TH | EN
TH | EN
หน้าแรกColumnistเมื่อ "ตลาดส่งออกทุเรียนไปจีน" ของไทย ถูกท้าทาย

เมื่อ “ตลาดส่งออกทุเรียนไปจีน” ของไทย ถูกท้าทาย

กระทรวงพาณิชย์ตั้งเป้าดันส่งออกปีนี้ให้โตอย่างน้อย 1-2% หลังตัวเลขส่งออกไทยติดลบต่อเนื่องมา 7 เดือนต่อเนื่องนับจากปลายปีที่แล้ว โดยข้อมูลล่าสุด ณ  เดือนเมษายนที่ผ่านมาส่งออกติดลบถึง 7.6% จากพิษเศรษฐกิจถดถอยของประเทศร่ำรวยกับเป้าหมายพาส่งออกตีฝ่าเส้นติดลบที่สุดท้าทายนี้ การส่งออกทุเรียนสดที่คึกคักเป็นพิเศษในช่วงปีที่ผ่านมา นับเป็นหนึ่งในแรงหนุนสำคัญ

เมื่อเร็ว ๆ นี้ อนุชา บูรพชัยศรี รองเลขานุการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง ซึ่งทำหน้าที่โฆษกรัฐบาลแถลงว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯขอบคุณทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการส่งออกทุเรียนสดโดยเฉพาะการส่งออกไปจีน นับจากวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ถึง พฤษภาคม ที่ผ่านมา หรือ ราว 4 เดือน มีจำนวน 25,000 ตู้คอนเทนเนอร์มีน้ำหนักราว 450,000 ตัน และคาดว่าปีนี้ไทยจะส่งออกทุเรียนสดไปจีนได้ไม่น้อยกว่า 700,000 ตัน คิดเป็นมูลค่าราวหนึ่งแสนล้านบาท

ณัฐกฤษฎ์ โอฬารหิรัญรักษ์ รองนายกสมาคมการค้าธุรกิจเกษตรไทย-จีน บอกกับสื่อว่า ราคาทุเรียนสดที่ส่งออกไปจีนปีนี้สูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ และดีจนน่าตกใจ โดยต้นฤดูกาล ทุเรียนสายพันธุ์กระดุม กิโลกรัมละกว่า 300 บาท หมอนทอง 250-260  บาทต่อกิโลกรัม แม้ผลลิตเข้าสู่ตลาดมากขึ้นทำให้ราคาถอยลงมา แต่ยังน่าพอใจเพราะราคาต่ำสุดอยู่ที่ 130 บาทต่อกิโลกรัม สำหรับเกรดส่งออกถือว่าเป็นราคาที่สูงกว่าทุกปี     

จากชอบกินทุเรียนอร่อย สู่ธุรกิจทุเรียนพรีเมี่ยมส่งออก ‘ทองลาวา’

ทั้งนี้ ทุเรียนสดส่งออกจากไทยมากกว่า 90% ถูกป้อนไปยังตลาดจีน เมื่อเร็ว ๆ นี้ สำนักข่าวซินหัวไทยรายงานอ้าง สำนักงานศุลากากรทั่วไป (GACC) ของจีนว่าปี  2565 ที่ผ่านมาจีนนำเข้าทุเรียนสด 825,000 ตัน โดย 780,000 ตันส่งมาจากเมืองไทย (มูลค่าราว 1.06 แสนล้านบาท) โดยปีนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และกระทรวงพาณิชย์ คาดว่าจะส่งออกผลไม้สดได้ 2.39 ล้านตันมูลค่าราว 1.59 แสนล้านบาท โดยทุเรียนครองสัดส่วนส่งออกผลไม้สดเกือบ 70 % 

หากย้อนไปดูสถิติย้อนหลังในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ปริมาณส่งออกทุเรียนสดจากไทยไปจีนเติบโตอย่างก้าวกระโดดจาก 367,056 ตัน (มูลค่า 7,344.5 ล้านบาท)  ในปี 2556 มาเป็น 827,090 ตัน (มูลค่า 110,144 ล้านบาท) ในปี 2565  ตัวเลขดังกล่าวยืนยันว่า ตลาดส่งออกทุเรียนสดของไทยไปจีนนั้นมาไกลมาก (ข้อมูลจากศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกระทรวงพาณิชย์)

ปัจจัยที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จในการส่งออกทุเรียนสดจากไทยไปจีนจนทุเรียนได้รับสมญาว่า “ราชาผลไม้นำเข้า” นอกจากรสชาดิของทุเรียนไทยที่ชาวจีนหลงใหล แล้ว การที่ไทยเป็นชาติแรกที่จีนโดยสำนักศุลกากรทั่วไปของจีนอนุญาตให้ไทยส่งออกทุเรียนสดเข้าประเทศ รวมถึงการได้ยกเว้นภาษีนำเข้าจาก 17 ประเทศคู่เอฟทีเอฟ (เขตการค้าเสรี) 17 ประเทศ ประกอบด้วยอาเซียน (9 ประเทศ) จีน ฮ่องกง ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อินเดีย ชิลิ และเปรู  และยังมีแต้มต่อด้านการขนส่งหลังด้วยการส่งผ่าน ขบวนรถไฟสาย ไทย-ลาว-จีน ที่ใช้เวลาขนส่ง 3-4 วัน สั้นกว่าการขนส่งเรือหรือถนนที่ใช้เวลาไม่น้อยกว่า 20 วัน   

ตลาดส่งออกที่มีมูลค่าแสนล้านกระตุ้นให้เกิดการขยายพื้นที่ปลูกทุเรียนทั่วประเทศไม่เฉพาะในภาคตะวันออกหรือใต้เท่านั้น ข้อมูลจากสำนักวิจัยเศรษฐกิจ การเกษตร กระทรวงเกษตรฯระบุว่าในช่วง 5 ปีระหว่างปี 2560 -2564 เนื้อที่ปลูกทุเรียนที่ให้ผลผลิตแล้วเพิ่มจาก 643,030 ไร่ เป็น 837,290 ไร่ (ประมาณ) หรือเพิ่มขึ้นราว 197,260 ไร่ 

ที่ศูนย์กลางปลูกทุเรียนใหญ่ของประเทศจันทบุรีและระยอง มีการกล่าวกันว่าราคาที่ดินที่ขยับขึ้นอย่างต่อเนื่องนั้นมาจากการขยายพื้นที่ปลูกทุเรียนไม่ใช่เพราะ อีอีซี หรือโครงการเขาพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก รวมทั้งการกว้านซื้อสวนทุเรียนที่ให้ผลผลิตแล้วจากทุนจีน  

แต่ในอีกด้านหนึ่งนั้น ความต้องการทุเรียนที่คึกคักอย่างยิ่งในตลาดจีนจนหอมอบอวลไปทั้งอาเซียนนั้นได้ดึงดูดให้ผู้เล่นหน้าใหม่กระโดดเข้ามาขอมีส่วนร่วมกับตลาดหวานมันของทุเรียนมูลค่านับแสนล้านบาทในจีนด้วย 

ปัจจุบันนอกจากไทยแล้ว ยังมีมาเลเชียที่จีนอนุญาตให้นำเข้าเนื้อทุเรียนแช่เข็งในปี 2554 ก่อนอนุญาตให้นำเข้าทุเรียนแช่แข็งทั้งลูกในปี 2562 ตามมาด้วยเวียดนามที่เริ่มส่งออกทุเรียนสดไปจีนเมื่อเกือนกรกฎาคมปีที่แล้ว และล่าสุดฟิลิปินส์ที่ส่งออกทุเรียนล็อตแรกไปจีนเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมานี้เอง นอกจากนี้ ทุเรียนปลูกเองในจีนที่มณฑลไห่หนานคาดว่าจะนำผลผลิตเข้าได้ปีหน้าหลังทดลองปลูกมานับสิบปี 

บิทคับ จับมือ ทองลาวา ยกระดับทุเรียนไทยด้วยบล็อกเชนและ NFT

เวลานี้ทุเรียนหมอนทอง ชะนี และก้านยาว 3 สายพันธุ์หลักที่ไทยส่งไปจีนเริ่มถูกท้าทายจากทุเรียนมูซานคิงจากมาเลเชีย และทุเรียนปูยัตจากฟิลิปปินส์ ทุเรียนจากเวียดนาม และทุเรียนจีนปลูกเอง

สัปดาห์ที่แล้ว สำนักข่าว VNA ของเวียดนามรายงานว่า เวียดนามมีรายได้มากกว่า 500 ล้านดอลลาร์จากการส่งออกทุเรียนในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ โดยพุ่งขึ้น 18 เท่าเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2565 ทั้งนี้ เวียดนามส่งออกทุเรียนมากกว่า 65,000 ตันในช่วงเดือนม.ค.-พ.ค. โดยเพิ่มขึ้น 41% เมื่อเทียบกับปริมาณการส่งออกทั้งหมดในปี 2565 ขณะที่จีนนำเข้าทุเรียนมากถึง 97% จากจำนวนดังกล่าว นอกจากนี้ มีการคาดการณ์กันว่าเวียดนามจะมีรายได้จากการส่งออกทุเรียนในปีนี้มากถึง 1 พันล้านดอลลาร์ (สำนักข่าวอินโฟเควสท์ 21 มิ.ย. 66)

แม้ตลาดในมือผู้ค้าหน้าใหม่เหล่านั้นยังห่างไกลพอจะชิงบัลลังก์ราชาผลไม้ส่งออกในจีนไปจากไทย แต่ถือว่าสถานการณ์ตลาดทุเรียนในจีนที่ไทยยืนหนึ่งมานานนั้นกำลังจะเปลี่ยนไป

เงินเฟ้อชะลอ แต่ดอกเบี้ยยังไม่ลด

“ทุน”​ ถอยตั้งหลัก คอย “ตั้งรัฐบาลใหม่” ชัดเจน

จับตา ‘เศรษฐกิจ’ ก่อนและหลัง การเลือกตั้ง

อาร์เจนตินา กระจกสะท้อน ประชานิยมไทย

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ