TH | EN
TH | EN
หน้าแรกBusinessRipple สยายปีกบล็อกเชนและสินทรัพย์ดิจิทัล ปูพรม “Internet of Value” สู่เอเปค

Ripple สยายปีกบล็อกเชนและสินทรัพย์ดิจิทัล ปูพรม “Internet of Value” สู่เอเปค

การเกิดขึ้นของเทคโนโลยีบล็อกเชน สินทรัพย์ดิจิทัล ตัวอย่างเช่น เหรียญคริปโทเคอเรนซี ได้นำทางโลกการเงินและธุรกิจ เข้าสู่ยุคสมัยของ Internet of Value ที่สามารถส่งต่อหรือเคลื่อนย้ายมูลค่าของสิ่งต่าง ๆ บนโลกออนไลน์ได้โดยง่าย โดยยังคงความน่าเชื่อถือในการทำธุรกรรม รวมถึงข้อมูลที่สามารถติดตามตรวจสอบแต่ไม่อนุญาตให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงเพื่อคงความปลอดภัย ทั้งยังลด”ค่าใช้จ่าย” และลดปัญหา “คนกลาง” ระหว่างการดำเนินธุรกรรม 

ไทย-เอเปคในนิเวศการเงินดิจิทัล

บรูคน์ เอ็นทวิสเซิล รองประธานอาวุโสฝ่าย Global Customer Success และกรรมการผู้จัดการภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคและ MENA บริษัท Ripple กล่าวว่า ธุรกิจของ Ripple ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคถือว่าเติบโตเร็วสุด ส่วนกรุงเทพมหานครนับว่าเป็นหมุดหมายสำคัญซึ่งนำไปสู่การจัดงาน Thailand Policy Summit ที่ผ่านมา เพื่อเปิดเวทีแลกเปลี่ยนความคิดระหว่างผู้ทำหน้าที่กำกับดูแลด้านนโยบายและระเบียบต่าง ๆ (Regulator) กับผู้เล่นในอุตสาหกรรมการเงิน โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับบล็อกเชนและสินทรัพย์ดิจิทัล ซึ่งจากประสบการณ์ที่เคยทำงานร่วมกับธนาคารไทยพาณิชย์ในการพัฒนาระบบบริการโอนเงินและชำระเงินมากว่า 7 ปี ได้เห็นถึงระบบนิเวศด้านการเงินของไทยว่า อยู่ในสถานะที่เหมาะสมต่อการพัฒนาธุรกิจ และเชื่อมั่นว่า สิ่งที่เกิดขึ้นในประเทศไทยจะเกิดขึ้นในภูมิภาคนี้เช่นกัน  

บรูคน์ เอ็นทวิสเซิล

Ripple จับมือ GME Remittance ขยายระบบการชำระเงินเกาหลีใต้-ไทย

Ripple ชี้ตลาด “คริปโท” และ “บล็อกเชน” ปี 2021 พัฒนาต่อเนื่อง

สำหรับประเทศไทยถือเป็นผู้นำกระแสในภูมิภาคนี้จากการที่ทางธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ตลอดจนตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (กลต.) มีการพัฒนากรอบการทำงานขึ้นมาตั้งแต่ปี 2561 โดยทาง กลต. มุ่งให้ความสำคัญกับการคุ้มครองผู้บริโภค ส่วนธปท.จะเน้นเรื่องภูมิทัศน์ด้านการเงินที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เช่น สกุลเงินดิจิทัลหรือคริปโทเคอร์เรนซีที่คงมูลค่าไม่ให้เปลี่ยนแปลง (Stablecoin) เพื่อให้มีความมั่นคงสูง หรือการสร้างสกุลเงินดิจิทัลที่ออกแบบโดยธนาคารกลางของแต่ละประเทศ (Central Bank Digital Currency-CBDC) ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับพัฒนาการทางการตลาดที่จะเกิดขึ้นในอนาคต 

“การเริ่มต้นเป็นคนแรกทำให้ไทยมีข้อได้เปรียบภายใต้กระบวนการทำงานแบบ Iteration คือ สร้าง ทดสอบซ้ำ และดัดแปลงต่อไปเรื่อย ๆ แม้ทั้งสององค์กรจะมุ่งผลลัพธ์ต่างกัน แต่มีความชัดเจนที่ต้องตรงกัน คือ สกุลเงินดิจิทัลไม่ได้ถูกมองแค่ว่า เป็นสื่อในการซื้อขายแลกเปลี่ยน แต่เป็นสิ่งที่ส่งผลถึงเสถียรภาพการเงินของประเทศ ขณะที่สินทรัพย์ดิจิทัลน่าจะนำมาประยุกต์ใช้ในการวางข้อแลกเปลี่ยนในการชำระหรือส่งมอบหลักทรัพย์ (Settlement) ระหว่างสกุลเงินต่าง ๆ ได้” ราหุล แอดวานิ ผู้อำนวยการฝ่ายนโยบายประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก บริษัท Ripple กล่าวเสริม

ราหุล แอดวานิ

ขณะที่ภาพรวมทั้งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคไม่ใช่แค่เริ่มเร็วแต่ยังไปได้ดี เนื่องจากรัฐบาลและหน่วยงานที่กำกับดูแลมีท่าทีชัดเจนเกี่ยวกับกฎระเบียบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นสิงคโปร์ ญี่ปุ่น ฮ่องกง ทำให้ Ripple เกิดความมั่นใจในการดำเนินธุรกิจ รวมถึงผลิตภัณฑ์ที่นำเสนอยังมีความเหมาะสมกับตลาด หากมองในเชิงพาณิชย์จะเห็นการเคลื่อนย้ายของมูลค่าหรือตัวเงินจากตลาดหนึ่งไปยังอีกตลาดหนึ่งในภูมิภาคนี้ค่อนข้างมาก เช่น การโอนจากประเทศตะวันออกกลางกลับมายังประเทศบ้านเกิดผ่าน RippleNet หรือ สถานการณ์โควิดทำให้เทคโนโลยีนี้สามารถตอบโจทย์แรงงานต่างชาติที่ต้องการส่งเงินกลับประเทศ 

ขณะที่ภาคเศรษฐกิจหรือการผลิต เวลาพูดถึงบล็อกเชนจะพบว่า ไม่ได้จำกัดอยู่ที่ตัวเทคโนโลยีหรือการเงินเพียงอย่างเดียว เช่น การเกิดขึ้นของ Uber และ Grab Taxi ซึ่งเกิดมาจากความต้องการของประชาชน ทำให้หน่วยงานที่กำกับนโยบายต้องออกกฎระเบียบเพื่อรองรับเทคโนโลยีหรือบริการใหม่ ๆ ตามมา ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมได้ หรือประโยชน์ของโทเคนที่ช่วยลดความยุ่งยากในภาคธุรกิจต่าง ๆ เช่น โครงการของ HKMA ซึ่งเป็นองค์กรที่ทำหน้าที่เสมือนธนาคารกลางด้านการเงินของฮ่องกง ได้นำโทเคนมาใช้กับภาคอสังหริมทรัพย์ เป็นต้น

“Technology For Good เป็นแนวคิดที่สะท้อนให้เห็นว่า ถ้าเราใช้เทคโนโลยีอย่างถูกต้องและมีคุณค่า จะสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงได้อย่างแน่นอน” 

RippleNet บริบทใหม่ในอุตสาหกรรมการเงิน

Ripple เริ่มต้นธุรกิจเมื่อปี 2555 จากการให้บริการโอนเงินไปต่างประเทศ จนถึงปัจจุบันได้ขยายบริการออกไปสู่ธุรกิจอื่น ๆ อาทิ ธุรกิจการชำระเงิน (Payment) สภาพคล่องทางการเงินและธุรกิจ (Liquidity) และการเก็บรักษาสินทรัพย์ของลูกค้า (Custody) ผ่าน เพื่อให้ธุรกิจหรือผู้คนในวิถียุคดิจิทัลสามารถส่งต่อมูลค่าต่าง ๆ บนโลกออนไลน์ (Internet of Value) ได้สะดวกง่ายดายไม่ต่างจากการส่งข้อความผ่าน WhatsApp 

“Ripple ไม่ได้ประสงค์ตั้งตัวเป็นดิสรัปชันในอุตสาหกรรมการเงิน แต่ต้องการให้เกิดการทำงานร่วมกันกับสถาบันการเงิน หรือหน่วยงานที่ทำหน้าที่กำกับดูแลด้านนโยบายและกฎระเบียบของประเทศต่าง ๆ ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ไม่ว่าจะเป็นการใช้งานบล็อกเชน ตลอดจนการพัฒนาสินทรัพย์ดิจิทัลต่าง ๆ”

เครือข่าย RippleNet นอกจากจะถูกพัฒนาขึ้นเป็นโครงสร้างพื้นฐานทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลังของระบบการโอนหรือการชำระเงินไปต่างประเทศ ซึ่งรวมถึงโซลูชัน และการส่งแมสเสจต่าง ๆ บนระบบดิจิทัลแล้ว ยังเติมเต็มระบบบริการชำระเงินข้ามพรมแดนอีกรูปแบบหนึ่งที่เรียกว่า  ODL (On Demand Liquidity Service) โดยมีโทเคนชื่อ XRP เป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยนมูลค่า รวมถึงการพัฒนา CBDC ทำให้แม้หลาย ๆ ธนาคารกลางของแต่ละประเทศทั่วโลกยังมีความไม่มั่นใจในการใช้โทเคน XRP แต่การทดลองทำ CBDC ผ่านระบบของ Ripple สามารถเป็นทางออกหนึ่งในการวัดผลดูว่า การสร้างสกุลเงินดิจิทัลของแต่ละประเทศจะมีทิศทางต่อไปอย่างไร

ปัจจุบัน CBDC มีโครงการนำร่องเกิดขึ้นแล้วใน 5 ประเทศ ได้แก่ ภูฏาน ซึ่งทดลองพัฒนา CBDC สำหรับธุรกิจค้าปลีกและค้าส่ง ปาเลาซึ่งแม้ไม่ใช่ CDBC เต็มรูปแบบ แต่ถือเป็นสกุลเงินดิจิทัลแบบ Stablecoin ที่อิงกับค่าเงินยูเอสดอลล่าร์ มอนเตเนโกร เป็นสกุลเงินดิจิทัลแบบ Stablecoin ที่อิงกับค่าเงินยูโร ฮ่องกงโดยมีการพูดคุยกับรัฐบาลฮ่องกงในการพัฒนา  e-HKD สกุลเงินดิจิทัลตัวใหม่โดยธนาคารกลาง ซึ่งคล้ายกับ CBDC รวมถึงการทำงานร่วมกับธนาคาร Fubon Bank ของไต้หวัน และ โคลอมเบีย โดยความร่วมมือกับรัฐบาลโคลอมเบียในการพัฒนา CBDC ในแบบ Private Ledger โดยไม่มีการเปิดเผยข้อมูลออกสู่สาธารณะ 

Ripple Policy Principles

“สมัยก่อนเวลาพูดถึงเทคโนโลยีบล็อกเชน เรามักคิดถึงโซลูชันก่อนแล้วจึงย้อนกลับไปหาโจทย์ แต่ Ripple เริ่มจากการตั้งโจทย์ก่อน เช่น เรารู้ว่ามีการเคลื่อนไหวของสินทรัพย์มูลค่าเป็นแสน ๆ ล้านเหรียญสหรัฐ แต่ปัญหาของระบบคือ ทั้งช้า ทั้งแพง การโอนเงินที่บางทีใช้เวลาเป็นวัน ค่าใช้จ่ายสูง แถมบางครั้งโอนไม่ผ่าน การขอสินเชื่อการค้าต่างประเทศของภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องใช้เวลาเป็นเดือนกว่าจะรู้ผล และอาจจะไม่ผ่านการอนุมัติ”

ราหุล กล่าวว่า ทุกอย่างดีขึ้นได้โดยการใช้บล็อกเชนและสินทรัพย์ดิจิทัลที่แก้ปัญหาได้ทั้งการชำระเงิน สภาพคล่อง และโทเคนไปพร้อม ๆ กัน อย่างไรก็ตาม การนำเสนอโซลูชันเหล่านี้ต้องผ่านความเห็นชอบของหน่วยงานที่มีหน้าที่กำกับดูแลอย่างธนาคารกลางของแต่ละประเทศตลอดจนสถาบันการเงิน เพื่อที่ทุกฝ่ายสามารถแลกเปลี่ยนพูดคุยถึงโอกาสและความเป็นไปได้ในการนำบล็อกเชนและสินทรัพย์ดิจิทัลมาเป็นเครื่องมือช่วยเหลือ โดย Ripple Policy Principles เป็นกรอบการทำงานที่ถูกออกแบบมาสำหรับใช้ในการสื่อสารกับหน่วยงานกำกับดูแลทั้งหลาย ซึ่งล้อไปกับกรอบกฎหมายและการกำกับดูแลของแต่ละประเทศเพื่อใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงถึงผลลัพธ์ที่ต้องการให้เกิดขึ้นว่าควรเป็นอย่างไร อาทิ 

การจำแนกประเภท หรือจัดหมวดหมู่ขึ้นมาใหม่ (Taxonomy) ให้ชัดเจนว่าเป็นบริการชำระเงิน ยูทิลิตี้ หรือ ระบบความปลอดภัย จากนั้น ก็มาทดลองพัฒนากรอบการทำงานในการกำกับดูแล การวินิจฉัยทั้งในเชิงหลักการและความเสี่ยง โดยไม่จำกัดแค่เพียงเทคโนโลยี แต่เป็นการกำกับดูแลกิจกรรมและผลที่ตามมาจากการทำกิจกรรมนั้น ๆ ด้วย การผลักดันการทำแซนด์บ็อกซ์เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เล่นในตลาดหรืออุตสาหกรรมเข้ามาทดสอบนวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์หรือบริการต่าง ๆ ในสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย และให้หน่วยงานกำกับดูแลได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ เช่น แซนด์บ็อกซ์ที่สิงคโปร์ และธนาคารแห่งประเทศไทย โดยมี Ripple เป็นตัวกลางในการสื่อสารสองทางระหว่างภาครัฐและเอกชนมีความชัดเจนมากขึ้น 

“ยกตัวอย่าง สินทรัพย์ดิจิทัลซึ่งเป็นการค้าข้ามแดนและรันระบบแบบ 24×7 ความน่ากลัวคือ ถ้าต่างคนต่างทำ หลักเกณฑ์หรือกฎระเบียบที่ตั้งขึ้นก็จะกระจัดกระจายซึ่งไม่เป็นผลดีกับทุกฝ่าย การสร้างกรอบคิดและวิธีปฏิบัติที่สอดคล้องเข้ากันได้ เช่น การวางมาตรฐานเบื้องต้นในแบบเดียวกัน เพื่อใช้เป็นแกนหลักในการเปรียบเทียบหรือสื่อสารแลกเปลี่ยนกันได้ อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าบล็อกเชนหรือสินทรัพย์ดิจิทัลจะมีความแพร่หลายในการใช้งานแค่ไหน แต่ ความชัดเจนของผู้รับหน้าที่กำกับดูแล คือ กุญแจสำคัญในการส่งเสริมการเติบโตของอุตสาหกรรมนี้”

CBDC คืออะไร รู้จักอนาคตของเงินบาท บนเทคโนโลยีบล็อกเชน

5 สายอาชีพบล็อกเชน ที่ตลาดต้องการ

“ข้อมูล” สินทรัพย์ทรงมูลค่า 

รายงานการศึกษาเรื่อง Compliance in The Second Age of Digital Asset ได้รวบรวมข้อมูลแนวโน้มกิจกรรมและพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ที่เกิดกับบล็อกเชน สินทรัพย์ดิจิทัล คริปโทเคอร์เรนซีต่าง ๆ ทั้งในสหรัฐอเมริกา ยุโรป เอเชีย และไทย ทั้งยังสะท้อนให้เห็นถึงแนวทางการกำกับดูแลความปลอดภัยที่เน้น การคุ้มครองผู้บริโภคเป็นหลักโดยในรายงานได้ฉายภาพถึงยุคแรกของสินทรัพย์ดิจิทัลที่เป็นการดำเนินการแบบไม่ชัดเจน เน้นตอบสนองเมื่อเกิดเหตุ แต่พอเวลาผ่านไป หน่วยงานที่กำกับดูแลมีความเข้าใจถึงระบบนิเวศด้านสินทรัพย์ดิจิทัลเพิ่มขึ้น เริ่มมีการออกแบบระบบที่เหมาะกับแต่ละยูสเคสของบล็อกเชนมากขึ้น 

ส่วนก้าวสำคัญที่กลายเป็นจุดเปลี่ยนสู่ยุคที่สอง คือ แนวโน้มของรัฐบาลรวมถึงการปรับตัวของหน่วยงานกำกับดูแลทั่วโลก ซึ่งหันมาออกแบบหลักเกณฑ์และนโยบายการกำกับดูแลบนความเข้าใจตลอดจนตีความปัญหาอย่างถ่องแท้ มุ่งเน้นความโปร่งใส และเปลี่ยนมุมมองจากการตรวจสอบเฉพาะทางเทคนิคไปเป็นการให้ความสำคัญเรื่องประสิทธิภาพร่วมด้วย ภายใต้ 3 หลักการสำคัญ คือ

การปรับปรุงเรื่องกฎระเบียบ และระบบบริการการเงินแบบกระจายศูนย์ (Decentralized Finance – DeFi) ซึ่งเป็นระบบนิเวศที่ค่อนข้างเหมาะกับประเทศไทย เป็นการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน (Activity-Based) เช่นเดียวกับที่สิงคโปร์และสหรัฐอเมริกา หลักการคือ ไม่ว่าจะเป็นระบบบริการการเงินแบบรวมศูนย์ (Centralized Finance – CeFi)หรือ DeFi เมื่อเข้ามาอยู่ในกรอบการเทรดซื้อขายหรือควบคุมต้องขอใบอนุญาตทั้งหมด ณ จุดนี้อาจเพิ่มความซับซ้อนในแง่กระบวนการ แต่ก็มีเครื่องมือที่ช่วยให้ธุรกิจสามารถเดินต่อได้ หรือสามารถใช้ ข้อมูล ซึ่งเป็นสินทรัพย์ดิจิทัลที่ มีค่าและมีมาก เพื่อสร้างกระบวนการพัฒนาและกำหนดหลักเกณฑ์ที่เป็นประโยชน์สำหรับโครงการนั้น ๆ เช่น การใช้ระบบอัตโนมัติผ่าน API ในการดึงข้อมูล รวมถึง Query เข้ามาในบล็อกเชน แล้วดูว่ามีวอลเล็ตไหนบ้างที่ถูกระงับการใช้งาน เพื่อป้องกันการเข้าถึงโปรโตคอลหรือการใช้งาน DeFi 

ความโปร่งใสอันเกิดจากการที่ข้อมูลสามารถเข้าถึงได้ จำเป็นที่หน่วยงานกำกับดูแลจะต้องเพิ่มทักษะและขีดความสามารถด้านดิจิทัลในการรับมือความเสี่ยงที่เกิดกับข้อมูล นิวยอร์ค ไฟแนนเชียล เซอร์วิส ระบุว่า ความเสี่ยงด้านการเงินในสมัยก่อนเกิดจากการขาดความสามารถในการควบคุม แต่เทคโนโลยีบล็อกเชนในปัจจุบันสามารถตรวจจับกรณีเกิดเหตุที่เป็นความเสี่ยงสูงได้ สามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลในการเลือกสรรทรัพยากรที่เหมาะสมสำหรับการทำงานหรือจัดการความเสี่ยงได้ดีขึ้น 

การจัดการเชิงเทคนิคและการเพิ่มประสิทธิภาพเมื่อหน่วยงานกำกับดูแลมีข้อมูลที่มากพอ จะทำให้มีมุมมองที่กว้างไกลกว่าความเข้าใจเรื่องเทคโนโลยีหรือการจัดการทางเทคนิค มาสู่การประเมินภาพรวมการกำกับนโยบาย ผลการดำเนินงาน และความเข้าใจความเสี่ยงที่เกิดจากสิ่งต่าง ๆ แล้วประมวลผลออกมาจนได้เป็นโครงสร้างการบริหารความเสี่ยง เช่น การที่รัฐบาลสามารถนำมาข้อมูลบนบล็อกเชนมาประกอบการพิสูจน์อาชญากรรมว่า เกิดอะไรขึ้นบ้างในเส้นทางการเงิน รวมถึงรับมือกับโมเดลธุรกิจเกิดใหม่

“การใช้ข้อมูลในการสร้างความชาญฉลาดให้กับบล็อกเชน (Blockchain Intelligence) ให้ผลลัพธ์ที่พิสูจน์ได้จากอาชญากรรมที่เกี่ยวข้องกับบิตคอยน์ลดลงเหลือ 19% เทียบกับเมื่อ 6 ปีที่แล้ว ขณะเดียวกัน ตัวเลขมูลค่าสินทรัพย์ที่โดนโจรกรรมไปทั้งหมดมากกว่าสามพันเจ็ดร้อยล้านเหรียญสหรัฐพบว่า เป็นความเสียหายจากบิตคอยน์แค่ 3% เทียบกับ 6 ปีที่แล้วซึ่งสูงถึง 67%”

แองเจล่า อัง

แองเจล่า อัง ที่ปรึกษาฝ่ายนโยบายอาวุโสบริษัท ทีอาร์เอ็ม แล็ปส์ เผยว่า การทำธุรกรรมบนบล็อกเชน ทำให้เกิด Public Ledger หรือ ข้อมูลเดินบัญชีเผยแพร่สู่สาธารณะที่ทุกคนสามารถเข้าไปดูได้  จึงเป็นหน้าที่ของทีอาร์เอ็ม แล็ปส์ในการออกแบบเครื่องมือ หรือโซลูชันในการให้ความปลอดภัยกับข้อมูลบนบล็อกเชน ด้วยการประยุกต์เทคโนโลยีของทีอาร์เอ็ม แล็ปส์ ในการอ่าน รหัสแฮช (Hash) บนบล็อกเชน รวมถึงข้อมูลธุรกรรมที่เกิดนอกเครือข่ายบล็อกเชน ใม่ต่างจากอ่านกูเกิลแม็ปด้วยข้อมูลที่เรียกว่า Data Point เช่น ชื่อสถานที่ ชื่ออาคาร มาประกอบให้เห็นภาพว่า สถานที่นั้นตั้งอยู่ ณ ตำแหน่งใด

“การบูรณาการข้อมูลทั้งหมดเข้าด้วยกัน เพื่อชี้เป้าว่า ใครบ้างที่มีส่วนร่วมในธุรกรรม ผ่านเข้าออกวอลเล็ตอย่างไร ทั้งยังทิ้งร่องรอยให้ติดตามซึ่งเป็นประโยชน์เมื่อมีอาชญากรรมเกิดขึ้น หน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย เช่น ตำรวจสามารถติดตามผู้ก่อการที่ไม่พึงประสงค์จากการแกะรอยเส้นทางที่ปรากฎบนบล็อกเชนได้” 

นวัตกรรมบนความยั่งยืน

มองกันว่า อุตสาหกรรมการเงินในอนาคตจะไม่ได้มีบล็อกเชนแค่เชนเดียว แต่น่าจะมีบล็อกเชนหลาย ๆ เชน และหลายสินทรัพย์ดิจิทัลในการทำกิจกรรมหลาย ๆ อย่าง เช่น CBDC ซึ่งน่าจะเป็นที่ชื่นชอบของรัฐบาลในหลายประเทศ เพราะบริหารจัดการได้ง่ายกว่า ส่วน Stablecoin อาจจะเหมาะกับการใช้งานในธุรกิจค้าปลีก โดยมีโทเคนอย่าง XRP เป็นสะพานเชื่อมโยงระหว่างสกุลเงิน หรือยูสเคสตามความเหมาะสม โดยการกำกับดูแลควรออกแบบมาให้เหมาะสมกับประเทศของตัวเอง และควรเป็นไปบนหลักการพัฒนานวัตกรรมบนความรับผิดชอบเพื่อให้เกิดความยั่งยืน 

นอกจากนี้ การเกิดยูสเคสแต่ละโซลูชันที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็น XRP หรือ ODL ทำให้เกิดองค์ความรู้ที่สามารถส่งต่อออกไป อย่างการร่วมลงทุนระหว่าง Ripple กับธนาคาร SBI Remit ที่ญี่ปุ่นและเกาหลี ได้สร้างการพัฒนาและส่งต่อทางเทคโนโลยีที่ประยุกต์ใช้ในประเทศต่าง ๆ ได้ ส่วนมิติในเชิงการพัฒนาธุรกิจ เช่น การเข้าถือหุ้น 40% ในบริษัท Tranglo ประเทศมาเลเซีย บริษัท Metaco ของสวิส ซึ่งมีสาขาในสิงคโปร์ เป็นการตอกย้ำแนวทางการลงทุนที่มองเห็นความสำคัญของระบบนิเวศทั้งตัวบุคคล บริษัท ธุรกิจ และส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย 

ปัจจุบัน Ripple มีพนักงานมากกว่า 800 คนใน 15 ประเทศทั่วโลก และอีก 3 แห่งที่เปิดเพิ่มเติมเมื่อปีที่แล้ว ได้แก่ ไมอามี่ ไอร์แลนด์ และโตรอนโต โดยมีสำนักงานตั้งอยู่ที่สิงคโปร์ ดูแลครอบคลุมเอเชียแปซิฟิครวมถึงอินเดีย นอกจากนี้ Ripple ยังเน้นส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรโดยจับมือกับทางมหาวิทยาลัยต่าง ๆ อาทิ มหาวิทยาลัยแห่งชาติของสิงคโปร์ในการฝึกอบรมบุคลากรให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับบล็อกเชน และสินทรัพย์ดิจิทัล รวมถึงการให้ทุนทำวิจัยเรื่องบล็อกเชน เพื่อเป็นการเสริมสร้างองค์ความรู้ตั้งแต่ในระดับมหาวิทยาลัย 

“ด้วยปริมาณการชำระเงินในระบบที่มากกว่า 3 หมื่นล้านเหรียญ ขณะที่สินทรัพย์ดิจิทัลอยู่ที่ 90% ของปริมาณการชำระเงินทั้งโลก ทำให้เรามองเห็นโอกาสและด้วยประสบการณ์และความเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมนี้ เราหวังว่าจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการต่าง ๆ เพื่อสร้างสิ่งที่ยิ่งใหญ่กว่านี้ได้อีกในอนาคต”

Keep Di บริการบูโร สำหรับ อุตสาหกรรมประกันภัย รายแรกบนโลกบล็อกเชน

ริปเปิล ทุ่ม 100 ล้านดอลลาร์ ช่วยตลาดคาร์บอนทั่วโลก จัดการคุณภาพและความโปร่งใสโดยใช้บล็อกเชนและคริปโท

SCB 10X ประกาศร่วมลงทุนใน “Nansen” แพลตฟอร์มวิเคราะห์ข้อมูลบนระบบบล็อกเชน

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ