TH | EN
TH | EN
หน้าแรกLifeสร้างคอนเทนต์อย่างไร ไม่ตกเป็นเครื่องมือมาร์เกตติ้งการเมือง

สร้างคอนเทนต์อย่างไร ไม่ตกเป็นเครื่องมือมาร์เกตติ้งการเมือง

การเลือกตั้ง 2566 กำลังใกล้เข้ามา ตัวแทนพรรคการเมืองทำหน้าที่อย่างหนักในการสร้างและส่งต่อคอนเทนต์หาเสียงบนโลกออนไลน์ ‘TikTok’ แพลตฟอร์มที่มีคนไทยทุกกลุ่ม ทุกช่วงวัยเข้าใช้งานจำนวนมาก คอนเทนต์ครีเอเตอร์จำนวนไม่น้อยสร้างรายได้บนแพลตฟอร์มนี้ แต่ในสถานการณ์ก่อนการเลือกตั้งแบบนี้ นักสร้างคอนเทนต์ต้องเรียนรู้สิ่งที่ทำได้และไม่ได้ให้ชัดเจน โดยล่าสุด TikTok ประกาศชัดว่า ไม่อนุญาตให้ผู้ใช้งานบนแพลตฟอร์มโปรโมตหรือซื้อโฆษณาและสร้างรายได้เกี่ยวกับคอนเทนต์ทางการเมืองเด็ดขาด พร้อมตอกย้ำด้วย Community Guideline เพื่อสร้างพฤติกรรมการครีเอทคอนเทนต์เชิงสร้างสรรค์บนแพลตฟอร์ม

คอนเทนต์การเมืองห้ามซื้อโฆษณาบน TikTok

ชนิดา คล้ายพันธ์ Head of Public Policy TikTok ประเทศไทย กล่าวว่า เราให้ความสำคัญกับการสร้างพื้นที่ปลอดภัยให้กับทุกคน และยึดมั่นในจุดยืนของแพลตฟอร์มในช่วงของการเลือกตั้ง 2566 ที่กำลังจะถึงนี้ในการต่อต้านข้อมูลที่ไม่ถูกต้องและถูกบิดเบือนทุกประเภท โดยการวางแผนดำเนินงานอย่างต่อเนื่องในการสร้างความร่วมมือกับองค์กรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 

ทั้งนี้รวมถึงการสร้างการรับรู้และให้ข้อมูลที่มีความถูกต้องจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ เพราะ TikTok เชื่อว่าประเด็นการสร้างความเข้าใจในการใช้เทคโนโลยีอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ หรือ Digital Literacy โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงของการเลือกตั้ง จะทำให้ทุกภาคส่วนช่วยกันสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีบนสังคมออนไลน์ได้ โดยเฉพาะกับผู้ใช้งานและชุมชนบนแพลตฟอร์มของ TiKTok 

TikTok รุกสร้างบรรทัดฐานใหม่ส่งเสริมคนไทยรู้เท่าทันสื่อออนไลน์ ผนึก 5 พันธมิตรเดินหน้าแคมเปญ #พื้นที่ปลอดภัยในการไถฟีด

TikTok เผยคอนเทนต์แบบไหนจะไม่โดนปิดการมองเห็น

อีกทั้งเรามีการให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้แพลตฟอร์มอย่างถูกต้องบนแพลตฟอร์ม โดยมีการอนุญาตให้มีการโปรโมตหรือการทำโฆษณาที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับประเด็นทางการเมืองโดยเด็ดขาด เราจัดประเภทของบัญชีที่เกี่ยวข้องกับการเมืองให้เป็นบัญชีของรัฐบาล นักการเมือง และพรรคการเมือง หรือ เรียกกลุ่มนี้ว่า GPPPA (Government, Politician, and Political Party Account) เพื่อสร้างขอบเขตที่ชัดเจนในการไม่อนุญาตให้บัญชีประเภทนี้เกี่ยวข้องกับการสร้างรายได้ในทุกประเภทบน TikTok 

บัญชีที่ถือว่าเป็นบัญชีของรัฐบาล นักการเมือง และพรรคการเมือง หรือ GPPPA ได้แก่

1. หน่วยงานระดับชาติ/หน่วยงานที่ดำเนินการโดยรัฐบาลกลาง เช่น หน่วยงาน/กระทรวง/สำนักงาน
2. หน่วยงานราชการส่วนท้องถิ่นและระดับจังหวัด/ระดับรัฐ
3. ผู้สมัครรับเลือกตั้งและเจ้าหน้าที่ผู้ได้รับเลือกตั้งในระดับสหพันธรัฐ/ระดับชาติ
4. เจ้าหน้าที่รัฐในระดับสหพันธรัฐ/ระดับชาติ เช่น รัฐมนตรีและเอกอัครราชทูต
5. โฆษกอย่างเป็นทางการหรือสมาชิกเจ้าหน้าที่อาวุโสของผู้สมัครรับเลือกตั้งระดับชาติ/ระดับรัฐ หรือเจ้าหน้าที่ผู้ได้รับเลือกตั้ง/ได้รับการแต่งตั้ง ตัวอย่างเช่น หัวหน้าคณะทำงาน ผู้อำนวยการฝ่ายรณรงค์หาเสียง หรือผู้อำนวยการฝ่ายดิจิทั
6. โฆษกอย่างเป็นทางการ สมาชิกเจ้าหน้าที่อาวุโส หรือผู้บริหารระดับสูงของพรรคการเมือง ตัวอย่างเช่น ประธานพรรคหรือผู้อำนวยการฝ่ายการเงิน
7. พรรคการเมือง
8. สมาชิกราชวงศ์ที่มีอำนาจบริหารราชการ
9. สมาคมทางการเมืองของเยาวชน (สำหรับพรรคการเมืองหลักตามดุลยพินิจของนโยบายสาธารณะระดับภูมิภาค)
10. อดีตประมุขของรัฐ / หัวหน้ารัฐบาล
11. คณะกรรมการปฏิบัติการทางการเมือง (PACs) หรือเทียบเท่าเฉพาะประเทศ
12. ผู้สมัครรับเลือกตั้งและเจ้าหน้าที่ผู้ได้รับเลือกตั้งในระดับรัฐ/จังหวัดและท้องถิ่นตามที่กำหนดโดยนโยบายสาธารณะระดับภูมิภาคตามปัจจัยทางการตลาด
13. เจ้าหน้าที่รัฐในระดับรัฐ/จังหวัดและท้องถิ่นตามที่กำหนดโดยนโยบายสาธารณะระดับภูมิภาคตามปัจจัยทางการตลาด

นอกจากนี้ TikTok ได้หารือกับนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและนำข้อเสนอแนะต่าง ๆ มาพัฒนานโยบายบนแพลตฟอร์มอย่างต่อเนื่อง มีการสร้างความร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญในการกำหนดหลักเกณฑ์สำหรับชุมชนของ TikTok เพื่อป้องกันเนื้อหาหรือข้อมูลที่ไม่ถูกต้องหรือมีการบิดเบือนความจริงที่เกี่ยวกับการเลือกตั้ง การละเมิดสิทธิผู้อื่น พฤติกรรมที่อาจทำให้เกิดความเกลียดชัง และแนวคิดที่สุดโต่งและรุนแรง ผ่านการจัดเสวนาในรูปแบบ Roundtable ในช่วงที่ผ่านมา รวมถึงการจัดอบรมเพื่อให้ความรู้และสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้แพลตฟอร์มอย่างถูกต้องให้กับพรรคการเมืองและนักการเมืองต่าง ๆ  

ส่วนการนำเครื่องมือบนแพลตฟอร์มมาในช่วงการเลือกตั้งคือ การสร้างศูนย์ข้อมูลการเลือกตั้งที่เรียกว่า ‘Election Centre’ เพื่อช่วยให้ผู้ใช้งานเข้าถึงข้อมูลที่เป็นทางการเกี่ยวกับการเลือกตั้ง ทั้งขั้นตอนในการใช้สิทธิ์ ข้อมูลของพรรคการเมืองและนักการเมือง และข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง ซึ่งถือเป็นบริการการประกาศเพื่อประโยชน์ของสาธารณะ (Public Service Announcement) โดยมีการเชื่อมต่อข้อมูลกับสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งแห่งประเทศไทย (กกต.) ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักที่ควมคุมดูแลการจัดการเลือกตั้งในประเทศไทย 

ทั้งนี้เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ผู้ใช้งานส่งต่อเนื้อหาที่ไม่ถูกต้องในช่วงของการเลือกตั้ง ก่อนที่ผู้ใช้งานจะกดยืนยัน 

ในการส่งต่อคอนเทนต์นั้น ๆ จะมีข้อความขึ้นเตือนให้ผู้ใช้งานพิจารณาและตรวจสอบข้อเท็จจริงก่อนเสมอ และหากผู้ใช้งานเห็นว่าเนื้อหาดังกล่าวละเมิดหลักเกณฑ์สำหรับชุมชนหรือเป็นข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง ผู้ใช้งานสามารถใช้ปุ่ม Election Report หรือปุ่มรายงานคอนเทนต์เกี่ยวกับการเลือกตั้งเพื่อรายงานคอนเทนต์ดังกล่าว 

“ไม่ใช่แค่พรรคการเมือง ตัวแทนพรรคการเมืองเท่านั้นที่ห้ามซื้อโฆษณาบน TikTok กรณีที่ผู้ใช้งานทั่วไปมีการเผยแพร่วิดีโฮที่เกี่ยวข้องทางการเมืองและซื้อโฆษณาเพื่อสร้างรายได้บน TikTok ก็ไม่สามารถทำได้เช่น ดังนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ใช้งานในชุมชนของเราต้องตระหนักรู้และเข้าใจบริบทหลักเกณฑ์ที่เป็นนโยบายของ TikTok” ชนิดา คล้ายพันธ์ Head of Public Policy TikTok ประเทศไทย กล่าว

TikTok ชุมชน Freedom of Speech อย่างมีขอบเขต

จิรภัทร หลี่ Product Policy Lead  TikTok ประเทศไทย กล่าวว่า เรามุ่งหวังการสร้างพื้นที่ปลอดภัยให้เกิดขึ้นในชุมชนของ TikTok ด้วยเราเป็นชุมชนที่มีความหลากหลายของผู้ใช้งาน ดังนั้นการสนับสนุนให้เป็นพื้นที่ Freedom of Speech อย่างมีขอบเขตที่ไม่สร้างผลกระทบในทางที่ไม่ดีต่อชุมชนโดยรวมจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ ซึ่งเรามีหลักเกณฑ์ชุมชน หรือ  Community Guideline กำหนดขอบเขตของคอนเทนต์ทำได้และทำไม่ได้ โดยมี 3 วิธีในการคัดกรอง ได้แก่ 

วิธีที่ 1 Policies and controls TikTok มีทีมประมวลหัวข้อต่างๆ ที่อยู่บนแพลตฟอร์มเพื่อนำผลจากการสำรวจมาพัฒนาด้านนโยบายของแพลตฟอร์มเพื่อใช้รับมือกับปัญหาต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้บน TikTok วิธีที่ 2 Technology and people คือการนำแมชชีนเลิร์นนิ่งเข้ามาใช้งานเพื่อประกอบการตัดสินใจให้กับทีมงานในการพิจารณาว่าคอนเทนต์ลักษณะใดบ้างที่สุ่มเสี่ยง ล่อแหลม ไม่ควรถูกเผยแพร่ และวิธีที่ 3 Cultural adaptation and customization มีทีมงานที่เรียนรู้พฤติกรรมของผู้ใช้ วัฒนธรรมเพื่อนำมาปรับเปลี่ยนให้เข้ากับการออกแบบแพลตฟอร์มมากขึ้น

ทั้งนี้ลักษณะของคอนเทนต์ที่ TikTok ไม่อนุญาตให้สร้างขึ้นบนแพลตฟอร์ม ได้แก่ คอนเทนต์ที่เสี่ยงต่อความปลอดภัยของผู้เยาว์ พฤติกรรมอันตรายและเกมท้าทาย การฆ่าตัวตาย การทำร้ายตัวเองและพฤติกรรมการกินผิดปกติ การเปลือยกายและพฤติกรรมทางเพศในผู้ใหญ่, การกลั่นแกล้งรังแกและการคุกคาม พฤติกรรมแสดงความเกลียดชัง อุดมการณ์สุดโต่งที่รุนแรง การกระทำที่ผิดกฎหมายและสินค้าควบคุม การละเมิดลิขสิทธิ์และเครื่องหมายการค้า เป็นต้น 

จิรภัทรได้ยกตัวอย่างการคัดกรองคอนเทนต์ว่า กรณีเรื่องการเหยียดเพศ เหยียดศาสนา กลายเป็นคอนเทนต์ Hate Speech นั้น สิ่งแรกที่เกิดขึ้นบนแพลตฟอร์มคือเทคโนโลยี AI ที่ใช้ทำให้แมชชีนเลิร์นนิ่งแจ้งเตือนในระบบและเกิดลบคอนเทนต์ดังกล่าวทันทีออกจากแพลตฟอร์ม แต่บางกรณีที่คอนเทนต์มีความคลุมเครือระบบจะแจ้งเตือนให้ทีมงานทำการตรวจสอบอย่างละเอียดและลบคอนเทนต์ออก ซึ่งทีมงานส่วนนี้จะได้รับการฝึกฝนตลอดเวลาเพือ่ให้เข้าใจคอนเทนต์ใหม่ ๆ เทรนด์การใช้คำที่มีความกำกวม โดยทำงานติดตามตรวจสอบตลอด 24 ชม.

อย่างไรก็ตามการมีพื้นที่ชุมชนปลอดภัยนั้น ไม่ได้ขึ้นอยู่กับผู้ให้บริการแพลตฟอร์มเท่านั้น แต่ผู้ใช้งานที่สร้างคอนเทนต์ในชุมชนจำเป็นต้องทำหน้าที่คัดกรองคอนเทนต์ในชุมชนด้วยเช่นกัน โดยสร้างวิธีการแจ้งเตือนคอนเทนต์ที่ไม่เหมาะสมด้วยตัวผู้ใช้งานได้เอง ในฟีเจอร์ที่เรียกว่า ‘Reporting’ ซึ่งผู้ใช้งานสามารถกด Report ได้ทั้งในแอปพลิเคชัน เว็บไซต์ เมื่อกด Report แล้วจะสามารถระบุเหตุผลได้ว่าคอนเทนต์ดังกล่าวมีความไม่เหมาะสมในเรื่องใด หลังจากนั้นระบบจะแจ้งเตือนมายังทีมงานเพื่อเข้าตรวจสอบคอนเทนต์ 

TikTok ยังมีฟีเจอร์ ‘Warning Banner’ เพื่อเป็นการถามซ้ำต่อผู้ใช้งานก่อนการกดโพสต์คอนเทนต์ที่สร้างขึ้นใหม่ และคอนเทนต์ที่ผู้ใช้งานรายอื่นสร้างขึ้นในชุมชมก่อนการแชร์ ซึ่งคอนเทนต์ดังกล่าวอาจมีลักษณะของข้อมูลที่ไม่เป็นจริง หรือเป็นการถามซ้ำว่าคอนเทนต์นี้น่าเชื่อถือใช่หรือไม่ เพื่อให้ผู้ใช้ทุกคนได้ตระหนักถึงความรับผิดชอบหลังการเผยแพร่คอนเทนต์ต่าง ๆ บนแพลตฟอร์ม นอกจากนี้ TikTok ยังมีฟีเจอร์ที่รวบรวมเอาข้อมูลความรู้คอนเทนต์ที่เชื่อถือได้ มีแหล่งที่มาของข้อมูลอย่างเป็นทางการและถูกต้องไว้บนแพลตฟอร์มด้วยเช่นกัน โดยใช้ชื่อฟีเจอร์ว่า ‘Information Hub’ 

กรณีช่วงการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 TikTok มีการนำข้อมูลจากศูนย์ข้อมูลที่เชื่อถือได้มาไว้บนแพลตฟอร์ม เพื่ออำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้งานเข้าถึงข้อมูลที่ถูกต้องได้ง่ายยิ่งขึ้น รวมถึงมีเครื่องมือ ‘Information Tag’ และ ‘Live Banner’ ที่ปรากฏอยู่บนวิดีโอหรือไลฟ์สตรีมมิ่งบนคอนเทนต์ที่เกี่ยวข้องกับประเด็นทางสังคมต่าง ๆ เพื่อให้ผู้ใช้งานเข้าถึงการค้นหาข้อมูลที่น่าเชื่อถือและได้รับความรู้ข่าวสารที่ถูกต้อง

ทั้งนี้จากข้อมูลรายงานการบังคับใช้หลักเกณฑ์สำหรับชุมชน หรือ Community Guideline Enforcement Report ครั้งล่าสุด ระหว่างเดือนกรกฏาคม – เดือนกันยายน 2565ที่ผ่านมา พบว่ามีการลบวิดีโอออกในเชิงรุกบนแพลตฟอร์มมากกว่า 96.5% ซึ่งมีการการลบออกภายใน 24 ชั่วโมงถึง 92.7% และมีการลบออกก่อนมียอดเข้าชมถึง 89.5% แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของเทคโนโลยี ทีมปฏิบัติงานและความร่วมมือจากผู้ใช้งาน TikTok ได้เป็นอย่างดี

อย่างไรก็ตามในปี 2566 นี้ TikTok มีการกำหนดกลยุทธ์และวางแผนการทำงานเพื่อต่อต้านข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็นการสร้างความร่วมมือกับองค์กรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การสร้างแคมเปญสร้างการรับรู้ และการให้ความรู้เกี่ยวกับระบบความปลอดภัยบนแพลตฟอร์ม ที่ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงข้อมูลที่มีความถูกต้องและน่าเชื่อถือ โดยมีพันธมิตรที่มีความเชี่ยวชาญในด้านการตรวจสอบข้อมูล หรือ Fact-Checking ทั้งในระดับโลกและในประเทศ เช่น สำนักข่าวต่างประเทศ อาช็องซ์ ฟร็องซ์ เปร็ส (Agence France-Presse) หรือ AFP และการทำแคมเปญร่วมกับโคแฟค (COFACT) ในการสร้างศูนย์รวมข้อมูลการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างปลอดภัยและสร้างสรรค์ ภายใต้แคมเปญ #พื้นที่ปลอดภัยในการไถฟีด  

Google ร่วมกับ YouTube ครีเอเตอร์ จัดกิจกรรม “Safer Songkran” เพื่อช่วยคนไทยให้ปลอดภัยในโลกออนไลน์และรับมือข่าวลวง

TikTok เปิดตัว Digital Literacy Hub ศูนย์รวมการใช้เทคโนโลยีและสื่อดิจิทัลอย่างปลอดภัย

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ