TH | EN
TH | EN
หน้าแรกBusinessดีแทค แนะธุรกิจปรับ “รูปแบบธุรกิจยืดหยุ่น" รับ 3 การเปลี่ยแปลง หลังการแพร่ระบาดโควิด

ดีแทค แนะธุรกิจปรับ “รูปแบบธุรกิจยืดหยุ่น” รับ 3 การเปลี่ยแปลง หลังการแพร่ระบาดโควิด

ดีแทคเชื่อว่ามีแนวโน้มสำคัญอยู่ 3 แนวโน้มที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อเศรษฐกิจและองค์กรทั่วโลก เทรนด์เหล่านี้ล้วนชี้ไปสู่ความยั่งยืนและแสดงให้เห็นถึงความท้าทายที่ประเทศไทยประสบในการจะยืดหยัดธุรกิจให้ดำเนินต่อไป ดังนั้น เวลาก้าวเข้าสู่โลกหลังการแพร่ระบาด ธุรกิจจะปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงได้อย่างไร จะต้องมีรูปแบบการดำเนินธุรกิจที่ยืดหยุ่นและครอบคลุมต่อผู้มีส่วนได้เสียทั้งสิ้น 

ชารัด เมห์โรทรา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่นจำกัด (มหาชน) หรือดีแทค กล่าวว่าแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของโลก 3 เทรนด์ ซึ่งเกี่ยวข้องกับ “ขนาด”​ และ “ประสิทธิภาพ”​ หลังการแพร่ระบาด เป็นเรื่องของการขยายธุรกิจและความมเชี่ยวชาญต่าง ๆ ที่จะเข้ามากำหนดทิศทางว่าจะปรับตัวและเร่งการโตได้อย่างไรหลังการระบาด

3  เมกเทรนด์ ที่จะเปลี่ยนสภาพสังคมและธุรกิจในโลกหลังยุคโควิด-19 ได้แก่

เมกะเทรนด์ที่ 1 คือ ความสำคัญของ “ขนาดและประสิทธิภาพ” เห็นได้จากดีลการควบรวมธุรกิจขนาดใหญ่ในภูมิภาค เช่น ความสนใจในธุรกิจโทรคมนาคมของบริษัทพลังงาน การควบรวมธุรกิจระหว่าง Digi และ Celcom ในมาเลเซีย ขณะที่ สตาร์ตอัพยูนิคอร์นสัญชาติสิงคโปร์ Grab มีแผนออก IPO เป็นครั้งแรก

ธุรกิจจำนวนไม่น้อยโดยเฉพาะกลุ่ม SMEs กำลังพบกับภาวะหนี้สะสมท่วม แต่ในเวลาเดียวกัน ก็ต้องลงทุนเพื่อเปลี่ยนผ่านธุรกิจสุ่ดิจิทัล ซึ่งนับเป็นความท้าทายอย่างมากของ SME

นอกเหนือไปจากการควบรวมกิจการ การทำ partnership และ outsource เป็นอีกวิธีการที่ทำให้ธุรกิจโฟกัสได้ดีขึ้น การถือหุ้นใน dtac ของ Telenor ทำให้ดีแทคได้รับประโยชน์จากความรู้ความเชี่ยวชาญในระดับโลก ทั้งการพัฒนา 5G การเป็นสมาชิกของคณะกรรมการจริยธรรมในการใช้ AI และตอนนี้ ดีแทคกำลังทำงานอย่างใกล้ชิดกับ Telenor Connexion ในการพัฒนา IoT 

“เราจะต้องมีการปรับเปลี่ยนช่องทางด้านดิจิทัลเพราะพฤติกรรมมผู้บริโภคเปลี่ยนไป ฉะนั้น จะมีแรงกดดันให้มีการลงทุนเพิ่มในดิจิทัล และจะเกิดรูปแบบธุรกิจใหม่ ๆ เกิดการควบรวมกิจการกัน เริ่มเห็นทั้งในภูมิภาคนี้และทั่วโลก ที่ดีแทคมีผู้ถือหุ้นรายใหญ่ คือ เทเลนอร์ กรุ๊ป ซึ่งมีความเชี่ยวชาญระดับโลก และเป็นผู้นำด้าน 5G ในยุโรป” ชารัด กล่าว

เมกะเทรนด์ที่ 2 คือ ความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัลที่เพิ่มขึ้น แม้โควิด-19 จะทำให้เกิดการเปลี่ยนผ่านดิจิทัลอย่างรวดเร็วในภาครัฐและเอกชน แต่ในกลุ่มคนชายขอบและกลุ่มเปราะบางยังคงต้องได้รับการแก้ไข และนี่คือสิ่งที่ dtac มองว่าเป็น “ความรับผิดชอบร่วม” เพื่อให้ทุกคนเข้าถึงบริการดิจิทัลได้ง่ายและปลอดภัย 

ดีแทคร่วมแก้ไขความเหลื่อมล้ำทางดิจิทัลผ่าน digital ecosystem ที่ทำให้ผู้ใช้งานสนุก มีปฏิสัมพันธ์ร่วม และตรงกับความต้องการเฉพาะ ดีแทคได้พัฒนาโครงข่ายบนคลื่นความถี่ 700 MHz เสริมศักยภาพด้าน coverage ได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งช่วยพัฒนาประสบการณ์การใช้งานได้ดียิ่งขึ้นโดยในพื้นที่ห่างไกล นอกจากนี้ ยังมีโครงการ Safe Internet เพื่อช่วยให้เด็กมีภูมิคุ้มกันในการท่องโลกออนไลน์ และยังมีโครงการ ดีแทคเน็ตทำกิน ติดอาวุธทางดิจิทัลให้แก่ผู้ประกอบการรายเล็ก

“ความเชื่อมโยงของเครือข่ายมมือถือช่วยให้คนกลับมายืนขึ้นได้ท่ามกลางวิกฤติ จะเห็นว่าในช่วงล็อกดาวน์ในปี 2021 คนใช้งานแอปฯ บนมือถือในการประชุมและการทำงานผ่านคลาวด์ และเห็นการใช้ดาต้าเพิ่มสองหลัก รวมถึงการใช้งานดาต้าที่โรงพยาบาลสนามก็มีการใช้เพิ่มขึ้นในอัตราไม่ต่างกัน” ชารรัด กล่าว

ขณะที่ ประเทศ ตันกุรานันท์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มเทคโนโลยี ดีแทค กล่าวเสริมในประเด็นนี้ว่า ตลอดระยะเวลาการเปลี่ยน 3G มาเป็น 4G และกำลังจะเข้าสู่ 5G จนถึงไตรรมาสแรกของปี 2021 ดีแทคขยายโครงข่ายมากถึง 3 เท่าจากปี 2015  และ 97% ของทั้งหมดเกิดจากการบริหารโครงข่ายภายใต้ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ทั้งหมดที่เกิดขึ้นของดีแทค

“ภาคโทรคมนาคมของประเทศไทยพัฒนา network และ connectivity อย่างก้าวกระโดดตั้งแต่ยุค 3G และโทรคมนาคมเป็นอุตสาหกรรมที่เติบโตมากในช่วงปี 2015 ซึ่งในช่วงนั้นดีแทคเร่งขยายสัญญาณ 4G ให้ครอบคลุมทั่วประเทศ” ประเทศ กล่าว

เมกะเทรนด์ที่ 3 คือ ปรากฏการณ์โลกร้อนที่ส่งต่อความยั่งยืนในระบบซัพพลายเชน ชารัด กล่าวว่า การดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบจะช่วยทำให้ระบบซัพลายเชนมีความแข็งแกร่งมากขึ้นในระยะยาว ด้วยเหตุนี้ ทำให้ดีแทคตั้งเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก “ครึ่งหนึ่ง” ภายในปี 2030 ซึ่งดีแทคกำหนดกรอบการทำงานด้านความยั่งยืนได้ทั้งสิ้น 7 ด้าน ได้แก่ ธรรมาภิบาล ความเป็นส่วนตัว ซัพพลายเชน เสริมสร้างทักษะดิจิทัล การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ สิทธิมนุษยชน และอาชีวอนามัยในการทำงาน

ด้าน ประเทศ กล่าวเสริมในประเด็นนี้ว่า นอกจากการขยายโครงข่ายแล้ว ดีแทคยังให้ความสำคัญกับสภาพแวดล้อม อาทิ โครงการ “Clean our house” เป็น pilot project เพื่อศึกษา feasibility ในด้านต่างๆ  เพื่อลดการใช้พลังงาน เช่น การใช้ประโยชน์จากความก้าวหน้าของเทคโนโลยี เช่น การลดจำนวนชุมสายจาก 6 แห่ง เป็น 2 แห่งทั่วประเทศรวมไปถึงในปีนี้เราได้ทดลองติดตั้งแผง solar cells ในบางจุดเพื่อจ่ายไฟใช้งานร่วมกับ grid ปกติ เพื่อทดสอบความคุ้มทุนและปัจจัยต่าง ๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อโครงข่าย

ทั้งนี้ ข้อมูลของ GSMA ระบุว่า อุตสาหกรรมโทรคมนาคมนั้นใช้พลังงานไฟฟ้าคิดเป็น 4% ของโลก และกลายมาเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทย โดยประเทศไทยนั้นมีอัตราการขยายตัวอย่างรวดเร็วของเสาสัญญาณเพื่อเร่งการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของคนในประเทศเฉลี่ยอยู่ที่ 7% ซึ่งสูงกว่าอัตราการเติบโตโดยเฉลี่ยของโลกซึ่งอยู่ที่ 4.2% อันเป็นผลมาจากการหันมาใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลในอัตราเร่ง และการพัฒนาเทคโนโลยี 5G ซึ่งแน่นอนว่าจะส่งผลให้อัตราการใช้พลังงานสูงขึ้นไปอีก 

ดีแทคชูกลยุทธ์ Regionalization 

ภายใต้มาตรการรักษาระยะห่างทางสังคม ทำให้บริการการสื่อสารทวีบทบาทกลายเป็นแกนสำคัญที่ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจดำเนินต่อไปได้ ด้วยเหตุนี้ ดีแทคจึงตระหนักถึงการบริหารจัดการซัพพลายเชนภายใต้กลยุทธ์ Regionalization เพื่อให้บริการอย่างต่อเนื่อง

ทิพยรัตน์ แก้วศรีงาม รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มงานขาย ดีแทค  กล่าวว่า ทำให้บริษัทคุมเข้มการเข้าทำงานในสำนักงานและดำเนินมาตรการ WFH อย่างเข้มข้น ซึ่งปัจจุบัน 95% ของพนักงานดีแทคสามารถทำงานนอกสำนักงานได้อย่างไม่มีสะดุด และมีการปรับแผนกระจายสินค้าและจุดบริการตามการโยกย้ายพื้นที่ของผู้ใช้งาน และเพิ่มจุดกระจายสินค้าอย่างรวดเร็ว เพื่อให้ลูกค้าสามารถใช้บริการได้ทุกสถานการณ์

สิ่งที่เห็นจากวิกฤติในครั้งนี้ คือ มีการเปลี่ยนผ่านดิจิทัล หรือ digitize กระบวนการทำงาน โดยเฉพาะกับคู่ค้ากว่า 70,000 รายที่หันมาใช้แอป dtac One ทำให้คู่ค้าสามารถทำธุรกรรมได้อย่างต่อเนื่อง ลด physical contact ในส่วนของลูกค้าเองก็มีการเปลี่ยนผ่านเช่นกัน ปัจจุบัน ลูกค้าเติมเงินราว 2 ใน 3 เติมผ่าน dtac app เป็นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างมีนัยสำคัญ

“ดีแทคให้ความสำคัญต่อประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน ในซัพพลายเชนของการปฏิบัติงานผ่านการอบรมและการกำหนดมาตรฐานอย่างเคร่งครัด ไม่เพียงพนักงานของดีแทคเท่านั้น แต่ยังรวมถึงพนักงานของซัพพลายเออร์ด้วย ด้วยคำนึงถึงสิทธิทางข้อมูล ซึ่งเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญของซัพพลายเชน ทำให้ดีแทคมีการอบรม ให้ความรู้พนักงานเรื่องความปลอดภัยของข้อมูลและความเป็นส่วนตัว และปฏิบัติตามมาตรฐานสากลอย่าง GDPR ด้วย”​ ทิพยรัตน์ กล่าว 

ซัพพลายเชนเป็นตัวแปรสำคัญในการทำให้ธุรกิจมีความยั่งยืน เมื่อเข้าใจและเห็นภาพของ stakeholders จะทำให้การแก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ดร.กฤษฎา เสกตรรระกูล รองผู้จัดการหัวหน้าสานงานพัฒนาความยั่งยืนตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า ในมิติความยั่งยืน ตลาดหลักทรัพย์ฯ เองมีบทบาทในการกำหนดกรอบทำงาน ส่งเสริมการนำไปปฏิบัติ การเปิดเผยข้อมูล และการให้รางวัล ซึ่งการคลี่รายละเอียดของซัพพลายเชนจะทำให้เห็นรายละเอียดของ stakeholders ได้ดียิ่งขึ้น 

เป้าหมาย Net Zero Carbon

ทั้งนี้ประเทศไทยมีการกำหนดเป้าหมายในการลดการปล่อยเรือนกระจกเป็น 2 ระยะ โดยระยะแรกตั้งเป้าลดก๊าซเรือนกระจกให้ได้ 7-20% ในปี 2020 และ 20-25% ในปี 2030

วัฒนพงษ์ คุโรวาท ผู้อำนวยการ สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กระทรวงพลังงานกล่าวว่า รัฐบาลโดย กระทรวงพลังงานร่วมกับกระทรวงรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้กำหนดแนวทางขับเคลื่อนสู่ Net-zero emission ทั้งสิ้น 6 ด้าน 1.การปรับพอร์ตการผลิตไฟฟ้าและการใช้เชื้อเพลิงสู่ Low carbon 2.การเพิ่มสัดส่วนยานต์ยนต์ไฟฟ้า 3. การบริหารจัดการของเสียผ่านโมเดล BCG 4.การใช้ฟลิตภัณฑ์และบริการที่เกิดคาร์บอนต่ำ 5. การมุ่งสู่ Zero Burn และ Smart farming 6.การดักจับ กักเก็บ ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีไฮโดรเจน 

“กระทรวงพลังงานมีแผนเพิ่มเป้าหมายสัดส่วนพลังงานหมุนเวียนจาก 20% เป็น 50% เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย Net Zero Carbon” วัฒนพงษ์ กล่าว

ทั้งนี้ ด้าน คริสเตียน ฮอลล์ ผู้เชี่ยวชาญด้านสภาวะอากาศ กลุ่มเทเลนอร์ กล่าวว่า Telenor ตั้งเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ถึง 57% ภายในปี 2030 ในทุกตลาด ทั้งนี้ ภาคโทรคมนาคมมีบทบาทสำคัญในการช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อย่างมีนัยสำคัญ 

ความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล

ด้วยการเปลี่ยนผ่านดิจิทัลที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในยุคโควิด-19 ผู้บริโภคเริ่มหันมาแสดงความกังวลต่อความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล และประเด็นดังกล่าวกลายมาเป็นอีกปัจจัยสำคัญในการเลือกใช้บริการของผู้บริโภค จากผลสำรวจของ Cisco พบว่าผู้คนกว่า 48% รู้สึกว่าตนเองไม่สามารถปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลได้ดีพอ

ทั้งนี้ Data integrity หรือความไว้เนื้อเชื่อใจ มีมิติมากกว่าความมั่นคงปลอดภัย มีบทบาทสำคัญในการสร้างเศรษฐกิจดิจิทัล ภาคธุรกิจสามารถนำเรื่อง Data integrity มาจุดขายทางการตลาดได้ ซึ่งมีการทำแล้วในต่างประเทศ การตระหนักถึงสิทธิ บทบาท และหน้าที่ของเจ้าของข้อมูลและผู้ควบคุมข้อมูล จะทำให้เกิด integrity

มาร์คุส แอดอัคทูสเซ่น รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มกิจการองค์กร ดีแทคกล่าวว่า Data integrity ถือเป็น New Normal ของภาคธุรกิจ ดีแทคได้ให้ความสำคัญกับมาตรการความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าเป็นอันดับต้น ๆ โดยมีการกำหนดกรอบการทำงานในได้มา จัดเก็บ และใช้ประโยชน์ข้อมูลเหล่านั้นอย่างเป็นระบบ โดยคำนึงถึงสิทธิผู้บริโภคเป็นสำคัญ

“ผู้บริโภคมีความกังวลอย่างมาก 3 ประการเกี่ยวกับเรื่องข้อส่วนบุคคล 1.ข้อมูลถูกไปใช้ที่ไม่ได้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ 2. ข้อมูลไม่ถูกทำลายอย่างถูกต้อง 3. ข้อมูลถูกนำไปแชร์กับหน่วยงานอื่น” มาร์คุส กล่าว

แม้จะมีการเลื่อนประกาศใช้ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของไทย (Personal Data Protection Act – PDPA) แต่ดีแทคในฐานะผู้ให้บริการโทรคมนาคมรายใหญ่ของไทย ได้มีการกำหนดนโยบายการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลขึ้นเพื่อควบคุมการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลภายในองค์กร สอดคล้องกับกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของสหภาพยุโรป (General Data Protection Regulation – GDPR) และ PDPA

“ธุรกิจจำนวนมากต่างต้องพึ่งพาข้อมูลมากขึ้นในการออกแบบผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ ๆ ซึ่งรวมถึงข้อมูลส่วนบุคคลด้วยในบางกรณี ในยามที่แนวทางการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลนั้นยังไม่มีความชัดเจน เราจึงยินดีที่ได้เห็นการบังคับใช้กฎหมายและแนวทางปฏิบัติที่ส่งเสริมสิทธิความเป็นส่วนตัวในประเทศไทย อย่างไรก็ดี ภาครัฐต้องอาศัยการทำงานแบบองค์รวม เพื่อให้เกิดความชัดเจนทั้งในแง่ของความหมายในบทบัญญัติที่สำคัญ และความสอดคล้องระหว่างกฎหมายอย่าง PDPA กับกฎเกณฑ์เฉพาะในแต่ละหมวดธุรกิจ ซึ่งการกำหนดมาตรฐานและความคาดหวังอย่างเป็นรูปธรรมจะช่วยสร้างความเข้าใจอันดียิ่งขึ้นให้กับผู้บริโภค ว่าข้อมูลของพวกเขาถูกใช้งานอย่างไรบ้าง” มาร์คุส กล่าวทิ้งท้าย 

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ