TH | EN
TH | EN
หน้าแรกThe MovementGABLE เคาะราคา IPO 6.39 บ./หุ้น เปิดจองซื้อ 26-28 เมษายนนี้

GABLE เคาะราคา IPO 6.39 บ./หุ้น เปิดจองซื้อ 26-28 เมษายนนี้

“บมจ.จีเอเบิล (GABLE)” ประกาศเคาะราคาขาย IPO หุ้นละ 6.39 บาท กำหนดเปิดให้จองซื้อระหว่าง 26 – 28 เมษายนนี้ ปักธงเทรด SET 9 พ.ค. 66 เงินระดมทุนใช้รองรับแผนการลงทุน และโอกาสทางธุรกิจ รวมถึง Growth Engine ที่จะเติบโตไปข้างหน้าด้วยซอฟต์แวร์ที่จีเอเบิลเป็นผู้พัฒนา และสร้าง S-Curve ใหม่ในการเติบโตให้จีเอเบิล

ล่าสุด จีเอเบิลลงนามในสัญญาการเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนให้แก่ประชาชนทั่วไป (IPO) โดยมี บริษัทหลักทรัพย์ ฟินันเซีย ไซรัส จำกัด (มหาชน) ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงิน และผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่าย พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูงจากบริษัทหลักทรัพย์ ในฐานะผู้ร่วมจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่าย ประกอบด้วย บริษัทหลักทรัพย์ กรุงไทย เอ็กซ์สปริง จำกัด, บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี พัฒนสิน จำกัด (มหาชน) , บริษัทหลักทรัพย์ โกลเบล็ก จำกัด , บริษัทหลักทรัพย์ เคจีไอ (ประเทศไทย) จํากัด (มหาชน) , บริษัทหลักทรัพย์ ทรีนีตี้ จำกัด , บริษัทหลักทรัพย์ บียอนด์ จำกัด (มหาชน) และ บริษัทหลักทรัพย์ หยวนต้า (ประเทศไทย) จำกัด

สมภพ กีระสุนทรพงษ์ กรรมการผู้อำนวยการ บริษัทหลักทรัพย์ ฟินันเซีย ไซรัส จำกัด (มหาชน) ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงิน และผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่ายหุ้นสามัญเพิ่มทุนของ บริษัท จีเอเบิล จำกัด (มหาชน) หรือ GABLE เปิดเผยว่า จีเอเบิลได้กำหนดราคาเสนอขายหุ้นไอพีโอ (IPO) จำนวน 175,000,000 หุ้น คิดเป็น 25% ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและชำระแล้วทั้งหมดของบริษัทฯ ภายหลัง IPO มูลค่าที่ตราไว้ (พาร์) 1 บาท/หุ้น ที่ราคาหุ้นละ 6.39 บาท/หุ้น เปิดจองซื้อระหว่างวันที่ 26–28 เมษายนนี้ และคาดว่าจะเข้าซื้อขายวันแรกในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) หมวดธุรกิจเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในวันที่ 9 พฤษภาคม 2566 ในชื่อย่อหลักทรัพย์ว่า “GABLE”

สำหรับราคาหุ้นสามัญที่เสนอขายหุ้นละ 6.39 บาท ถือเป็นระดับราคาที่เหมาะสม ชูจุดเด่นที่น่าสนใจของ GABLE เป็นธุรกิจที่อยู่ในอุตสาหกรรมไอทีมากว่า 33 ปี พัฒนาโปรเจ็กต์ขนาดใหญ่มากกว่า 30,000 โปรเจ็กต์ พร้อมทีมผู้บริหารมากประสบการณ์ และทีมงานผู้เชี่ยวชาญด้านไอทีและเทคโนโลยีมากกว่า 1,000 คน สะท้อนความมั่นคง ความยั่งยืนของธุรกิจ แม้เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว แต่จีเอเบิลสามารถผ่านช่วงเวลาต่าง ๆ และอยู่เบื้องหลังการทำดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่นให้ลูกค้ามากกว่า 1,000 ราย มีโครงสร้างรายได้ประจำ (Recurring income) ณ สิ้นปี 2565 อยู่ในระดับสูงที่ราว 51% ทำให้นักลงทุนเชื่อมั่นรายได้ของจีเอเบิลมีความมั่นคงต่อเนื่อง

นอกจากนี้ ตนยังมองว่าธุรกิจซอฟต์แวร์แพลตฟอร์มที่บริษัทเองเป็นผู้พัฒนา และเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ จะสามารถสร้าง S-Curve ใหม่ให้จีเอเบิลโตอย่างก้าวกระโดด ปัจจัยเหล่านี้ ทำให้จีเอเบิลได้รับผลตอบรับที่ดีเยี่ยมในช่วงที่เดินสายโรดโชว์ให้ข้อมูลต่อนักลงทุนสถาบัน และนักลงทุนทั่วไป และมั่นใจจะสร้างการเติบโตที่แข็งแกร่งต่อไปในอนาคต

ดร.ชัยยุทธ ชุณหะชา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท จีเอเบิล จำกัด (มหาชน) หรือ GABLE เปิดเผยว่า บริษัทฯ พร้อมเดินหน้าขยายธุรกิจ การเสนอขายหุ้น IPO ในครั้งนี้ เป็นอีกก้าวสำคัญที่จะสนับสนุนให้จีเอเบิลเติบโตตามกลยุทธ์ที่วางไว้ ทั้งในเชิงธุรกิจ และการขับเคลื่อนสังคม เพื่อก้าวสู่การเป็นผู้นำบริษัทเทคโนโลยีของประเทศไทย

การระดมทุนในครั้งนี้ บริษัทมีแผนที่จะลงทุนในธุรกิจเกี่ยวเนื่องที่มีศักยภาพ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับบริษัทฯ ในระยะยาว โดยเฉพาะในธุรกิจซอฟท์แวร์แพลตฟอร์ม ที่มีความสามารถในการทํากําไรสูง และจะเป็น Growth Engine ของจีเอเบิลในอนาคต รวมถึงการต่อยอดไปยังธุรกิจใหม่ ๆ และการมี IT Professionals มากกว่า 1,000 คน นําพลังเทคโนโลยีมาต่อยอดการเป็นที่ปรึกษาให้ลูกค้าในเรื่องไอทีอย่างครอบคลุมทุกมิติ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และสามารถตอบโจทย์ผู้บริโภคใน ยุคดิจิทัล นอกจากนี้ ยังเตรียมนําไปใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน และใช้ชําระคืนเงินกู้ยืมสถาบัน การเงินของกลุ่มบริษัทฯ 

ปลื้มนักลงทุนเชื่อมั่น

ก่อนหน้านี้ GABLE เดินหน้าจัดงาน นําเสนอข้อมูลกับนักลงทุนเพื่อเสนอขายหุ้นให้แก่ประชาชนเป็นครั้งแรก ไม่ว่าจะเป็นหัวเมืองใหญ่อย่าง เชียงใหม่ และอําเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา และปิดท้ายพบนักลงทุน ที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กรุงเทพมหานคร ในวันที่ 21 เมษายน 2566 ซึ่งได้รับตอบรับเป็นอย่างดี 

จีเอเบิล คือผู้นําบริษัททางด้านเทคโนโลยีของประเทศ มีรูปแบบการดําเนินธุรกิจ ประกอบด้วย 1) ธุรกิจให้บริการโซลูชั่นระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและดิจิทัล (Enterprise Solution and Services) มุ่งเน้นกลุ่มโซลูชันระดับองค์กร เพื่อตอบโจทย์ลูกค้าในการทําดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชันอย่างครบวงจร

2) ธุรกิจโซลูชันที่เป็นตัวแทนจําหน่ายและสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value-added Distribution) ด้วยการเป็น พันธมิตรกับเจ้าของผลิตภัณฑ์ ซึ่งเป็นบริษัทเทคโนโลยีชั้นนําจากทั่วโลก ตอบโจทย์ลูกค้าได้ครอบคลุม ยิ่งขึ้น และ 3) ธุรกิจบริการซอฟต์แวร์แพลตฟอร์ม (Software Platform) จากการต่อยอดความเชี่ยวชาญ ด้วยซอฟท์แวร์ที่บริษัทพัฒนาและเป็นเจ้าของเอง 

ข่าวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ซัมซุง ลุยจัดอบรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ส่งเสริมให้ช่างมีใบรับรองตามกฎหมาย

TCP โอบอุ้มลุ่มน้ำไทย หนุนเสริมการบริหารจัดการน้ำ นำร่องชุมชนต้นแบบ “เติมน้ำใต้ดิน” ต. นนทรี จ. ปราจีนบุรี

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ