TH | EN
TH | EN
หน้าแรกTechnologyเอสซีจี เดคคอร์ โชว์โรงงานอัตโนมัติ เดินสายผลิตด้วยหุ่นยนต์-เอไอครบวงจร เร่งดันห้องน้ำอัจฉริยะตอบโจทย์ชีวิตยุคใหม่

เอสซีจี เดคคอร์ โชว์โรงงานอัตโนมัติ เดินสายผลิตด้วยหุ่นยนต์-เอไอครบวงจร เร่งดันห้องน้ำอัจฉริยะตอบโจทย์ชีวิตยุคใหม่

วิถีการใช้ชีวิตของผู้คนหลังผ่านโควิด-19 ได้เปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัดใน 3 ด้านหลัก คือการคำนึงถึงความปลอดภัย สุขอนามัย ป้องกันเชื้อโรค (Hygiene) และจากเทคโนโลยีที่ก้าวไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว ผู้คนจึงต้องการนำมาสร้างความสะดวกสบายในการใช้ชีวิต (Convenience)

รวมถึงการใช้ห้องน้ำเป็นพื้นที่แห่งการพักผ่อน (Entertainment/ Emotion) เป็นอีกหนึ่งความสุขง่าย ๆ ของการใช้พื้นที่ส่วนตัวในห้องน้ำทำกิจกรรมผ่อนคลาย และดูแลสุขภาพจึงใช้เวลาในห้องน้ำนานขึ้น

พัฒนานวัตกรรมสนองผู้บริโภค

เอสซีจี เดคคอร์ โชว์โรงงานอัตโนมัติ เดินสายผลิตด้วยหุ่นยนต์-เอไอครบวงจร เร่งดันห้องน้ำอัจฉริยะตอบโจทย์ชีวิตยุคใหม่

นำพล มลิชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เอสซีจี เดคคอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCGD บริษัทแกนหลักของ เอสซีจี ในการดำเนินธุรกิจตกแต่งพื้นผิวและสุขภัณฑ์ (Decor Surfaces & Bathroom) ระบุว่า จากที่เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงในวิถีดังกล่าว บริษัทได้นำทั้ง 3 ความต้องการดังกล่าวมาผสานกัน โดยพัฒนานวัตกรรมและออกแบบสินค้าเพื่อรองรับความต้องการของผู้บริโภค เช่น กลุ่มธุรกิจตกแต่งพื้นผิวได้พัฒนากระเบื้องฟอกอากาศพร้อมประจุลบในสารเคลือบกระเบื้อง กระเบื้องยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย กระเบื้องกันลื่น ซึ่งได้รับการตอบรับที่ดีทั้งในประเทศไทย เวียดนาม

ส่วนกลุ่มธุรกิจสุขภัณฑ์ได้พัฒนานวัตกรรมสุขภัณฑ์ Smart Toilet ที่มีระบบสัมผัสอัตโนมัติ ซึ่งมีฐานการผลิตอยู่ที่ประเทศไทย โดย SCGD มีงานอาร์แอนด์ดีกว่า 250 ตัว พัฒนางานที่นอกจากความสวยแล้วยังตอบโจทย์การใช้งาน และนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ตั้งแต่กระบวนการผลิต จนออกมาเป็นตัวผลิตภัณฑ์

นำชัยมองว่าตลาดสุขภัณฑ์ในประเทศไทย รวมถึง Smart Bathroom ยังมีโอกาสเติบโตอีกมากตามรับเทรนด์การใช้ชีวิตยุคใหม่ใส่ใจสุขภาพ สะอาดปลอดภัย เช่นเดียวกับตลาดในอาเซียน คาดว่าจะมีมูลค่า 78,700 ล้านบาทในปี 2569 สูงกว่าตลาดในไทยกว่า 6 เท่าตัว จึงเป็นโอกาสของ SCG Decor คว้าโอกาสในตลาดสินค้า High Value Added นี้

แนะนำห้องน้ำอัจฉริยะ

สิทธิชัย สุขกิจประเสริฐ กรรมการผู้จัดการ บริษัทสยามซานิทารีแวร์ จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายสุขภัณฑ์และก๊อกน้ำ COTTO เสริมว่า เพื่อให้การดำเนินธุรกิจสุขภัณฑ์สอดรับกับกลยุทธ์หลักของ SCG Decor และความต้องการของผู้บริโภค COTTO จึงได้พัฒนาและสรรหานวัตกรรม “ดิจิทัล-ออโตเมชัน” สำหรับ Smart Bathroom จากแหล่งต่าง ๆ ทั่วโลก มาตอบโจทย์ลูกค้า เช่น

สุขภัณฑ์อัตโนมัติ (Smart Toilet) รุ่น VIZIO นวัตกรรมเพื่อสุขอนามัยกับ “คอตโต้ ไอออนมิส” ด้วยน้ำประจุบวกที่ผ่านกระบวนการแยกประจุและพ่นเป็นละอองน้ำภายในโถสุขภัณฑ์ เพื่อลดการสะสมของแบคทีเรีย

นอกจากนี้ ยังมีก๊อกน้ำอัจฉริยะ (Sensor Faucet) สั่งการแม่นยำ ลดการสัมผัส, Smart Towel Dryer ราวตากผ้าอัจฉริยะระบบเป่าผ้าแห้งไว ลดการสะสมของเชื้อราสาเหตุของกลิ่นอับในห้องน้ำ พร้อมฆ่าเชื้อด้วยแสงยูวีไม่ทำลายเนื้อผ้าและผิวสัมผัส ควบคุมด้วยแอปพลิเคชันจากสมาร์ทโฟน

Smart Mirror TV กระจกอัจฉริยะมัลติฟังก์ชัน เชื่อมต่อความบันเทิงได้หลากหลายพร้อมเช็คข้อมูลสุขภาพประจำวันจากเครื่องตรวจสภาพผิวและเครื่องชั่งน้ำหนักวัดมวลกล้ามเนื้อ-ไขมันได้ทันที

ตลอดจนชุดฝักบัวหน้ากว้างพร้อมแสงไฟ LED โดยไม่ต้องต่อไฟฟ้าและเชื่อมต่อเสียงเพลงได้ เป็นต้น ซึ่งนอกจากผลิตภัณฑ์เหล่านี้ บริษัทยังมีแผนการสร้างผลิตภัณฑ์รุ่นที่ก้าวล้ำไปข้างหน้าอย่างต่อเนื่อง

ปัจจุบัน สินค้ากลุ่มสมาร์ท โปรดักส์ ในประเทศไทย มีสัดส่วนตลาด 1% ซึ่งบริษัทต้องการเติบโตเป็น 20% โดยประเทศที่สมาร์ท โปรดักส์ครองตลาดสูง 80% คือ ญี่ปุ่น ส่วนประเทศอื่นๆ แถบนี้ เช่น เวียดนาม และอื่นๆ ยังน้อยกว่า 1%

โชว์เอไอ หุ่นยนต์ช่วยการผลิต

ใช่เพียงการผลิตสินค้าอัจฉริยะออกสู่ตลาด แต่ COTTO ยังนำระบบอัตโนมัติมาใช้ควบคู่ไปกับการบริหารกำลังการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ ภายใต้แนวคิด หุ่นยนต์ทำงานร่วมกับคน หรือ Man & Machine  Automation Smart Factory นำความเชี่ยวชาญในการผลิตสุขภัณฑ์ มาสอน ออกแบบ และควบคุมให้หุ่นยนต์สามารถทำงานได้อย่างประณีต แม่นยำ

การเปลี่ยนแปลงโดยการนำหุ่นยนต์ และเอไอ เข้ามาใช้ในกระบวนการผลิตเพื่อความมั่นใจว่า ลูกค้าจะได้รับสินค้าคุณภาพสูง ลดขั้นตอนการทำงานที่เสี่ยงต่อสุขภาพของพนักงาน ทำให้คนงานไม่ต้องทำงานหนัก เช่น การหล่อสุขภัณฑ์ที่มีน้ำหนักมาก 20-30 กิโลกรัมต่อชิ้น เดิมต้องใช้คน 2 คนช่วยกันยก ซึ่งเมื่อทำไปนาน ๆ จะมีผลต่อสุขภาพจากการแบกรับน้ำหนัก หรือการพ่นเคลือบสุขภัณฑ์ที่ต้องอยู่กับฝุ่นสีที่ฟุ้งกระจาย ล้วนมีผลต่อสุขภาพคนทำงาน และบริษัทได้ส่งเสริมให้พนักงานพัฒนาทักษะและศักยภาพให้พร้อมสำหรับการขยายธุรกิจต่อไป

รวมถึงกระบวนการตรวจสอบคุณภาพ ซึ่งบริษัทนำเทคโนโลยีชั้นสูงอื่น ๆ มาใช้ในห้องปฏิบัติการทดสอบ เช่น เทคโนโลยีการประมวลภาพ หรือ Image Processing เพิ่มความละเอียดแม่นยำในการตรวจสอบและวิเคราะห์คุณภาพสินค้าก่อนส่งถึงมือลูกค้า

นอกจากนี้ การพัฒนาเครื่องจักรมาทำงานเดิมซ้ำ ๆ ตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งคนทั่วไปมักไม่ชอบทำ จะเพิ่มประสิทธิภาพ ลดความผิดพลาด สินค้าที่ผลิตออกมาจะได้มาตรฐาน ลดความสูญเสียในกระบวนการผลิต และก่อให้เกิดขยะน้อยลง นำไปสู่ความยั่งยืน

โดยโรงงานผลิตที่ 4 ซึ่งตั้งอยู่ ณ อำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี เป็นโรงงานอัตโนมัติ 100% ขณะที่โรงงานอื่น ๆ กำลังอยู่ในกระบวนการเปลี่ยนสู่อัตโนมัติ โดยขึ้นอยู่กับความจำเป็นว่าต้องเปลี่ยนระดับใด

ส่วนกำลังการผลิตของโรงงานรวมทั้งสิ้น 1.7 ล้านชิ้นต่อปี ปีที่ผ่านมาบริษัทมีรายได้กว่า 30,000 ล้านบาท ไตรมาส 1 ปี 2566 มีรายได้กว่า 7,000 ล้านบาท

SCGD ถือหุ้นใน 5 บริษัท คือ บริษัท เอสซีจี เซรามิกส์ จำกัด (มหาชน) หรือ COTTO, บริษัท สยามซานิทารีแวร์ จำกัด (SSW), Prime Group ดำเนินธุรกิจผลิตและจำหน่ายกระเบื้องปูพื้นและบุผนังในประเทศเวียดนาม, บริษัท Mariwasa-Siam Ceramics, Inc (MSC) ดำเนินธุรกิจผลิตและจำหน่ายกระเบื้องปูพื้นและบุผนังในประเทศฟิลิปปินส์ และPT Keramika Indonesia Assosiasi, Tbk (KIA) ดำเนินธุรกิจผลิตและจำหน่ายกระเบื้องปูพื้นและบุผนังในประเทศอินโดนีเซีย

ข่าวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ATCI ชวนร่วมประกวด ‘Thailand ICT Awards 2023’ เวทีเฟ้นหาสุดยอดผลงานไทย ครั้งที่ 19 มุ่งดันสู่เวทีโลก

AIS ผนึก Microsoft ชวนลูกค้าองค์กรทรานสฟอร์มระบบการสื่อสารด้วย Microsoft Teams

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ