TH | EN
TH | EN
หน้าแรกTechnology‘หัวเว่ย’ กับภารกิจดันไทยสู่ ‘ดิจิทัลฮับ’ แห่งอาเซียน

‘หัวเว่ย’ กับภารกิจดันไทยสู่ ‘ดิจิทัลฮับ’ แห่งอาเซียน

หัวเว่ย (Huawei) บริษัทด้านโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ICT ระดับโลก ที่คนส่วนใหญ่รู้จักจากสมาร์ทดีไวซ์ ซึ่งยังมีอีก 3 กลุ่มธุรกิจหลักที่หัวเว่ยให้บริการคือ เครือข่ายโทรคมนาคม ไอที และบริการคลาวด์ ก่อตั้งขึ้นในปี  2530  และเป็นบริษัทเอกชนที่มีพนักงานเป็นผู้ถือหุ้นทั้งหมด จนปัจจุบันมีพนักงานกว่า 194,000 คน ดำเนินธุรกิจในกว่า 170 ประเทศทั่วโลก

สำหรับเส้นทางในประเทศไทย ‘หัวเว่ยเทคโนโลยี่ (ประเทศไทย)’ เข้ามาทำธุรกิจตั้งแต่ปี 2542 ต่อมาในปี 2559 เปิดสำนักงานใหญ่ประจำภูมิภาคแห่งใหม่ขึ้นที่กรุงเทพฯ ซึ่งหัวเว่ยในประเทศไทยยังเป็นศูนย์กลางการปฏิบัติงานของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยในปี 2557 มีโอเปอเรเตอร์กว่า 65 รายที่เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ของหัวเว่ย และมีพาร์ตเนอร์ทางธุรกิจเกิดขึ้นจำนวนมาก มีบริการด้านระบบและอุปกรณ์เครือข่ายสำหรับธุรกิจทั้งในภาครัฐและภาคเอกชนอีกหลายแห่ง นอกจากผลิตภัณฑ์และบริการแล้ว หัวเว่ยยังทำงานร่วมกับโอเปอเรเตอร์อย่างใกล้ชิดเพื่อช่วยพัฒนากลยุทธ์ทั้งในด้านการพัฒนาเครือข่ายและรูปแบบธุรกิจ

หัวเว่ย เตรียมดันไทยเป็นดิจิทัลฮับแห่งอาเซียน แต่งตั้ง ‘เดวิด หลี่’ นั่งแท่น CEO ประจำประเทศไทย

โดยในปี 2564 หัวเว่ยได้รับรางวัล ‘Digital International Corporation of the Year’ ของไทยเป็นครั้งแรก และได้รับรางวัลแบรนด์ที่น่าเชื่อถือสูงสุด ‘Most Admirable Brand’ จากผู้บริโภค รวมถึงรางวัล ‘Thailand TOP Company Award’ จากองคมนตรีด้านโครงสร้างพื้นฐานยอดเยี่ยมเพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัล ทำให้ในปี 2565 หัวเว่ยประกาศ 4 กลยุทธ์หลักในการขับเคลื่อนธุรกิจของไทย ได้แก่ 1.สนับสนุนการใช้งาน 5G ด้วยการเชื่อมต่อที่แพร่หลาย 2.การสร้างแพลตฟอร์มดิจิทัลบนคลาวด์ 3.กระตุ้นการเปลี่ยนผ่านสู่วิถีชีวิตคาร์บอนต่ำด้วยดิจิทัล และ4.เสริมศักยภาพผู้เชี่ยวชาญด้านดิจิทัลและพัฒนานวัตกรรม

สำหรับปี 2566 นี้ หัวเว่ยได้เพิ่มการพัฒนาอีก 2 ส่วน เป็น 6 ส่วนที่สำคัญในการผลักดันให้ประเทศไทยขึ้นสู่การเป็นดิจิทัลฮับในอาเซียน โดยช่วงปลายปี 2565 ได้ประกาศแต่งตั้งประธานกรรมการบริหาร บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด คนใหม่ คือ เดวิด หลี่ 

‘เดวิด หลี่’ คือใคร

เดวิดหลี่ จบการศึกษาในระดับปริญญาโท ด้านการออกแบบเครื่องกลสำหรับการผลิตจากมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีหัวจงในจีน และเริ่มเข้ามาร่วมงานกับหัวเว่ยตั้งแต่ปี 2545 ในตำแหน่งวิศวกรแผนกวิจัยและพัฒนาที่สาขาใหญ่ของบริษัทหัวเว่ยในเมืองเซินเจิ้นของจีน ต่อมาในปี  2556 – 2557 ได้รับการแต่งตั้งให้ขึ้นเป็นหัวหน้าแผนกโซลูชันโครงข่ายของหัวเว่ยภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และในช่วงปี 2557 – 2560 ได้รับตำแหน่งรองประธานกรรมการบริหารฝ่ายขายของหัวเว่ยในอินเดีย หลังจากนั้นในปี 2560 ขึ้นสู่ตำแหน่งประธานกรรมการบริหารของหัวเว่ยในกัมพูชา จนกระทั่งได้รับการแต่งตั้งให้เป็นประธานกรรมการบริหารของหัวเว่ยในอินเดีย เมื่อปี 2564 ก่อนจะเข้ามารับตำแหน่งประธานกรรมการบริหาร บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ในเดือนพฤศจิกายน 2565 ที่ผ่านมา

ทั้งนี้ตลอดอาชีพการทำงานเขาได้แสดงความโดดเด่นในด้านการพัฒนาและลงมือปฏิบัติตามแผนกลยุทธ์สำคัญต่าง ๆ ที่กำหนดทิศทางของบริษัท ทั้งยังได้สร้างความร่วมมือที่เป็นประโยชน์ร่วมกับผู้นำในภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ และฐานลูกค้าชั้นนำของหัวเว่ย

6 แกนหลักมุ่งปั้นไทยสู่ดิจิทัลฮับอาเซียน

สำหรับการรับช่วงต่อจาก อาเบล เติ้ง ประธานกรรมการบริหารคนก่อนหน้า เพื่อต่อยอดกลยุทธ์ในประเทศไทยนั้น เดวิด หลี่ กล่าวว่า ก่อนหน้านี้เคยเข้ามาร่วมงานในประเทศไทยแล้วเป็นเวลา 3 ปี จึงคุ้นเคยและชอบประเทศไทยมาก ซึ่งการได้รับตำแหน่งครั้งนี้นับเป็นอีกหนึ่งบทบาทที่สำคัญ ส่วนกลยุทธ์ในปีนี้เรามี 6 แกนหลักที่จะดำเนินการเพื่อใช้ในการขับเคลื่อนและผลักดันประเทศไทยเพื่อขึ้นสู่การเป็นดิจิทัลฮับแห่งอาเซียน ได้แก่ 

การสนับสนุน 5G ให้มีการใช้งานอย่างแพร่หลายมากขึ้น ซึ่งโครงสร้างพื้นฐานของ 5G ครอบคลุมแล้วในหลายพื้นที่ของหัวเมืองใหญ่ในไทย โดยในปี 2565 ที่ผ่านมา เราร่วมมือกับการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) ในโครงการความร่วมมือวิจัยและก่อสร้างท่าเรืออัจฉริยะ 5G และท่าเรือที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในไทยเพื่อรองรับเทรนด์การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล รวมถึงโครงการโรงพยาบาลอัจฉริยะ 5G นำร่องแห่งแรกที่โรงพยาบาลศิริราชด้วยการนำเทคโนโลยี 5G ,Cloud และ AI เข้ามาใช้ ซึ่งในปี 2566 นี้ เราจะมุ่งขยายความครอบคลุมของโครงข่ายแบบไฟเบอร์ในพื้นที่ห่างไกลของไทยและทำงานร่วมกับพาร์ตเนอร์เพื่อให้สามารถส่งมอบบริการ 5G ที่มีคุณภาพและมีราคาที่สามารถเข้าถึงได้ เพื่อส่งเสริมการเชื่อมต่อซึ่งถือเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของคนไทยและสามารถช่วยผลักดันการพัฒนาในภาคสังคมได้

หัวเว่ยเผยเทรนด์อุตสาหกรรมดิจิทัล ปี 2030 แนะใช้ 5G Cloud และ AI สร้างโอกาสทางธุรกิจ

การพัฒนาระบบ Cloud ด้วยการพัฒนาศักยภาพของคนไทยให้มีความรู้เกี่ยวกับระบบนี้มากขึ้นเพื่อส่งผลดีต่อการนำไปใช้งานในธุรกิจต่างๆ ของประเทศไทย เนื่องจากเรามองว่าธุรกิจหัวเว่ยเติบโต ธุรกิจไทยก็เติบโตตามไปด้วยเช่นกัน และหัวเว่ยจะช่วยสนับสนุนธุรกิจและสตาร์ทอัพต่าง ๆ ในไทยให้มาปรับใช้คลาวด์ที่มีความน่าเชื่อถือและเป็นไปตาม พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA) ของไทย โดยมีเป้าหมายเพื่อยกระดับดัชนีความปลอดภัยทางไซเบอร์ในระดับโลก (GCI) ให้แก่ประเทศ

การสร้างบุคลากรไอซีทีในไทย โดยหัวเว่ยตั้งเป้าหมายของหัวเว่ยที่ไม่ได้ให้ความสำคัญแค่เพียงความสำเร็จทางธุรกิจ แต่ยังให้ความสำคัญถึงคุณค่าทางสังคมและการบ่มเพาะบุคลากรในประเทศ โดยในปีนี้หัวเว่ย ประเทศไทยจะมุ่งให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับการสร้างบุคลากรไอซีทีในไทย โดยเฉพาะการมุ่งฝึกอบรมนักพัฒนาที่มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีให้ได้ถึง 20,000 คน ภายในระยะเวลา 3 ปี เพื่อช่วยผลักดันการเปลี่ยนผ่านเชิงดิจิทัลในภาคอุตสาหกรรม บ่มเพาะทักษะทางเทคโนโลยีที่มีความสำคัญให้แก่นักพัฒนาและช่วยพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัลในไทย ผ่านการทดสอบเพื่อมอบใบรับรองและต่อยอดโครงการด้านการฝึกอบรมต่างๆ ของหัวเว่ย เช่น โครงการบ่มเพาะธุรกิจเอสเอ็มอี Spark Ignite โครงการรถดิจิทัลเพื่อสังคมซึ่งจะต่อยอดให้ครอบคลุมในพื้นที่ 10 จังหวัด เป็นต้น

หัวเว่ย ผนึก ฮิวแมนิก้า เพิ่มศักยภาพระบบทรัพยากรบุคคล ด้วย Workplaze และ เทคโนโลยีคลาวด์

หัวเว่ยจับมือกระทรวงพาณิชย์ส่ง “รถดิจิทัล” เร่งพัฒนาบุคลากรไอซีที จ.พะเยา

เดินหน้าสร้างความร่วมมือกับ EBG (Enterprise Business Group) อย่างต่อเนื่อง โดยที่ผ่านมามีการสร้างความมือกับหลายภาคส่วนเพื่อร่วมผลักดันด้านไอซีทีให้เกิดขึ้นในภาพใหญ่ของอุตสาหกรรมไทย เพื่อให้เกิดดิจิทัลฮับอาเซียน

กระตุ้นให้เกิดความเป็นกลางด้านคาร์บอนโดยหัวเว่ยได้ลงทุนเพิ่มเติมในด้านธุรกิจพลังงานดิจิทัลในปีที่ผ่านมา เพื่อช่วยพัฒนาธุรกิจพลังงานด้วยดิจิทัลให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมยิ่งขึ้น พร้อมช่วยภาคอุตสาหกรรมให้สามารถขยายตัวและสร้างคุณค่าทางสังคมควบคู่กันไปได้ 

ความปลอดภัยทางไซเบอร์ สนับสนุนด้านการสร้างความตระหนักรู้เรื่องนี้ด้วยการแบ่งปันองค์ความรู้และหลักปฏิบัติด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์สำหรับเทคโนโลยี 5G ให้แก่หน่วยงานที่มีหน้าที่กำกับดูแล ภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ในไทย และกลุ่มลูกค้าของเรา รวมทั้งพัฒนาประสิทธิภาพด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์และการปกป้องข้อมูลให้แก่โครงสร้างพื้นฐานไอซีทีในไทย เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่อีโคซิสเต็มด้านไซเบอร์ของประเทศ

ตลอด 3 ปีที่ผ่านมาว่า หัวเว่ยได้ร่วมเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลของไทยมาโดยตลอด ครอบคลุมทั้งด้านการผลักดันโครงข่ายและการประยุกต์ใช้ 5G ในภาคอุตสาหกรรมต่างๆ การติดตั้งศูนย์ข้อมูลคลาวด์ในประเทศไทยถึง 3 แห่งและการทำงานร่วมกับพาร์ตเนอร์กว่า 300 ราย การนำโซลูชันเข้าประยุกต์ใช้ในภาคอุตสาหกรรมของไทยกว่า 10 ประเภท การผลักดันพลังงานดิจิทัลเพื่อช่วยสนับสนุนเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนของประเทศไทย การร่วมแบ่งปันองค์ความรู้ด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ และการมีส่วนร่วมพัฒนาบุคลากรด้านไอซีทีไทยกว่า 60,000 ราย” ประธานกรรมการบริหาร หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) กล่าว

ซีอีโอกูเกิล เผยวิสัยทัศน์ก้าวสำคัญของ Google บนเส้นทาง AI

เมืองอัจฉริยะ – ศูนย์ดิจิทัลชุมชน กลยุทธ์เติมเต็มคุณภาพชีวิตดีแบบยั่งยืน

Bitkub ปรับกลยุทธ์เน้นความยั่งยืน จัดทัพเตรียมรับการเติบโตรอบใหม่

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ