลกากรและการอำนวยความสะดวกทางการค้า สำหรับสินค้าเร่งด่วนและสินค้าเน่าเสียง่าย ความตกลงระบุให้ปล่อยสินค้าเหล่านี้ออกจากการควบคุมทางศุลกากรภายใน 6 ชั่วโมง หลังจากสินค้ามาถึงและมีการยื่นข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการตรวจปล่อยภายใน 6 ชั่วโมง และสินค้าปกติภายใน 48 ชั่วโมง

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ชี้ให้เห็นว่าถึง มูลค่าการค้ารวมของไทยกับกลุ่ม RCEP ประมาณ 2.86 แสนล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 59.5% ของการค้ารวมของไทย แบ่งเป็นการส่งออก 1.40 แสนล้านเหรียญสหรัฐ 57% ของการส่งออกไทยไปโลก การนำเข้า 1.46 แสนล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 62% ของการนำเข้าไทยจากโลก

จะเห็นความร่วมมือการลงสัตยาบันของประเทศไทยกับ RCEP จะสร้างผลบวกให้กับประเทศอย่างมาก แม้ประเทศอินเดียจะถอนตัวไปก็ตาม แต่ทำให้ประเทศไทยสามารถเปิดตลาดนอกเหนือจากกลุ่มประเทศอาเซียน ยังมีประเทศคู่เจรจาทางการค้าอีก 5 ประเทศด้วย 

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ