TH | EN
TH | EN
หน้าแรกColumnistเตือน ASEAN เตรียมเผชิญโลกร้อน

เตือน ASEAN เตรียมเผชิญโลกร้อน

บริษัทที่ปรึกษาชั้นนำระดับโลกส่งคำเตือนนานาประเทศในอาเซียนให้จัดแผนวางนโยบายสร้างและยกระดับโครงสร้างสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานให้แข็งแกร่ง เพื่อรองรับผลกระทบจากสภาวะโลกร้อนหลังรายงานพบเป็นภูมิภาคที่เสี่ยงที่สุดที่จะสูญเสียมากที่สุดเมื่อเทียบกับภูมิภาคอื่น

แผนกวิจัยธุรกิจและเศรษฐกิจของ McKinsey เปิดเผยว่า ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีแนวโน้มประสบกับผลลัพธ์ที่เลวร้ายอย่างรุนแรงจากสภาวะโลกร้อนมากกว่าภูมิภาคอื่น ๆ ของโลก โดยเป็นปัจจัยท้าทายสำคัญของนานาประเทศในอาเซียน ท่ามกลางความพยายามของภูมิภาคที่ต้องการขยายการเติบโตทางเศรษฐกิจและคงสถานะเครื่องยนต์ที่จะจับเคลื่อนเศรษฐกิจโลกต่อไปได้

รายงานระบุว่า เอเชียและอาเซียน กำลังเผชิญหน้ากับอันตรายจากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศไม่ว่าจะเป็นน้ำท่วม ภัยแล้ง พายุ คลื่นความร้อน และความชื้นที่เพิ่มมากขึ้น ขณะที่การมาถึงของไวรัส COVID-19 ที่กำลังระบาดอยู่ในหลายประเทศทั่วโลกในเวลานี้ก็กลายเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญที่ทำให้ชีวิตและวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ลำบากยากเย็นมากขึ้น 

“ขณะที่โลกต่างจดจ่อถึงแนวทางการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ เป็นเรื่องที่สำคัญเช่นกันที่จะไม่ละเลยมองข้ามประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่เกิดขึ้นได้” Jonatha Woetzel ผู้อำนวยการ Mckinsey กล่าว

ทั้งนี้ รายงานประเมินว่า ภายในปี 2050 จะมีประชากรในบังกลาเทศ อินเดีย และปากีสถานรวมแล้วกว่า 500-700 ล้านคนที่ต้องเผชิญกับคลื่นความร้อนทุกปี

การที่ไม่สามารถออกไปทำกิจกรรมต่าง ๆ กลางแจ้งได้ ทำให้นานาประเทศในเอเชียและอาเซียนมีแนวโน้มสูญเสียจีดีพีทางเศรษฐกิจราวคิดเป็นมูลค่าราว 2.8 – 4.7 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ 

โดยมูลค่าความเสียหายของจีดีพีมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นสำหรับประเทศในเอเชียและอาเซียนที่มีสัดส่วนจีดีพีต่อหัวอยู่ในระดับต่ำกว่ามาตรฐาน เพราะแหล่งรายได้ของผู้คนในภูมิภาคดังกล่าว มาจาการทำงานด้วยกิจกรรมกลางแจ้ง เช่น ในภาคการเกษตร เป็นหลัก 

McKinsey ได้เน้นย้ำความเป็นไปได้ของอันตรายที่เกิดจากสภาวะโลกร้อนต่อ 10 ชาติสมาชิกภูมิภาคอาเซียน โดยประการแรกสุด ก็คือ ระดับอุณหภูมิและความชื้นที่จะเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งภายในปี 2050 อุณหภูมิและความชื้นภายในอากาศจะเพิ่มขึ้นระหว่าง 8-13% 

ประการที่สอง คือ โอกาสที่จะเกิดพายุลูกเห็บที่จะมีเพิ่มมากขึ้นประมาณ 3-4 เท่า ภายในปี 2050 ในประเทศอินโดนีเซีย และประการที่สาม คือ การที่รัฐต้องการจัดสรรงบประมาณส่วนหนึ่งไปกับการซ่อมบำรุงฟื้นฟูความเสียหายจากสภาวะโลกร้อน ซึ่งรายงานได้ยกตัวอย่าง ปัญหาน้ำท่วมในนครโฮจิมินห์ของเวียดนาม ซึ่งเป็นปัญหาซ้ำซากที่เกิดขึ้นบ่อยจนกลายเป็นความเคยชิน

รายงานระบุว่า น้ำท่วมของเวียดนามทำให้โครงสร้างสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานได้รับความเสียหาย โดยมูลค่าความเสียหายดังกล่าวมีแนวโน้มปรับตัวพุ่งขึ้นแตะระดับ 500 ล้าน – 1,000 ล้านดอลลาน์สหรัฐ

อย่างไรก็ตาม ใช่ว่าประเทศในอาเซียนจะไม่มีหนทางหลีกเลี่ยงหรือบรรเทาผลกระทบความเสียหายที่เกิดจากภาวะโลกร้อนได้เลย ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่า สิ่งที่สมควรทำ ก็คือ การสร้างโครงสร้างสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานให้มีความทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่กำลังเปลี่ยนแปลงอยู่ในขณะนี้ 

ทั้งนี้ McKinsey กล่าวว่า ข้อได้เปรียบของประเทศในอาเซียน ก็คือ การที่โครงสร้างสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานทั้งหมดล้วนยังคงอยู่ในขั้นเริ่มต้นก่อร่างสร้างขึ้น ดังนั้นจึงเป็นโอกาสที่จะเริ่มสร้างโครงสร้างสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานที่แข็งแกร่งทนทานที่จะต่อสู้ต้านทานกับสภาพอากาศเลวร้ายในรูปแบบต่าง ๆ ได้ 

“เอเชียและอาเซียนมีศักยภาพเช่นเดียวกันกับประเทศในภูมิภาคอื่น ๆ ทั่วโลกที่สามารถมีส่วนร่วมในการลดการปล่อยก๊าซพิษ ซึ่งจะมีผลต่อการระงับภาวะโลกร้อนได้ในที่สุด ยิ่งถ้าสามารถประยุกต์ใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีต่าง ๆ ได้ในทางที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ย่อมช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดผลลัพธ์ในทางที่เลวร้ายได้” McKinsey ระบุปิดท้ายในรายงาน 

ที่มา: CNBC

ภาพ: ทรงกลด แซ่โง้ว

ข่าวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ