TH | EN
TH | EN
หน้าแรกColumnist"ส่วนต่างดอกเบี้ย" โจทย์ยากแบงก์ชาติ

“ส่วนต่างดอกเบี้ย” โจทย์ยากแบงก์ชาติ

กลายเป็นทอล์กออฟเดอะทาวน์เมื่อ มีผู้ใช้เฟซบุ๊คของหญิงสาวรายหนึ่ง โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊ค ระบุว่า “ชาติไหนหมดเนี่ย หนักเลยวันนี้ ไปตัดต้น 5฿ ฝากถึงคนที่จะกู้บ้าน 5555555 ตาย 2 ปีแรกชิว พอปีที่ 3 …. รอรีไฟแนนซ์!!!” พร้อมกับโชว์รูปภาพการชำระเงิน 10,900 บาท แบ่งชำระเงินต้น 5.50 บาท และชำระดอกเบี้ยสูงถึง 10,849.50 บาท โดยมียอดเงินต้นคงเหลือกว่า 2.1 ล้านบาท

ข่าวดังกล่าวได้มีคนมาคอมเมนต์มากมายเรื่องนี้เท็จจริงเป็นอย่างไร ใครผิดใครถูกคงฟันธงลำบากเพราะข้อมูลที่เจ้าของโพสต์ได้โพสต์ลงในเฟสบุ๊ค น้อยเกินไปที่จะวิเคราะห์ได้ว่าเรื่องนี้เป็นอย่างไร 

แต่ทันทีเรื่องนี้เป็นไวรัล วันรุ่งขึ้น (เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน ) “เศรษฐา ทวีสิน” นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง โพสต์ข้อความผ่าน X ระบุว่า “ความรับผิดชอบในการจัดการเรื่องหนี้นอกระบบของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงการคลัง เป็นเรื่องที่สำคัญมาก ทุกฝ่ายต้องหาแนวทางในการแก้ไข เพราะเป็นปัญหาที่กระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชน ซึ่งผมตั้งใจให้เป็นวาระแห่งชาติ”

“เพราะในบางครั้งมีการเรียกเก็บดอกเบี้ยที่สูงเกินกฎหมาย และลูกหนี้ต้องรับภาระหนี้ที่เกินเงินต้นเป็นจำนวนมากเป็นเรื่องที่ไม่ควรเกิดขึ้น ผมได้สั่งการให้ผู้ที่เกี่ยวข้องหาแนวทางในการจัดการแก้ไขหนี้สินรายย่อยเชิงรุก เพื่อเป็นการแก้ปัญหาเรื่องหนี้สินที่ต้นทางให้ประชาชนครับ”

เหตุการณ์ที่หญิงสาวโพสต์เฟสบุ๊คเกิดขึ้นหลังจากธนาคารธนาคารพาณิชย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ได้ทยอยประกาศงบการเงินประจำไตรมาส 3 ปี 2566 ออกมาไม่นาน ปรากฏว่าธนาคารพาณิชย์ทั้ง 10 แห่ง มีกำไรรวมกันสุทธิ 59,473.59 ล้านบาท เพิ่มขึ้นราว 13% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนโดยเมื่อรวม 9 เดือนแรกของปี 66 ธนาคารพาณิชย์ มีกำไรรวมกันสุทธิ 181,391 ล้านบาท

ขณะที่ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เคยประเมินว่า กำไรสุทธิของธนาคารพาณิชย์ไทยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 66 จะทำได้ในกรอบประมาณ 1.86-1.91 แสนล้านบาท โดยคาดว่า รายได้จากดอกเบี้ยสุทธิจะเติบโตต่อเนื่อง และเป็นแรงหนุนสำคัญของผลประกอบการในไตรมาสสุดท้ายของปี 2566 เพราะ”ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย” (NIM) ของแบงก์ไทยยังมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นหากย้อนกลับมาดูผลประกอบการปี 2565 ทั้งปี เป็นครั้งแรกที่ธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบมีกำไรกว่า 2 แสนล้านบาท โตขึ้นเกือบ 10% ขณะที่จีดีพีของประเทศปี 2565 โตเพียง 2-3%เท่านั้น …ตรงนี้น่าคิด

ทั้งนี้กำไรส่วนใหญ่ที่เพิ่มขึ้นของธนาคารพาณิชย์ มาจากการขยายตัวของรายได้ดอกเบี้ย ที่เป็นผลตอบแทนจากการปล่อยสินเชื่อ ตามทิศทางอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ปรับขึ้นของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ที่ล่าสุดอยู่ที่ระดับ 2.50% ต่อปี

ทำไม กนง.และแบงค์ชาติต้องขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย ทั้งนี้ก็เนื่องมาจากเศรษฐกิจไทยได้ผูกติดอยู่กับเศรษฐกิจโลก ซึ่งสถานการณ์ทั่วโลกตอนนี้กำลังเกิดวิกฤติเงินเฟ้อรุนแรง จากราคาพลังงาน ราคาอาหารที่พุ่งกระฉูดทำให้ เศรษฐกิจ ชะงักงัน การขึ้นดอกเบี้ยนโยบายเป็นหนทางเดียวที่สู้กับภาวะเงินเฟ้อเพื่อกดเงินเฟ้อให้ต่ำลง แต่มาตรการดังกล่าวย่อมมีผลข้างเคียงตามมาเช่นกัน

สมมติว่าถ้าธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด)ขึ้นดอกเบี้ย 6% ถ้าหากประเทศไทยยังคงดอกเบี้ย 1% เงินก็จะไหลออกไปยังสหรัฐที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า คนก็จะมีการถอนเงินจากไทยไปกินดอกเบี้ยสหรัฐแทน เมื่อเงินไหลออกมากกระทบกับค่าเงินบาทก็จะอ่อนตามไปด้วย  

แต่สิ่งที่น่าสนใจตรงที่ ทุกครั้งที่แบงก์ชาติขึ้นนโยบาย แบงก์พาณิชย์กลับมีกำไรเพิ่มขึ้น ทั้งนี้เป็นเพราะเวลา แบงก์ชาติขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย แบงก์พาณิชย์ขึ้นดอกเบี้ยเงินกู้ตาม แม้จะอ้างว่าได้ขึ้นดอกเบี้ยเงินฝากควบคู่กันไปก็ตาม แต่ใส้ใน “ส่วนต่างดอกเบี้นเงินกู้กับเงินฝาก”ต่างกันลิบลับ เช่น อัตราดอกเบี้ย กู้ราว 4-8% บรรดาขาใหญ่อาจจะได้ราว 4%  แต่คนทั่วไปก็จะตกราว 6-8% หรืออาจจะเจอดอกเบี้ยสินเชื่อรายย่อย 10% แต่ฟากเงินฝากประจำ แค่ 0.25% จะเห็นว่ามีส่วนต่างกว้างแค่ไหน ธนาคารอ้างว่าต้องหักต้นทุนที่เป็นค่าบริหารจัดการ ค่าความเสี่ยต่าง ๆ ออก ที่เรียกว่า ‘ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิ‘ จะเหลือราว ๆ 2.8% เท่านั้น แต่ถ้าเอาไปเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน อย่างมาเลเซียส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิ 2.1% สิงคโปร์แค่ 1.7% เกาหลีใต้ 1.6% จะเห็นว่าส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิน้อยกว่าบ้านเราสิ้น

นี่คือ…โจทก์ข้อใหญ่ที่แบงค์ชาติยังคิดไม่ตกว่าจะแก้อย่างไร ตอนนี้มีการพูดถึงการเพิ่มการแข่งขัน ด้วยการเพิ่มผู้เล่นมากขึ้น โดยเฉพาะผู้เล่นที่ใช้เทคโนโลยีเพื่อช่วยลดต้นทุนการให้บริการที่เรียกว่า” เวอร์ชวลแบงก์” (virtual bank) หรือธนาคารไร้สาขา จะช่วยให้คนไทย กู้เงินในอัตราดอกเบี้ยที่ถูกลง และการแข่งขันเพิ่มมากยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องทุ่มเพิ่มทรัพยากรลงไปในการขยายระบบธนาคารมากเกินไป

แต่เท่าที่ทราบแบงก์ชาติเตรียมชาติออกใบอนุญาตมา 3ใบแต่มีธนาคารรายใหญ่รายหนึ่งจองแล้ว 1 ใบเหลืออีก 2 ใบและถ้ายังตกในมือแบงก์เดิมจะมีการแข่งขันอย่างไรทั้งหมดล้วนเป็นโจทก์ยากของแบงก์ชาติ

บทความอื่น ๆ ของผู้เขียน

แฟชั่น, อาหาร, ท่องเที่ยว 3 เสาหลักเศรษฐกิจอิตาลี

“หนี้ครัวเรือน” ไม่แก้ ประเทศเดินต่อไม่ได้

แจก “เงินดิจิทัล” หนึ่งหมื่นบาท … ยาแรงที่ต้องระวัง

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ