TH | EN
TH | EN
หน้าแรกSustainability“โลกเดือด ท้าทาย SME” ปรับตัวอย่างไรให้อยู่รอด?

“โลกเดือด ท้าทาย SME” ปรับตัวอย่างไรให้อยู่รอด?

ในยุคที่โลกร้อนทวีความรุนแรงเกิดขึ้น กลายเป็นประเด็นสำคัญส่งผลกระทบต่อทุกภาคส่วน ไม่เว้นแม้แต่ธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง (SME) ซึ่งเปรียบเสมือนฟันเฟืองสำคัญของเศรษฐกิจ และกำลังเผชิญกับความท้าทายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ อุณหภูมิที่ร้อนขึ้น ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น สภาพอากาศที่แปรปรวน ล้วนส่งผลกระทบต่อธุรกิจ SME ผ่านหลายแง่มุม

ช่วงเสวนาหัวข้อ “ธุรกิจไทยปรับตัว รับบริบทลดโลกร้อน” จากเวที Green 2024: The Ambition of Thailand ร่วมเปลี่ยนความท้าทายเป็นโอกาสสำหรับประเทศไทย ซึ่งจัดโดยกรุงเทพธุรกิจ

ดร.สวนิตย์ บุญญาสุวัฒน์ รองประธานคณะทำงาน BCG Model สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ปัจจุบันสมาชิกในสภาอุตสาหกรรมมีความตื่นตัวกับมาตรการของสหภาพยุโรป หรือ European Green Deal ที่ปล่อยออกมาหลายมาตรการ และส่งผลกระทบต่อการค้าระหว่างประเทศ โดยเฉพาะ Carbon Border Adjustment Mechanism (CBAM) มาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นประเด็นสำคัญในอีกไม่กี่ปีข้างหน้านี้ หรือวิกฤต Climate Change อุณหภูมิสูงขึ้น พายุรุนแรงขึ้น ภัยแล้งสาหัสขึ้น ซึ่งประชาคมโลกอย่างองค์การสหประชาชาติ (UN) ได้ออกมาถกปัญหาเกี่ยวกับประเด็นไม่ให้อุณหภูมิโลกเพิ่มเกิน 1.5 องศาเซลเซียส และแน่นอนว่าฝั่งผู้ประกอบการต่างมีผลกระทบต่อมาตรการ CBAM ไม่มากก็น้อย อย่างต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น และการปรับกระบวนการผลิตเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศ

Green2024 SME climate change

สำหรับแผนการขับเคลื่อนสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ไม่ได้มุ่งเน้นไปที่บริษัทใหญ่เพียงอย่างเดียว แต่ยังให้ความสำคัญกับ Supply Chain โดยเฉพาะธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง (SME) ซึ่งต้องดำเนินไปในทิศทางเดียวกันทั้งระบบ เพราะความยั่งยืนเกิดขึ้นเพียงฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ได้ และสิ่งที่เป็นความท้าทายนับต่อจากนี้คือ ผู้ประกอบการ ต้นทุน ภาพรวมตลาด หากมองว่า Net-Zero เป็นสิ่งสำคัญ การไปสู่จุดนั้นล้วนมีต้นทุน ในการดำเนินงานที่สูงมาก คำถามคือ ประเทศไทยจะเข้าสู่ต้นทุนการเงินที่ต่ำลงได้อย่างไรนับจากนี้

ผู้ประกอบการต้องปรับตัวมากน้อยเพียงใด “จึงจะอยู่รอดท่ามกลางความท้าทายในยุคโลกเดือด”

ดร.สวนิตย์ เผยว่า “โครงการ BCG Indicator เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ SME ปรับตัวได้ง่ายขึ้น เปรียบเสมือนเข็มทิศนำทาง SME สู่มาตรการสีเขียว ช่วยให้ธุรกิจปรับตัวและก้าวข้ามความท้าทายในยุคโลกเดือด” ซึ่งประกอบด้วย 5 มิติ ได้แก่มิติเศรษฐกิจ มิติสังคม มิติการกำกับดูแล มิติเทคโนโลยี และมิตินวัตกรรม ข้อมูลจาก BCG Indicator จะช่วยให้ SME เข้าถึงมาตรการสนับสนุนจากภาครัฐและภาคเอกชน เช่นเงินทุน สินเชื่อ การให้คำปรึกษา การอบรม เมื่อเข้าร่วมโครงการนี้ธุรกิจจะสามารถปรับตัวและเติบโตได้อย่างยั่งยืนท่ามกลางสภาพภูมิอากาศที่รุนแรงอย่างแน่นอน

นอกจากนี้ ยังมีเรื่อง Global treaty on plastic “สนธิสัญญาว่าด้วยพลาสติก” เป็นสนธิสัญญาระดับโลกมีเป้าหมายเพื่อลดมลพิษพลาสติก ให้เป็นศูนย์ภายในปี 2040 โดยผู้ประกอบการต้องลดการผลิตพลาสติกลง ดร.สวนิตย์ กล่าว “ประเด็นถัดไปต่อจากนี้ที่น่าจับตามอง ประเทศไทยควรรับมืออย่างไรเกี่ยวกับสนธิสัญญานี้? ต้องผลิตสินค้าผ่านรูปสินค้ารีไซเคิล หรือทำเป็นไบโอพลาสติกหรือไม่” ซึ่งสัญญาณนี้ อาจจะเป็นโอกาสทางธุรกิจของประเทศไทยในอนาคต

SME ยังไม่เห็นความสำคัญ

แสงชัย ธีรกุลวาณิช ประธานสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย ให้ความเห็นว่า “เป็นที่น่ากังวลสำหรับภาคธุรกิจ SME ที่มีจำนวนมากถึง 90% ของสัดส่วนผู้ประกอบการทั้งประเทศ ท่ามกลางของการเปลี่ยนแปลง แม้กระทั่งการหารือในประชุมนานาชาติต่างนี้มี Climate เข้ามาเกี่ยวข้องในทุกเวที” อย่าง Climate Action เป้าหมายที่ 13 ปฏิบัติการอย่างเร่งด่วนเพื่อต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและผลกระทบที่เกิดขึ้น (Take urgent action to combat climate change and its impacts) ที่ประเทศไทยเร่งการขับเคลื่อนและผลักดันมาโดยตลอดผ่านภาครัฐ ที่สร้างความตระหนัก สร้างองค์ความรู้ให้กับผู้ประกอบการอย่างเข้มข้นทุกกระบวนการ

ประเทศไทยก้าวหน้าด้านความเสี่ยงด้านภูมิอากาศ แต่ยังมีโอกาสพัฒนาในด้านพลังงานหมุนเวียนและการจัดการขยะ

ความสำเร็จด้านความเสี่ยงด้านภูมิอากาศ

  • ประเทศไทยลดอันดับความเสี่ยงด้านภูมิอากาศจากอันดับ 9 ของโลกในปี 2018 ลงมาอยู่ที่อันดับ 25 ภายในปี 2024  นับเป็นความสำเร็จที่เกิดจากความร่วมมือของทุกภาคส่วน

โอกาสในการพัฒนา

  • การจัดอันดับด้านการใช้พลังงานหมุนเวียนของประเทศไทยอยู่ที่อันดับ 49 จาก 60 กว่าประเทศ แสดงให้เห็นถึงโอกาสในการพัฒนาและส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียนมากขึ้น
  • ประเทศไทยสร้างขยะพลาสติกต่อประชากรสูงเป็นอันดับ 5 ของโลก ปริมาณขยะพลาสติก 4,796,494 ตัน/ปี (ราว 69.54 กิโลกรัมปี/คน) สัดส่วนขยะพลาสติกในขยะทั่วไปมากเป็นอันดับที่ 3 ของโลก ปัจจุบันภาครัฐได้มีมาตรการรับมือ ออกมาอย่างต่อเนื่อง เช่น มาตรการการจัดการขยะพลาสติก มีทั้งแนวโน้มการจัดการและการนำมาใช้ใหม่ และการบำบัดที่ถูกวิธีเพิ่มมากขึ้น

ประเทศไทยมองเห็นทิศทางในการปรับตัว เชื่อมโยงกับนโยบาย Climate Policy การเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศที่กำลังร่าง พรบ. ออกมา และกฎหมายทางสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 ที่ได้ให้ความสำคัญเกี่ยวกับด้านธุรกิจคาร์บอนต่ำ สิ่งเหล่านี้ล้วนแฝงและเป็นตัวชี้วัดที่จะส่งผลให้ประเทศไทยสามารถพัฒนาดีขึ้นอย่างแน่นอนในอนาคต

อย่างไรก็ตามผู้ประกอบการ SME ควรเตรียมความพร้อมสำหรับการปรับตัว โดยติดตามความรู้และข้อมูลข่าวสาร วางแผนกลยุทธ์ พัฒนาทักษะ ปรับกระบวนการทำงาน นำเทคโนโลยีมาใช้ สร้างเครือข่าย และแสวงหาโอกาสใหม่ ๆ

“สิ่งท้าทายจะทำอย่างไรให้ผู้ประกอบการ SME ได้มีความเข้าใจและสามารถในการเข้าถึง Go Green เพื่อพัฒนาสู่ธุรกิจคาร์บอนต่ำได้เป็นอย่างยิ่ง แสงชัยทิ้งท้าย” 

บทความอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ธุรกิจไทยต้องปรับตัว! ดันธุรกิจให้เป็นมิตรกับโลก

การขับเคลื่อน ESG สำหรับบริษัทนอกตลาด

แบงก์ “ลดดอกเบี้ย”​ แค่น้ำจิ้ม 

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ