TH | EN
TH | EN
หน้าแรกTechnologyทีม Ktaff คว้ารางวัลชนะเลิศ การแข่งขัน AI & ROBOTICS HACKATHON 2022

ทีม Ktaff คว้ารางวัลชนะเลิศ การแข่งขัน AI & ROBOTICS HACKATHON 2022

บริษัท เอไอ แอนด์ โรโบติกส์ เวนเจอร์ส จำกัด (ARV) และบริษัท วรุณา (ประเทศไทย) จำกัด (VARUNA) ประกาศผลรางวัล การแข่งขัน AI & Robotics Hackathon 2022 ภายใต้หัวข้อ Crop Classification Machine Learning โดยมีผู้ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการถึง 16 ทีมจากการคัดเลือกผู้เข้าแข่งขันจากทั่วโลก

โครงการแข่งขัน AI & Robotics Hackathon 2022 มีวัตถุประสงค์ในการเฟ้นหาวิธีการจำแนกพืชผลโดยใช้เทคโนโลยีการสำรวจระยะไกลและภาพถ่ายจากดาวเทียม ซึ่งมีศักยภาพในการนำมาพัฒนาต่อยอดเป็นฟีเจอร์ที่สำคัญของแพลตฟอร์ม VARUNA และสามารถนำมาใช้ในการเพิ่มขีดความสามารถในการวางแผนเพาะปลูก และเพิ่มผลผลิตแก่วงการเกษตรกรรมของไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป โดยได้รับความสนใจจากนักศึกษา สตาร์ตอัพ นวัตกร ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี ฯลฯ จากทั่วโลก ที่ส่งผลงานเข้ามาในรอบคัดเลือกอย่างล้นหลามถึงมากกว่า 50  ทีม และทางทีมงานได้คัดเลือกผู้ที่ผ่านเข้ารอบเพื่อร่วม Hackathon รอบสุดท้ายในระหว่างวันที่ 18 – 19 มิถุนายน 2565 เป็นจำนวน 16 ทีม

ทีมที่ผ่านการคัดเลือกจะได้รับโจทย์และชุดข้อมูล (Data Set) สำหรับพัฒนาโมเดลของตัวเองให้มีประสิทธิภาพ แม่นยำ และสามารถนำมาประยุกต์ได้จริง พร้อมทั้งได้รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญในการให้คำปรึกษา (Mentors) ทั้งจากทีม VARUNA และพาร์ทเนอร์จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เพื่อให้ผลงานสมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น 

ซึ่งในวันที่ 25 มิถุนายนที่ผ่านมา ผู้เข้ารอบแต่ละทีมได้ทำการนำเสนอผลงานฉบับสมบูรณ์ของตนในรอบสุดท้าย และรายชื่อของทีมที่ได้รับรางวัลชนะเลิศในอันดับต่าง ๆ ได้แก่ 

  • รางวัลชนะเลิศ รับเงินรางวัล 100,000 บาท ได้แก่ ทีม Ktaff นำเสนอแนวคิดที่โดดเด่นด้วยการแก้ปัญหาการจำแนกพืชผลทางการเกษตร โดยการประยุกต์ใช้ข้อมูลจากดาวเทียมร่วมกับเทคโนโลยีด้านต่าง ๆ มาแก้ไขปัญหาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความแม่นยำ และรวดเร็วในการเก็บข้อมูลทั้งยังประหยัดงบประมาณเพิ่มขึ้น สามารถนำไปต่อยอดในการสร้างระบบเพื่อวางแผนการผลิตให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นไปในอนาคต 
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง รับเงินรางวัล 50,000 บาท ตกเป็นของทีม No Name นำเสนอแนวทางการแก้ปัญหาความไม่แน่นอนของการออกผลผลิต โดยใช้เทคโนโลยีในการเพิ่มชุดข้อมูลทางการเกษตรเพื่อสร้างโอกาสใหม่ ๆ เช่น เพิ่มความเข้าใจในอัตราการเจริญเติบโตของพืช และสามารถคาดการณ์ปัญหาทางการเกษตรเพื่อสร้างประโยชน์สูงสุดต่อภาคเกษตรกรรม 
  • และทีม Vega ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับสอง รับเงินรางวัล 20,000 บาท นำเสนอแนวทางแก้ปัญหาการไม่สามารถมองภาพทางภูมิศาสตร์บนพื้นที่เกษตรกรรมได้อย่างทั่วถึง ด้วยเครื่องมือจัดการและจำแนกพืชผลทางการเกษตร และวิดีโอทางภูมิศาสตร์ เพื่อจำกัดกรอบปัญหาให้แคบลง และได้ข้อมูลที่ละเอียดขึ้น 

พณัญญา เจริญสวัสดิ์พงศ์ ผู้บริหารด้านธุรกิจและผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท วรุณา (ประเทศไทย) จำกัด (VARUNA) กล่าวว่า “การแข่งขัน AI & Robotics Hackathon 2022 ภายใต้โจทย์ “Crop Classification Machine Learning” ความท้าทายนี้คือผู้เข้าแข่งขันทุกคนควรจะมีความเข้าใจพื้นฐานทั้งในเรื่อง AI, Machine Learning, AgriTech และปัญหาภาคการเกษตรของทั้งประเทศไทย รวมไปถึงปัญหาของโลกที่กำลังเผชิญอยู่ในปัจจุบัน

ผู้เข้าประกวดทุกทีม จะต้องจัดเตรียมข้อมูลเพื่อนำมาอธิบายการทำงานก่อนสร้างโมเดลได้อย่างเป็นขั้นเป็นตอน มีความคิดสร้างสรรค์ และที่สำคัญคือ สามารถนำไปต่อยอดไอเดียทางธุรกิจในภาคอุตสาหกรรมการเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งผู้ชนะเลิศทั้ง 3 รางวัลก็สามารถเอาชนะใจกรรมการด้วยผลงานที่มีคุณภาพตามเกณฑ์ได้อย่างยอดเยี่ยม

อย่างไรก็ตาม ต้องขอขอบคุณและชื่นชมผู้เข้าร่วมการแข่งขันทีมอื่น ๆ ด้วย ที่มีความตั้งใจมาเข้าร่วมการแข่งขัน และนำเสนอผลงานในรอบชิงชนะเลิศอย่างเต็มความสามารถไม่แพ้กัน เชื่อว่าทุกคนจะกลายเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมด้านเกษตรกรรมและเทคโนโลยีของโลก ให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้นไปในอนาคตแน่นอน” 

ข่าวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ETDA จับมือ มช. ตั้งศูนย์ส่งเสริมธุรกรรมออนไลน์ เร่งทรานส์ฟอร์ม ผู้ประกอบการ-นักศึกษาภาคเหนือ

บิสกิต โซลูชั่น แนะรีเทลปรับใช้กล้องวงจรปิด เป็น AI CCTV ติดสปีดธุรกิจ

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ