TH | EN
TH | EN
หน้าแรกBusiness3 ปัจจัย สร้างความเท่าเทียม สมรภูมิการค้าออนไลน์

3 ปัจจัย สร้างความเท่าเทียม สมรภูมิการค้าออนไลน์

ข้อมูลจากการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (UNCTAD) พบว่าประเทศไทยมีการใช้แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซเป็นอันดับที่ 16 ของโลก และยังครองแชมป์ที่ 1 ในอาเซียน

โดยมีมูลค่ารวมกว่า 46.51% ของธุรกิจเมื่อเทียบกับธุรกิจดั้งเดิม ตัวเลขเหล่านี้จะสะท้อนอัตราการใช้จ่ายที่สูงของคนไทย แต่เมื่อพิจารณาในด้านรายได้ที่เข้าสู่กระเป๋าของผู้ประกอบการกลับพบว่าในแพลตฟอร์มเหล่านั้นมีสินค้าของผู้ค้าไทยเพียง 23% ในขณะที่สินค้าส่วนใหญ่ที่ขายบนแพลตฟอร์มเป็นของต่างชาติถึง 77% การสวนทางกันของมูลค่าดังกล่าวจึงไม่ใช่การสนับสนุนธุรกิจไทยโดยแท้จริงแต่กลับเป็นการทำให้เงินไหลออกนอกประเทศมากขึ้นเรื่อย ๆ 

เพราะฉะนั้น ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีของผู้ประกอบการที่ยิ่งมีมากจึงหมายถึงโอกาสในการแข่งขันที่มากขึ้นตามไปด้วย แต่สิ่งที่สวนทางคือมีผู้ประกอบการไทยที่ปรับตัวให้เท่าทันกับออนไลน์ได้เพียง 20% เท่านั้น หรือแม้แต่กระทั่งช่องทางการค้าออนไลน์ที่พัฒนาโดยคนไทยก็กำลังหายไปอันเนื่องมาจากความนิยมที่ลดลง 

ศาสตราจารย์ ดร.สกนธ์ วรัญญูวัฒนา ประธานกรรมการการแข่งขันทางการค้า เปิดเผยว่า จากข้อมูลดังกล่าวสะท้อน Digital Disruption เข้ามาเปลี่ยนแปลงบริบททางสังคมและพฤติกรรมการบริโภค จะเห็นได้ว่าปัจจุบันเทคโนโลยีออนไลน์ได้เข้ามามีบทบาทในการทำธุรกิจในประเทศ และกลายเป็นช่องทางการซื้อขายที่สำคัญ เพราะเพียงแค่เปิดเครื่องมือสื่อสารขึ้นมาก็จะเจอกับแพลตฟอร์มออนไลน์ที่สามารถรองรับได้ทั้งการค้าปลีกค้าส่งการบริการ การท่องเที่ยว ฯลฯ ซึ่งผู้บริโภคสามารถเข้าถึงได้เพียงไม่กี่วินาที และหากพิจารณาเพียงผิวเผินก็จะเห็นว่าเป็นข้อดีสำหรับผู้บริโภค แต่ในอีกด้านหนึ่งกลับเป็นก้างชิ้นใหญ่ของผู้ประกอบการค้าปลีกที่กำลังจะถูกแย่งตลาดโดยผู้ที่มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีที่มากกว่า อีกทั้งยังนำมาซึ่งโอกาสการมีอำนาจเหนือตลาดหรือการผูกขาดทางการค้าอย่างมีนัยสำคัญในอนาคตอีกด้วย

อัลกอริทึมกับการกีดกันทางการค้าในอีคอมเมิร์ซ – อีมาร์เก็ตเพลส 

นอกจากการเข้ามาแย่งตลาดของผู้ประกอบการไม่ว่าจะเป็นรายเล็กหรือรายใหญ่ที่ได้รับผลกระทบขณะนี้พฤติกรรมที่ต้องเฝ้าระวังที่เกิดขึ้นของแพลตฟอร์มออนไลน์ใช้ประโยชน์ของเทคโนโลยีที่น่าสนใจคือ “อัลกอริทึม” ซึ่งยักษ์ใหญ่หลายรายในต่างประเทศนำมาใช้ทั้งการตรวจสอบราคาของแพลตฟอร์มคู่แข่ง ที่นำไปสู่การตั้งราคาที่ถูกกว่าของสินค้าที่อยู่บนแฟลตฟอร์มของตัวเองโดยอัตโนมัติ รวมถึงยังใช้เป็นเครื่องมือในการลดการมองเห็นโพสต์ต่าง ๆที่มีลักษณะในเชิงพาณิชย์ของคู่แข่งในตลาด ซึ่งส่งผลต่อการวางกลยุทธ์ด้านราคาของผู้ประกอบการรายย่อยที่ไม่สามารถเข้าถึงการใช้เทคโนยีเหล่านี้ได้ หรือแม้แต่กระทั่งการผลักดันให้ผู้บริโภคมองเห็นเนื้อหาการค้าขายสินค้าหรือบริการต่าง ๆ อย่างซ้ำไปซ้ำมา ซึ่งเทคโนยีเหล่านี้เป็นความท้าทายแบบใหม่เนื่องจากเป็นสิ่งที่ไม่มีตัวตน ไม่มีโครงสร้างที่จับต้องได้ และถือเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่ทั่วโลกจำเป็นต้องมีทางแก้ที่เป็นรูปธรรม และหากในอนาคตความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีพัฒนาอย่างก้าวกระโดด อาจเป็นปัญหาที่สายเกินแก้เช่นกัน  

วางกรอบกฎหมายลดการเอาเปรียบผู้ประกอบการรายเล็กในไทย

ผลจากการพัฒนาเทคโนโลยี แพลตฟอร์มที่ทำให้ธุรกิจไมโครเอสเอ็มอี(MSMEs) ดั้งเดิมต้องมีการปรับตัวให้ทันกับเทคโนโลยีและพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลง แต่ปัญหาการปรับตัวที่ไม่ทัน ทำให้การเติบโตที่ลดลงของกลุ่มไมโครเอสเอ็มอี ซึ่งกลุ่มธุรกิจนี้ถือเป็นกลุ่มที่มีความสำคัญอย่างมากเนื่องจากมีสัดส่วนถึง 99.5 ของจำนวนผู้ประกอบการทั้งหมด มีบทบาทต่อการจ้างงานที่สูงถึง 12 ล้านคน และมีผลประกอบการที่มากกว่า 35% ใน GDP รวมของประเทศ  ทำให้ผู้ประกอบการกลุ่มดังกล่าวกำลังตกอยู่ในภาวะความเสี่ยงทั้งการฟื้นฟูสภาพคล่อง ประเทศไทยจึงมีความจำเป็นที่จะต้องเร่งเยียวยาและแก้ไข พร้อมผลักดันให้ผู้ประกอบการเหล่านี้กลับมามีพลังในการสร้างเศรษฐกิจไทยให้กลับมาสดใสอีกครั้งด้วยการสร้างกลไก และสภาพแวดล้อม “การแข่งขันทางการค้าที่เป็นธรรมเท่าเทียม

การเข้ามาครองตลาดของแพลตฟอร์มต่างชาติ ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบธุรกิจค้าปลีกค้าส่งรายย่อยเท่านั้น แต่ยังมีผลต่อแพลตฟอร์มที่เป็นของคนไทย ที่มีการใช้บริการลดน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด ผลกระทบนี้ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะประเทศไทยแต่ประเทศในกลุ่มอาเซียนก็ได้รับผลกระทบในเรื่องนี้เช่นกัน ดังนั้นในการสกัดกั้นการถูกแพลตฟอร์มออนไลน์เอาเปรียบจึงควรเป็นในลักษณะของความร่วมมือ และกติกาที่ควรนำมาใช้ควรหยิบยกจากประเทศใหญ่ ๆ ที่ประสบความสำเร็จ หรือมีแนวทางที่เป็นรูปธรรมแล้ว เช่น ในสหภาพยุโรป (EU) ที่มีกฎระเบียบ Platform to Business Regulation ร่างกฎหมาย Digital Services Act (DSA) และร่างกฎหมาย Digital Market Act (DMA) ซึ่งมุ่งเน้นสภาพแวดล้อมด้านธุรกิจออนไลน์ให้เป็นไปอย่างยุติธรรมทั้งสำหรับภาคธุรกิจและผู้บริโภค หรือประเทศเกาหลีใต้ ที่เริ่มมีการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 10 ในสินค้าและบริการที่ซื้อขายทางอิเล็กทรอนิกส์ ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2558 ประเทศอินเดีย ที่เริ่มจัดเก็บภาษีรายได้ร้อยละ 2 จากมูลค่าการซื้อขายทางอิเล็กทรอนิกส์ตั้งแต่ พ.ศ. 2563 โดยเก็บเฉพาะผู้ขายที่อยู่หรือมี IP Address ในประเทศอินเดียเท่านั้น อย่างไรก็ดี คณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า (กขค.) ได้ยื่นข้อเสนอแนวทางดังกล่าวต่อเลขาธิการอาเซียนให้กำหนดเป็นวาระสำคัญในการประชุมครั้งต่อไป เพื่อผลักดันมุมมองเรื่องนี้เข้าไปในวาระสำคัญที่อาเซียนต้องร่วมมือกันเร่งแก้ปัญหา เพราะถ้าหากปล่อยไว้เป็นเวลานาน ๆ หมายถึงความยิ่งใหญ่ของธุรกิจต่างชาติที่จะคืบคลานและยิ่งทวีอำนาจในที่สุด 

กขค. เริ่มแล้ว ไกด์ไลน์แพลตฟอร์มเดลิเวอรี่อาหาร  

สถานการณ์และปัญหาการแข่งขันทางการค้าที่ไม่เป็นธรรมที่เกิดขึ้นต่อ MSMEs เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า (กขค.) ในการเข้ามากำกับการประกอบธุรกิจข้องกับอีคอมเมิร์ซอีกทางหรือ สิ่งที่สำนักงานฯ ได้เร่งแก้ไขแล้วคือ ออกประกาศแนวทางพิจารณาการปฏิบัติทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม (ไกด์ไลน์) ระหว่างผู้ประกอบธุรกิจให้บริการดิจิทัลแพลตฟอร์มรับและส่งอาหารกับผู้ประกอบธุรกิจร้านอาหาร ที่กำกับดูแลผู้ประกอบธุรกิจให้บริการดิจิทัลแพลตฟอร์มรับและส่งอาหารที่อาจเข้าข่ายเป็นการกระทำอันเป็นผลให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ประกอบธุรกิจร้านอาหาร มีการติดตามพฤติกรรมของผู้ประกอบการอีคอมเมิร์ซที่อาจเข้าข่ายการกระทำความผิด พ.ร.บ. การแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2560 ร่วมกับสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเป็นต้น ยิ่งไปกว่านั้นในส่วนของการค้าระหว่าง SMEs และผู้ประกอบการค้าปลีกรายใหญ่ ได้มีการจัดทำแนวทางพิจารณาการปฏิบัติทางการค้าที่เป็นธรรมเกี่ยวกับระยะเวลาการให้สินเชื่อการค้า (Credit Term) สำหรับผู้ประกอบธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)รวมทั้งพฤติกรรมการส่งเสริมการตลาดต่าง ๆ ที่อาจเข้าข่ายผิดกฎหมาย เพื่อให้กลุ่มธุรกิจเหล่านี้ตระหนักและเข้าใจกฎหมายการแข่งขันทางการค้า และสามารถแข่งขันกับผู้ประกอบธุรกิจรายใหญ่ได้อย่างเสรีและเป็นธรรมมากขึ้น

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ