TH | EN
TH | EN
หน้าแรกBangkok Storyชัชชาติปลื้ม 'ราชพิพัฒน์ Sandbox Model' ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ระบบสาธารณสุข ตอบสนองชุมชน

ชัชชาติปลื้ม ‘ราชพิพัฒน์ Sandbox Model’ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ระบบสาธารณสุข ตอบสนองชุมชน

ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เปิด “ราชพิพัฒน์ Sandbox Model” ณ โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ เขตบางแค เชื่อเปลี่ยนแปลงระบบสาธารณสุข เพิ่มประสิทธิภาพ ตอบสนองชุมชนมากขึ้น เตรียมขยายครอบคลุมทั้งกรุงเทพฯ

ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า หลาย ๆ อย่างที่ฝันไว้ตอนที่ทำนโยบาย เพียงแค่ 3 เดือนสามารถเห็นเป็นรูปธรรม โดยความร่วมมือของของทุกฝ่าย แต่จุดมุ่งหมายหลักคือ ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น เรื่องสาธารณสุขจึงมีความสำคัญมาก ของเมือง

กทม.เองรับผิดชอบ 100% ในระดับปฐมภูมิ ดังนั้น การนำเทคโนโลยีต่าง ๆ มาใช้ เช่น เรื่อง รถเทเลเมด (telemedicine) ที่สามารถให้รถไปถึงชุมชน คุยกับหมอผ่านชุมชนได้ นี่คือสิ่งที่ต้องทำ เนื่องจากในอนาคตคงหลีกเลี่ยงไม่ได้แน่นอน ถ้าเปรียบให้เห็นภาพโรงพยาบาลก็เหมือนกับ ยานแม่ที่ส่งยานลูกออกไปบริการคนในชุมชน แต่ที่ผ่านมายานลูกเราไม่เข้มแข็ง ดังนั้น ทุกคนก็วิ่งมาหายานแม่หมด สุดท้ายทำให้โรงพยาบาลแออัด เหมือนเราปะทะที่ด่านสุดท้าย ดังนั้น ต้องส่งยานลูกไปปะทะที่ชุมชน ถ้ายานลูกเข้มแข็ง สุดท้ายแล้วโรงพยาบาลก็จะสบายขึ้น และมีโอกาสดูเฉพาะเคสที่จำเป็น ประชาชนก็มีความสุขขึ้นเนื่องจากไม่ต้องเดินทางมาโรงพยาบาล

ผู้ว่าฯ ชัชชาติ กล่าวอีกว่า “ที่ชื่นใจอีกอย่าง คือ โครงการ “ราชพิพัฒน์ Sandbox Model” ไม่ได้ใช้งบประมาณของทางราชการ ส่วนใหญ่เป็นการสนับสนุนจากภาคเอกชนที่มาร่วมมือกัน ดังนั้น เมื่อไรก็ตามที่เราสร้างความไว้วางใจ สร้างความมั่นใจให้กับภาคเอกชนได้ มีคนที่จะช่วยเหลือจำนวนมาก เพราะทุกคนอยากเห็นเมืองที่ดีขึ้น ดังนั้น หน้าที่เรา นอกจากทำเรื่องสาธารณสุขแล้ว อีกหน้าที่หนึ่งคือการสร้างความไว้ใจ ความมั่นใจให้กับภาคเอกชนและประชาชน”

“นี่ถือเป็นมิติใหม่ที่จะเปลี่ยนแปลงระบบสาธารณสุข ระบบสาธารณสุขจะมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น และตอบสนองประชาชนได้มากขึ้นหัวใจของ Sandbox คือทำ scale ให้ได้ ทำอย่างไรให้มีรถ Motor lance 300 คันทั่วกทม. ทำอย่างไรมีรถ Commu-lance 150 คัน ลงไปบริการชุมชนในทุกเขต ทำอย่างไรให้มีศูนย์เด็กอ่อน 3 เดือน – 2ขวบเพิ่มขึ้นกระจายทุกชุมชน เพื่อให้พ่อแม่ที่มีลูกอ่อนมีความสบายใจในการฝากเลี้ยงลูกอ่อน สามารถคืนพ่อแม่กลับเข้าสู่ระบบการทำงาน ซึ่งจะเพิ่มพลังทางเศรษฐกิจขึ้นไปอีก

ต่อไปเมื่อพิสูจน์ Sandbox นี้แล้ว จะ scale หรือขยายผลอย่างไร ดังนั้น ต้องให้เห็นผลที่เป็นรูปธรรมที่ขยายผลออกไป 1 เดือนขยายผลถึงไหน 2 เดือนขยายผลถึงไหน และเมื่อไหร่จะครบทั้งกรุงเทพมหานคร ภายใน 1 ปีได้หรือไม่ ทั้งนี้ต้องขอขอบคุณทุกคน ขอให้โครงการ “ราชพิพัฒน์ Sandbox Model” ประสบความสำเร็จแต่ไม่ใช่ตามเป้าหมาย แต่ให้เกินกว่าเป้าหมายอีก 100 เท่า 1000 เท่า เพราะคือการเปลี่ยนความเป็นอยู่และสุขภาพของคนกรุงเทพฯ จริงๆ ”

ทั้งนี้ Sandbox ราชพิพัฒน์ Model เกิดขึ้นจากการที่ ผู้ว่าฯ ชัชชาติ มีนโยบายทำให้เมืองเป็นเมืองที่น่าอยู่สำหรับทุกคน โดยมียุทธศาสตร์ 9 ด้าน 9 ดี ในการดูแลสุขภาพของประชาชนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร

โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ จึงดำเนินการพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพ โดยบูรณาการความร่วมมือระหว่างโรงพยาบาลสังกัดสำนักการแพทย์ ศูนย์บริการสาธารณสุข สำนักอนามัย สำนักงานเขตพื้นที่ สำนักงานหลักประกันสุขภาพ สถานพยาบาลเอกชน และเครือข่ายภาคประชาชนในเขตพื้นที่ โครงการต่าง ๆ ประกอบด้วย

  1. พัฒนา Excellent center เวชศาสตร์เขตเมือง ควบคู่การดูแลคนเมือง โดยพัฒนาระบบบริการทางการแพทย์สาขาต่างๆ ให้ประชาชนได้รับบริการทั่วถึงและเข้าถึงง่ายมากขึ้น เช่น Service plan โรคเบาหวาน, โรคหลอดเลือดสมอง, โรคไต เป็นต้น
  2. เปิดศูนย์เวชศาสตร์เขตเมืองราชพิพัฒน์ เพื่อการฟื้นฟูและดูแลผู้ป่วยประคับประคอง เป็นแห่งแรกของกทม. และสร้างความเข้มแข็งระดับชุมชน โดยเปิด Community IMC บ้านผู้สูงวัยหรีศูนย์ฟื้นฟูสุขภาพชุมชน กทม. จัดตั้งชมรมผู้สูงอายุ ชุมชน เพื่อสร้างระบบดูแลผู้สูงอายุในชุมชนอย่างเข้มแข็ง เปิดโครงการ Pre-school บ้านเด็กเล็ก กทม. เพิ่มขึ้น และ โครงการนักสืบฝุ่นโดยติดตั้งเครื่องวัด PM2.5 ไว้ในชุมชนทั้ง 5 เขต ติดตามหาสาเหตุของฝุ่นเพื่อป้องกันแก้ไข เป็นต้น
  3. เปิดศูนย์สนับสนุนเวชศาสตร์เขตเมือง หรือศูนย์สนับสนุนบริการคนเมือง สร้างบริการให้ระบบปฐมภูมิเข้มแข็งโดยใช้หลัก Hi-touch และ Hi-tech ประกอบด้วยระบบเทคโนโลยี และระบบบริการขนส่งสาธารณสุข โครงการที่ใช้ระบบเทคโนโลยี ประกอบด้วย
    • Urban medicine support center ประชาชนสามารถปรึกษาปัญหาสุขภาพ 24 ชั่วโมงผ่านระบบโทรศัพท์ VDO call center โดย Scan QR code ในFacebook โรงพยาบาลราชพิพัฒน์
    • Telemedicine ประชาชนสามารถปรึกษา รักษากับแพทย์ผ่านระบบรักษาทางไกล และใช้ระบบส่งยาไปที่บ้านหรือรับยาร้านยาที่ขึ้นทะเบียนกับสปสช.ในอนาคต
    • Telemedicine consult ระบบปรึกษาการรักษาระหว่างพยาบาลและแพทย์ที่คลินิกอบอุ่น ศูนย์บริการสาธารณสุข และโรงพยาบาลเหมือนทำให้คนไข้ได้รับการรักษากับแพทย์เฉพาะทางมากขึ้น และลดการส่งต่อการที่ผู้ป่วยต้องเดินทางมาโรงพยาบาลโดยไม่จำเป็น
    • Urban medicine home care ระบบเยี่ยมบ้านและฝากร่างกาย Online เพื่อให้แพทย์พยาบาลที่คลินิกอบอุ่น ศูนย์บริการสาธารณสุข และโรงพยาบาลราชพิพัฒน์ ได้ติดตามอาการคนไข้หลังการรักษาร่วมกัน และถ้าผู้ป่วยพบปัญหาสามารถโทรปรึกษาเจ้าหน้าที่ได้ 24 ชั่วโมง ลดการส่งต่อการที่ผู้ป่วยต้องเดินทางมาโรงพยาบาลโดยไม่จำเป็น

โดยมีการใช้ระบบเทคโนโลยีร่วมกับระบบบริการขนส่งสาธารณสุข ประกอบด้วย

  1. รถ Telemedicine-Ambulance รับการประสานงานจากศูนย์เอราวัณและเพิ่มช่องทางการติดต่อฉุกเฉินให้ประชาชน เพิ่มอุปกรณ์ที่ทันสมัยให้แพทย์รักษาผู้ป่วยได้ถึงที่เกิดเหตุและบนรถฉุกเฉิน
  2. รถ Motor lance หน่ายเคลื่อนที่เร็วเพื่อประเมินปฐมพยาบาลและกู้ชีวิตรักษาทันทีที่เกิดเหตุ เข้าถึงชุมชนได้ง่ายรวดเร็วมากขึ้นโดยเฉาพะชุนชนที่รถฉุกเฉินเข้าถึงยากและการจราจรติดขัด
  3. รถ Commu-lance เหมือนศูนย์บริการสาธารณสุขเคลื่อนที่ เจ้าหน้าที่และรถสามารถเข้าไปบริการผุ้ป่วยถึงชุมชนด้วยอุปกรณืที่ทันสมัย สามารถจาะเลือด ตรวจร่างกาย เอ็กซเรย์และปรึกษาแพทย์ได้ด้วยระบบเทคโนโลยี และใช้ระบบส่งยาไปที่บ้านหรือรับยาร้านยาที่ขึ้นทะเบียนกับสปสช.ในอนาคต รวมทั้งใช้ระบบบริการขนส่งสาธารณสุข ประกอบด้วย รถรับส่งผู้สูงอายุและผู้พิการ และรถโดยสาร ชุมชน-โรงพยาบาล

ทั้งนี้ การพัฒนา Sandbox ราชพิพัฒน์ Model จะส่งผลให้ระบบบริการปฐมภูมิมีความเข้มแข็ง เข้าถึงได้ง่ายและทั่วถึงถึงระดับเส้นเลือดฝอย ลดความเหลื่อมล้ำและรอยต่อโดยใช้เทคโนโลยีมาช่วยในการปฏิบัติงาน และเพิ่มคุณภาพชีวิตของคนเมืองให้เป็นเมืองที่น่าอยู่สำหรับทุกคน

ข่าวอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ย่านนวัตกรรมการแพทย์โยธี เปิดโครงการ “BED SHARING” แบ่งปันเตียงผู้ป่วย 4 โรคสำคัญ

‘น้ำพริกจิ้งหรีดบ้านฉัน’ จากอดีตผู้ต้องขัง สู่ร้านน้ำพริกออนไลน์ และโรงเพาะจิ้งหรีดเตรียมส่งออก

THAI STARTUP ร่วมกับ กทม. ดึง 6 สตาร์ตอัพ เปลี่ยนกรุงเทพฯ เป็นเมืองนวัตกรรม

STAY CONNECTED

0แฟนคลับชอบ
440ผู้ติดตามติดตาม
spot_img

Lastest News

MUST READ