TH | EN
TH | EN
หน้าแรกColumnistเปิดผลสำรวจ ESG ธุรกิจไทยปี 66

เปิดผลสำรวจ ESG ธุรกิจไทยปี 66

กระแสเรื่อง ESG (Environmental, Social and Governance) ที่แต่เดิมถูกขับเคลื่อนอยู่ภายในแวดวงตลาดทุน โดยเป็นเครื่องมือที่ผู้ลงทุนสถาบันใช้ผลักดันให้บริษัทที่ตนเข้าไปลงทุนมีการดำเนินความรับผิดชอบต่อสังคม เอาจริงเอาจังกับการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม และมีการกำกับดูแลกิจการที่ดี มานับตั้งแต่ปี ค.ศ.2004 ได้ถูกหยิบมาใช้ในวงกว้าง ไม่เว้นในแวดวงการตลาดที่ ESG ถูกใช้เป็นเครื่องมือประชาสัมพันธ์และการสร้างภาพลักษณ์อย่างแพร่หลาย จนในปัจจุบันถูกตีความว่าส่วนใหญ่เป็นการฟอกเขียว (Green Washing)

การฟอกเขียวในกลุ่มธนาคารกำลังขยายวง

กระทั่ง หน่วยงานกำกับดูแลในหลายประเทศ ต้องออกนิยามศัพท์ (Terminology) และการจัดหมวดหมู่ (Taxonomy) ที่เกี่ยวกับเรื่อง ESG เพื่อป้องกันการสื่อสารที่ทำให้เกิดความเข้าใจผิด และทำให้การฟอกเขียวเกิดได้ยากขึ้น

Thailand Taxonomy…โจทย์ที่ท้าทายของธุรกิจขนส่ง และพลังงาน

Taxonomy กับการพัฒนาการเงินเพื่อความยั่งยืน

จากมาตรการดังกล่าว ทำให้สินทรัพย์ภายใต้การบริหารที่ติดป้าย ESG ซึ่งขยายตัวต่อเนื่องมาในทุกปี มีมูลค่าลดลงเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ.2022

และด้วยภาวะเศรษฐกิจโดยรวมในทุกภูมิภาค มีการเติบโตที่หดตัวลง ประกอบกับการขึ้นดอกเบี้ยจากแรงกดดันของปัจจัยเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นในรอบปีที่ผ่านมา ส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นทั่วโลกส่วนใหญ่ที่มีผลตอบแทนลดลง ทำให้ความแตกต่างในเชิงผลตอบแทนระหว่างหุ้นกลุ่ม ESG กับหุ้นโดยทั่วไป มิได้สร้างแรงจูงใจผู้ลงทุนได้เหมือนในช่วงตลาดขาขึ้น

จากการสำรวจของ GSIA สัดส่วนของมูลค่าการลงทุนที่ยั่งยืน มีตัวเลขคิดเป็นร้อยละ 24.4 ของสินทรัพย์ภายใต้การบริหารทั้งหมด ที่จำนวน 124.49 ล้านล้านเหรียญ หรือคิดเป็น 1 ใน 4 ของเม็ดเงินลงทุนทั้งหมด (ณ สิ้นปี 2565) ลดลงจากร้อยละ 35.9 ซึ่งคิดเป็นสัดส่วน 1 ใน 3 ของเม็ดเงินลงทุนทั้งหมด (ณ สิ้นปี 2563)

สถาบันไทยพัฒน์ ในฐานะผู้บุกเบิกการพัฒนาฐานข้อมูลความยั่งยืนของธุรกิจ ได้ทำการสำรวจข้อมูลสถานภาพความยั่งยืนของกิจการ เพื่อนำเสนอทิศทางและกระแสนิยมของการเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืนขององค์กร ทั้งในมุมมอง GRI, ESG และ SDG โดยริเริ่มสำรวจเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ.2561 ครอบคลุมกิจการจำนวน 100 แห่ง และได้ดำเนินการเรื่อยมาจวบจนปัจจุบัน

ผลสำรวจปี 66 ครอบคลุม 904 องค์กร

ในปี 2566 สถาบันไทยพัฒน์ ได้ทำการสำรวจข้อมูลความยั่งยืนจากบริษัทจดทะเบียน 805 แห่ง กองทุนและองค์กรอื่น ๆ อีก 99 ราย รวมทั้งสิ้น 904 ราย (เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว ที่ทำการสำรวจ 854 ราย) พบว่า การเปิดเผยข้อมูลซึ่งมีสัดส่วนมากสุดอยู่ที่ด้านสิ่งแวดล้อม 52.25% ด้านเศรษฐกิจ 24.33% และด้านสังคม 23.41% ตามลำดับ

หากวิเคราะห์ข้อมูลกิจการที่สำรวจ จำแนกตามกลุ่มอุตสาหกรรม พบว่า กิจการที่ได้คะแนนการดำเนินงาน ESG รวมสูงสุดในสามอันดับแรก ได้แก่ กิจการในกลุ่มเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร (4.91 คะแนนจากคะแนนเต็ม 10) รองลงมาเป็นกิจการในกลุ่มเทคโนโลยี (4.60 คะแนน) และกิจการในกลุ่มบริการ (4.05 คะแนน) ตามลำดับ

ESG Performance by Industry Group

สำหรับประเด็นความยั่งยืนที่มีการเปิดเผยสูงสุดในสามอันดับแรก ได้แก่ ผลเชิงเศรษฐกิจ 96.46% การฝึกอบรมและการให้ความรู้ 48.12% ความหลากหลายและโอกาสแห่งความเท่าเทียม 48.01% ส่วนการตอบสนองต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ที่ภาคธุรกิจมีการเปิดเผยสูงสุดในสามอันดับแรก ได้แก่ เป้าหมายที่ 5 ความเท่าเทียมทางเพศ เป้าหมายที่ 8 เศรษฐกิจและการจ้างงาน และเป้าหมายที่ 16 สังคมและความยุติธรรม ตามลำดับ

ไฮไลต์ผลสำรวจ ESG ที่น่าสนใจ

ในการประเมินสถานภาพการเปิดเผยข้อมูลความยั่งยืนของกิจการที่ทำการสำรวจทั้งหมด 904 ราย พบว่า ในปี 2566 มีคะแนนรวมโดยเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 3.53 จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วและปีก่อนหน้าที่มีคะแนนรวมโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 2.46 คะแนน (ปี 2565 จากการสำรวจ 854 ราย) และ 2.2 คะแนน (ปี 2564 จากการสำรวจ 826 ราย)

เมื่อพิจารณาผลสำรวจโดยใช้ประเด็นความยั่งยืนที่อ้างอิงจากมาตรฐาน GRI (Global Reporting Initiative) พบว่ามีเพียง 2.32% ที่มีการรายงานเรื่องความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity) และมากถึง 66.37% ที่ไม่มีการเปิดเผยประเด็นมลอากาศ (Emissions) นอกจากนี้ ยังพบว่ามีไม่ถึง 9% ที่เปิดเผยเรื่องการประเมินด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมของผู้ส่งมอบ (Supplier Environmental/ Social Assessment)

ขณะที่การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยปัจจัย ESG ที่อ้างอิงตามแนวทางและชุดตัวชี้วัดของ WFE (World Federation of Exchanges) จากผลสำรวจพบว่า มีประเด็นที่เข้าใหม่ในสิบอันดับแรกที่กิจการเปิดเผย ได้แก่ การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (50%) และการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม (49.23%) ส่วนประเด็นที่เคยอยู่ในสิบอันดับเมื่อปีที่แล้ว แต่ไม่อยู่ในปีนี้ ได้แก่ ประเด็นด้านแรงงานบังคับและแรงงานเด็ก

และเมื่อสำรวจข้อมูลการดำเนินงานที่มีการตอบสนองต่อ SDGs ตามแนวทาง GCI (Guidance on Core Indicators) ที่จัดทำโดย ISAR (International Standards of Accounting and Reporting) พบว่า มีประเด็นที่เข้าใหม่ในสิบอันดับแรกที่กิจการเปิดเผย ได้แก่ สัดส่วนหญิงในตำแหน่งจัดการ (91.15%) และประสิทธิภาพการใช้พลังงาน (53.32%) ส่วนประเด็นที่เคยอยู่ในสิบอันดับเมื่อปีที่แล้ว แต่ไม่อยู่ในปีนี้ ได้แก่ ประสิทธิภาพการใช้น้ำ และชั่วโมงเฉลี่ยการฝึกอบรมต่อปีต่อคน

ข้อมูลผลสำรวจข้างต้น สถาบันไทยพัฒน์จะจัดงานแถลง “ผลสำรวจข้อมูลความยั่งยืนของบริษัทไทยปี 2566” และการเสวนา “Double Materiality: The Financial + Impact Disclosure” โดยจะมีการเผยแพร่เนื้อหาการสำรวจทางเว็บไซต์ของสถาบันไทยพัฒน์ (https://thaipat.org) ต่อไป

บทความ ESG Sauce อื่น ๆ ของผู้เขียน

การลงทุนที่ยั่งยืน เริ่มมีขนาดสินทรัพย์ (AUM) ลดลง

หุ้น ESG ให้ผลตอบแทน ชนะตลาดจริงหรือ

ตลาดข้อมูล ESG ในกลุ่มกิจการ Private Markets

1 ใน 5 ของธุรกิจยั่งยืนมีการรายงานผลกระทบ SDG

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ